กรมราชทัณฑ์นำเทคโนไฮเทคดูแลแก้ไขผู้ต้องขัง

กรุงเทพฯ--12 พ.ค.--กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรมเสนอแนวคิดนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์ให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป วางเป้าหมาย 5 ปี ข้างหน้าสามารถตอบสนอง ความต้องการของผู้ต้องขังทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มสู่การบำบัดแก้ไขพฤตินิสัยอย่างสัมฤทธิผลในวันนี้ ( 9 พฤษภาคม 2546) นายมานิตย์ สุธาพร รองปลัดกระทรวงยุติธรรม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาพฤตินิสัยเป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนาทางวิชการเรื่อง “นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์” ณ ห้องทิพวรรณ 1 โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี โดยมีนักวิชาการ บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม องค์กรภาคเอกชน ข้าราชการกรมราชทัณฑ์ สื่อมวลชนและประชาชนประมาณ 150 คน ร่วมการเสวนา รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การเสวนาทางวิชาการเชิงวิพากษ์ในครั้งนี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากการประชุมงานยุติธรรมระดับชาติ ครั้งที่ 1 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด ( 1 st National Symposium of Justice Administration : Treatment of Offenders ) ที่กระทรวงยุติธรรมจะจัดขึ้นในวันที่ 2 - 3 มิถุนายน 2546 ณ โรงแรมแชงการีลา กรุงเทพฯโดยหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงยุติธรรมจะนำเสนอข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบงานยุติธรรมร่วมกัน “กรมราชทัณฑ์มีภารกิจในการปรับปรุง แก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤตินิสัยของผู้กระทำผิดนอกเหนือไปจากการควบคุมตัว แต่ปัจจุบันผู้ต้องขังมีจำนวนเพิ่มขึ้นในขณะที่อัตรากำลังและงบประมาณมีจำกัดจึงทำให้ผู้ต้องขังในเรือนจำมีจำนวนมากกว่าผู้คุม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหานวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์ เช่น การตัดสัญญาณโทรศัพท์เพื่อป้องกันการลักลอบใช้โทรศัพท์มือถือบงการค้ายาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำ การปล่อยตัวนักโทษแบบมีเงื่อนไขด้วยการให้สวมกำไลฝังไมโครชิพเพื่อติดตามความเคลื่อนไหว ซึ่งจะต้องพิจารณาถึงข้อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชนประกอบด้วย ทั้งนี้หวังว่าการระดมความคิดเห็นในวันนี้จะนำมาสู่แนวทางใหม่ ๆ ที่มาใช้ในงานราชทัณฑ์เพื่อเสนอต่อที่ประชุมงานยุติธรรมระดับชาติฯ ต่อไป” นายนัทธี จิตสว่าง รองฺอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ฝ่ายวิชาการ ได้นำเสนอกรอบแนวคิดเรื่อง “นวัตกรรมและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานราชทัณฑ์” โดยมีใจความสำคัญสรุปได้ว่า การนำนวัตกรรมมาใช้ในงานราชทัณฑ์นั้น กรมราชทัณฑ์จะต้องไม่ทิ้งจุดแข็งและเอกลักษณ์ขององค์กรที่มีอยู่เดิม ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมานี้พบว่าจากสถิติในรอบ 7 ปีมานี้ จำนวนผู้ต้องขังมีจำนวนที่ลดลงจาก 2.5 แสนคน เหลือ 2.3 แสนคน เนื่องจากการนำมาตรการใหม่ ๆ มาใช้มากขึ้น เช่น โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง โรงเรียนเกษตรโยธิน “ที่ผ่านมาผู้คุมหนึ่งคนต้องรับผิดชอบผู้ต้องขังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการลักลอบนำสิ่งที่กฎระเบียบของเรือนจำ กรมราชทัณฑ์จึงมีโครงการเรือนจำไฮเทค ไว้เป็นสถานที่ควบคุมผู้ต้องขังรายสำคัญที่ใช้ระบบควบคุมผู้ต้องขังผ่านเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่จะเริ่มในจังหวัดราชบุรีและพิษณุโลก ส่วนผู้ต้องขังรายย่อยนั้นจะเน้นการบำบัดแก้ไขฟื้นฟูอย่างเต็มที่โดยดึงบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมมือเพื่อแก้ไขผู้ต้องขังด้วยโปรแกรม การบำบัดแก้ไขฟื้นฟูต่าง ๆ โดยในอีก 4 – 5 ปี ต่อจากนี้กรมราชทัณฑ์จะนำหลักการตลาดมาใช้ ในลักษณะ One to One Marketing กล่าวคือ การคำนึงถึงความต้องการของผู้ต้องขังเป็นรายบุคคลและรายกลุ่มว่ามีปัญหาอะไรและต้องการความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังมีขั้นตอนการติดตามช่วยเหลือหลังพ้นโทษออกจากเรือนจำ ซึ่งบุคคลเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลเพราะเมื่ออกไปสู่สังคมภายนอกอาจทำให้เขาไม่สามารถทนทานต่อสิ่งเร้าจนเป็นสาเหตุของการกลับไปกระทำผิดซ้ำ จึงต้องอาศัยองค์กรเอกชนเข้ามาช่วยดูแล สงเคราะห์เพื่อให้เขายอมรับคุณค่าของตัวเองและพร้อมปรับปรุงตัวเองต่อไป จากนั้นเป็นการวิพากษ์กรอบแนวคิดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วยพ.ต.อ.ดร.ณรัชต์ เศวตนันทน์ ช่วยราชการกระทรวงยุติธรรม นายกุลพล พลวัน อธิบดีอัยการ ฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม รศ.อัจฉราพรรณ จรัสวัฒน์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีนายบุญเลิศ ช้างใหญ่ เป็นผู้ดำเนินการวิพากษ์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมเสวนาแสดงความคิดเห็น--จบ-- -พห-

ข่าวกระทรวงยุติธรรม+โรงแรมริชมอนด์วันนี้

Laฬ Square : มหกรรมกฎหมาย

คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ พาพลพรรคนักกฎหมาย ปั้น Siam (Law) Square เปิด Walking Street ให้คนไทยเข้าถึง ให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายฟรี! โดยมีพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน เปิดงาน และมีศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำคณะผู้บริหารรองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน รองอธิการบดีด้านการจัดการทรัพย์สินจุฬาฯ (PMCU) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ให้การต้อนรับ ซึ่ง PMCU ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน Laฬ

บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริ... รฟฟท.รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประเภทรัฐวิสาหกิจ ระดับ "ดี" ประจำปี 2567 — บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ...

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ห... ซีพีเอฟ คว้ารางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 ระดับดีเด่น ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 — บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ได้รับรางวั...

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (... ปตท.สผ. คว้ารางวัลสูงสุด องค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2567 — บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. โดยนางสุศมา ปิตากุลดิลก (ซ้าย...

บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ... บางจากฯ รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 — บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) รับรางวัลต้นแบบด้านสิทธิม...

พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงย... วว. รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2567 — พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "ประกาศรางวัลองค์กร...