การแจ้งการตายนอกสถานพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--กทม. นายธวัชชัย กำลังงาม รองปลัดกรุงเทพมหานคร แจ้งว่า เนื่องจากปัจจุบันระบบข้อมูลการตายของประเทศไทยยัง ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะการลงรายการสาเหตุการตายในใบรับแจ้งการตายและมรณบัตรกรณีตายนอกสถานพยาบาล ที่ผ่านมามีการลงรายการสาเหตุการตายไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ทำให้การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขไม่ได้ผลเท่าที่ควร กรมการปกครองจึงร่วมกับสำนักนโยบายและแผน กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการพัฒนาระบบข้อมูลการตายให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 46 หากมีการตายนอกสถานพยาบาล ที่ไม่ใช่การตายผิดธรรมชาติ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกรุงเทพมหานคร ได้ขอความร่วมมือสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการดังนี้ 1.เจ้าบ้านหรือผู้ได้รับมอบหมาย (ควรเป็นผู้รู้รายละเอียดผู้ตาย เช่น ประวัติการเจ็บป่วย) นำบัตรประจำตัวพร้อมหลักฐานที่ เกี่ยวข้องกับผู้ตาย (ถ้ามี) เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวที่ออกให้ตามกฎหมายอื่น ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลท้องที่ที่มีการตาย 2.เจ้าหน้าที่ตำรวจรับแจ้งความและลงบันทึกประจำวัน พร้อมกรอกรายการชื่อตัว - ชื่อสกุล และเลขประจำตัวประชาชนของผู้ตายในใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) แล้วมอบใบรับแจ้งการตายให้ผู้แจ้งการตายพร้อมแนะนำให้นำเอกสารดังกล่าวไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลของรัฐ - เอกชน หรือศูนย์บริการสาธารณสุข หรือคลินิครักษาทั่วไป เพื่อให้แพทย์ลงรายการสาเหตุการตายในด้านหลังของใบรับแจ้งการตาย 3.เมื่อแพทย์ลงรายการสาเหตุการตายแล้ว ให้ผู้แจ้งการตายนำใบรับแจ้งการตาย (ท.ร.4 ตอนหน้า) พร้อมหลักฐานประจำตัวผู้แจ้ง และหลักฐานของผู้ตาย (ถ้ามี) ไปที่สำนักงานเขตที่มีการตายเพื่อออกมรณบัตร รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวต่อไปว่า กรุงเทพมหานครได้สั่งการให้โรงพยาบาลในสังกัดและศูนย์บริการสาธารณสุขทุกแห่งให้ความร่วมมือในการให้แพทย์เป็นผู้ลงสาเหตุการตายในใบรับแจ้งการตายให้แก่ประชาชนที่มาติดต่อ โดยการบริการดังกล่าวสำหรับสถานพยาบาลของรัฐจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครตระหนักดีว่าข้อมูลการตายที่ถูกต้องจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชนในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศต่อไป--จบ-- -นห-

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+ธวัชชัย กำลังงามวันนี้

ทีม SEhRT ผลัด 2 รับไม้ต่อร่วมจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในประเทศเมียนมาเหตุแผ่นดินไหวเสี่ยงสุขภาพประชาชน

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีม SEhRT ผลัด 2 ปฏิบัติภารกิจด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข (Thailand EMT) ผลัด 2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมาย นายแพทย์อุดม อัศวุตมางกุร สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 4 พร้อมด้วย นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สุทัศน์ โชตนพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายภิญญาพัชญ์ จุลสุข

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... 'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคั... กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. แนะ 4 วิธี 'ปลอดโรค ปลอดภัย สุขอนามัยดี' เตรียมพร้อมก่อนเที่ยวสงกรานต์ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์...

เดชอิศม์' แสดงความชื่นชม แพทย์หญิงนภา พฤฒ... 'เดชอิศม์' ชื่นชม 2 แพทย์หญิงกรมอนามัย ช่วยชีวิต 2 หนูน้อยแรกคลอด ขณะเกิดเหตุ แผ่นดินไหว — เดชอิศม์' แสดงความชื่นชม แพทย์หญิงนภา พฤฒารัตน์ และ แพทย์หญิงพิ...