กรุงเทพฯ--20 พ.ค.--กทม.
เมื่อวานนี้ (19 พ.ค. 46) เวลา 09.00 น. นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร นายสนั่น โตทอง รองปลัดกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหารสำนักการระบายน้ำ กทม. ผู้อำนวยการเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาเขตพื้นที่ ร่วมกัน นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมกระบวนการบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร ณ โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม พร้อมทั้งสรุปความจำเป็น และประโยชน์ที่ชาวกรุงเทพฯ จะได้รับจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำ ตลอดจนชี้แจงสาเหตุที่ กทม.จะต้องจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียในกรุงเทพมหานครให้คืนสู่คุณภาพที่ดี และลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ในการนี้นับตั้งแต่ปี 2534 เป็นต้นมา กรุงเทพมหานครเริ่มลงมือก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรวบรวมน้ำจากอาคาร บ้านเรือนมาผ่านกระบวนการบำบัดใน โรงควบคุณภาพก่อนที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำเดิม หรือนำกลับไปใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร
สำหรับโรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม จัดเป็นโรงบำบัดน้ำเสียชุมชนขนาดใหญ่ บำบัดน้ำเสียที่ได้จากระบบท่อรวมน้ำเสียในพื้นที่เขตหนองแขม ภาษีเจริญ และบางแค แล้วปล่อยลงคลองราษฎร์เจริญสุข และไหลออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา มีขีดความสามารถบำบัดได้ประมาณ 157,000 ลบ.ม./วัน ทั้งนี้ในพื้นที่ กทม. ประมาณ 1,500 ตร.กม. มีน้ำเสียที่เกิดขึ้นประมาณ 2.4 ล้านลบ.ม./วัน โดยปัจจุบันได้ดำเนินการวางระบบท่อรวบรวมน้ำเสียพร้อมก่อสร้างโรงควบคุมคุณภาพน้ำแล้วเสร็จและเปิดเดินระบบบำบัดแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 5 แห่ง ได้แก่ โรงควบคุมภาพน้ำสี่พระยา มีระบบท่อรวบรวมน้ำเสียครอบคลุมพื้นที่บริการน้ำเสีย 2.7 ตร.กม. ประกอบด้วยเขตป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ และบางรัก มีความสามารถในการบำบัด 30,000 ลบ.ม./วัน โรงควบคุม คุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ พื้นที่บริการ 4.1 ตร.กม. ในเขตพระนครขีดความสามารถ 40,000 ลบ.ม./วัน โรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี มีพื้นที่บริการ 28.5 ตร.กม. ประกอบด้วยพื้นที่เขตยานนาวา สาทร บางคอแหลม และบางส่วนของเขตบางรัก มีความสามารถในการบำบัด 200,000 ลบ.ม./วัน โรงควบคุมคุณภาพน้ำหนองแขม พื้นที่บริการ 44 ตร.กม. ในบางส่วนของเขตหนองแขม ภาษีเจริญ และบางแค มีความสามารถในการบำบัด 157,000 ลบ.ม./วัน และ โรงควบคุมคุณภาพน้ำทุ่งครุ มีพื้นที่บริการอยู่ในพื้นที่เขตทุ่งครุ ราษฎร์บูรณะ และบางส่วนของเขตจอมทอง รวม 42 ตร.กม.
ขณะนี้กทม.มีโรงงานบำบัดน้ำเสียที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 2 แห่ง คือ โรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดง (โครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่1) ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการบำบัดน้ำเสียได้ในปี 2546 นี้ พื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียจะครอบคุมพื้นที่ 37 ตร.กม. ในเขตป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี และบางส่วนของเขตดุสิต พญาไท ดินแดง ความสามารถในการบำบัด 350,000 ลบ.ม./วัน และโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักร (โครงการบำบัดน้ำเสียรวมระยะที่4) พื้นที่บริการ 33.4 ตร.กม. ของเขตพญาไท ห้วยขวาง จตุจักร และบางส่วนของเขตดุสิต สามารถบำบัดน้ำเสียได้ 150,000 ลบ.ม./วัน
ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2544-2549) กทม.ยังมีแผนจะสร้างโรงบำบัดน้ำเสียเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง ได้แก่ โครงการบำบัดน้ำเสียคลองเตย พื้นที่รับน้ำเสีย 51.2 ตร.กม. ในพื้นที่เขตพระโขนง คลองเตย วัฒนา และบางส่วนของ พื้นที่เขตสวนหลวง และบางนา มีขีดความสามารถในการบำบัด 360,000 ลบ.ม./วัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรองเรื่องที่ดิน เพื่อการก่อสร้างระบบบำบัด และเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินโครงการ และโครงการบำบัดน้ำเสียธนบุรี พื้นที่บริการครอบคลุมเขตบางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน และจอมทอง รวม 51.2 ตร.กม. โดยคาดว่าจะสามารถ รองรับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในปี 2560 ได้ประมาณ 520,000 ลบ.ม./ วัน ในการนี้จากการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียและเปิดให้ดำเนินการไปแล้วทั้ง 5 แห่ง รวมกับระบบบำบัดน้ำเสียที่รับโอนจากการเคหะแห่งชาติอีก 7 แห่ง ในปัจจุบันทำให้กทม.สามารถบำบัดน้ำเสียได้ถึงวันละ 517,700 ลบ.ม. หากการก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสียอีก 2 แห่งที่ดินแดงและจตุจักรแล้วเสร็จ จะทำให้กรุงเทพมหานครสามารถบำบัดน้ำเสียได้รวมทั้งสิ้น 1,017,700 ลบ.ม./วัน หรือประมาณ 42.40% ของปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น ทั้งหมด ซึ่งก็ครอบคลุมได้เพียง 191.30 ตร.กม.ของกรุงเทพฯเท่านั้น กทม.จึงยังมีหน้าที่จะต้องขยายโครงการบำบัดน้ำเสียออกไปให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่ 1,568.737 ตร.กม.อย่างไรก็ดี การลงทุนก่อสร้างระบบและการดำเนินการบำบัดน้ำเสียแต่ละแห่งจำเป็นต้องใช้งบประมาณสูง แรกเริ่มที่มีการลงทุนก่อสร้างระบบบำบัดนั้นภาครัฐบาลได้จัดสรรเงินลงทุนโครงการในอัตราส่วน 75% ส่วน กทม.ลงทุน 25% ของวงเงินก่อสร้างทั้งหมด แต่ต่อมารัฐบาลได้ลดสัดส่วนการลงทุนลงเป็น 60:40 ซึ่งทำให้ กทม.ต้องมีภาระในการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกัน ยังมีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินระบบบำบัด อาทิ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าสารเคมีกำจัดตะกอน ค่าซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลต่างๆ ฯลฯ ซึ่งจากการเปิดดำเนินการบำบัดน้ำเสียทั้ง 5 แห่งดังกล่าวกทม.ต้องใช้งบประมาณถึงปีละ 220 ล้านบาท และเมื่ออีก 2 โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างแล้วเสร็จ กทม. จะต้องเสียค่าใช้จ่ายดูแลและบำรุงรักษารวมทั้งสิ้นไม่ น้อยกว่าปีละ 300 ล้านบาท ขณะที่ยังมีอีกหลายโครงการที่กำลังรองบประมาณเพื่อการก่อสร้าง
ด้วยเหตุนี้ กทม.จึงจำเป็นต้องกำหนดแนวทางจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากประชาชนด้วยความเป็นธรรมเช่นทุกประเทศถือปฏิบัติกัน ตามหลักสากลที่ว่า "ผู้ใดก่อมลภาวะ ผู้นั้นต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบำบัดมลภาวะนั้น" (Polluter-Pay-Principle) ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วในอาคาร บ้านเรือน มีปริมาณน้ำเสีย 80% ของน้ำที่ใช้ในแต่ละวัน
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียต้องอยู่ที่ความเข้าใจและยอมรับจากประชาชนด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ที่ชาวกรุงเทพฯไม่คุ้นเคย กรุงเทพมหานครจึงกำจะหนดอัตราจัดเก็บอย่างรอบคอบ โดยเก็บในอัตราที่เหมาะสมเพื่อไม่สร้างภาระให้กับประชาชน ในขณะเดียวกันค่าธรรมเนียมดังกล่าวก็จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของ กทม.ในการดำเนินโครงการเป็นอย่างดี ซึ่งจากการศึกษาและคำนวณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการแล้วประชาชนจะเสียค่าบำบัดน้ำเสีย 2 บาท/ลบ.ม. ทั้งนี้หากท่านใช้น้ำประปา 10 ลบ.ม.แรกจะไม่คิดค่าธรรมเนียม แต่หากใช้น้ำ 40 ลบ.ม. จะคิดเป็น 30 ลบ.ม. ในจำนวนนี้จะต้องเสียค่าบำบัดน้ำเสีย 2 บาท/ลบ.ม. หรือ 60 บาท/เดือน โดยปีแรกกทม.จะสนับสนุนจ่ายค่าบำบัดน้ำให้ครึ่งหนึ่งและประชาชนออกเองครึ่งหนึ่ง ปีที่สองประชาชนจะต้องเสีย 1.25 บาท/ลบ.ม. ในปีถัดไป 1.50 บาท/ลบ.ม และ 1.75 บาท/ลบ.ม. จนครบ 2 บาท/ลบ.ม. ซึ่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมนี้กทม.จะขอความร่วมมือจากการประปานครหลวงดำเนินการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียไปพร้อมกับการเก็บค่าน้ำประปา นอกจากนี้กลุ่มผู้ประกอบการประเภทโรงแรมและโรงงานอุตสาหกรรมจะเสียค่าธรรมเนียมอัตราจัดเก็บ ลบ.ม.ละ 4 บาท และ 8 บาทตามลำดับ ทั้งนี้หากพื้นที่ใดที่ไม่ได้ใช้น้ำประปาหรือพื้นที่ที่โรงควบคุมคุณภาพน้ำยังครอบคลุมการบำบัดน้ำเสียไม่ถึงก็ไม่ต้องเสียค่ากำจัดน้ำเสีย อย่างไรก็ตามก่อนที่จะเก็บค่าธรรมเนียมใดๆ นั้น จะต้องผ่านความชอบจากสภากรุงเทพมหานครก่อน ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงได้เสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย พ.ศ… ให้สภากรุงเทพมหานครพิจารณา ความคืบหน้าขณะนี้สภากทม.ได้มีมติผ่านความเห็นในวาระที่1 รับหลักการร่างข้อบัญญัติดังกล่าวแล้ว และอยู่ระหว่างการกลั่นกรองรายละเอียดโดยคณะกรรมการวิสามัญฯ ก่อนจะเสนอสภากทม.พิจารณาในวาระ 2-3 อีกครั้งในเร็วๆนี้--จบ--
-นห-
นายณรงค์ เรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าวสถานการณ์ภัยแล้งในกรุงเทพฯ โดยระบุปกติสถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงช่วงเดือนเมษายน แต่ปีนี้เริ่มส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ จึงต้องเร่งให้ความช่วยเหลือว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกร โดยสั่งการให้สำนักการระบายน้ำขุดลอกคลองสายรอง เพื่อผันน้ำจากคลองสายหลักเข้าสู่พื้นที่ต่าง ๆ เช่น ในพื้นที่เขตคลองสามวา ได้ขุดลอกคลองแปด เพื่อให้น้ำไหลเข้าสู่คลองสี่ตะวันออกได้มากขึ้น หรือ
นางฐิติชยา อนันต์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่ (สกจ.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญกระทำผิดวินัยในการดำเนินโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์...