บีทีซี นำร่องอบรมผู้ดูแลระบบก๊าซชีวภาพสร้างเม็ดเงินจากขี้หมูได้เต็มที่

กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--ม.เชียงใหม่ นายวีระพันธ์ เกียรติภักดี ผู้อำนวยการโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (ระยะที่ 3) ส่วนที่ 1 : ฟาร์มขนาดใหญ่ สถานเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (BTC) เปิดเผยว่า จากวิกฤตด้านพลังงานที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทำให้เกิดการแสวงหาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งพลังงานก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความสนใจ ทั้งนี้ในปัจจุบันจะพบว่ามีการใช้ระบบเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละระบบจะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบที่มีความรู้และความเข้าใจต่อการทำงานของระบบ เพื่อให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นทางโครงการฯ ฟาร์มขนาดใหญ่จึงได้จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดูแลระบบก๊าซชีวภาพ แก่ผู้สนใจทั่วไป เพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจต่อการใช้ระบบเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ อันจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการผลิตก๊าซชีวภาพ โดยจะจัดอบรมระหว่างวันที่ 12 พฤษภาคม-3 มิถุนายน 2546 ณ สำนักงานโครงการฯ ฟาร์มขนาดใหญ่ สาขาจังหวัดราชบุรี นายวีระพันธ์ กล่าวต่อว่า สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมจะต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปวส. ด้านเครื่องกล มีความรู้ด้านเครื่องยนต์ มีความใส่ใจในการอนุรักษ์พลังงานควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม และสนใจร่วมทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยทางโครงการฯ ฟาร์มขนาดใหญ่ จะสนับสนุนในเรื่องที่พักและค่าตอบแทน (เบี้ยเลี้ยงรายวัน) แก่ผู้เข้าอบรม นอกจากนี้ผู้เข้าอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรองจากสถานเทคโนโลยีฯ หลังจากผ่านการอบรมแล้ว ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่ โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (ระยะที่ 3) ส่วนที่ 1 : ฟาร์มขนาดใหญ่ สถานเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 53 948 195 ต่อ 114 หรือ e-mail : [email protected] หรือ [email protected] ตั้งแต่วันนี้- 30 เมษายน 2546 อนึ่ง สถานเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการฯ ในระยะที่ 3 (พ.ศ.2546-2552) ซึ่งโครงการฯ ระยะที่ 1 และ 2 ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว โดยสามารถส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ได้จำนวน 20 ฟาร์ม ปริมาตรระบบรวม 56,000 ลูกบาศก์เมตร ผลิตก๊าซชีวภาพได้ประมาณ 28,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG) ได้ 12,880 กิโลกรัม/วัน น้ำมันเบนซิน 18,760 ลิตร/วัน น้ำมันดีเซล 16,800 ลิตร/วัน น้ำมันเตา 15,400 ลิตร/วัน พลังงานไฟฟ้า 33,600 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/วัน และเชื้อเพลิงจากไม้ 42,000 กิโลกรัม/วัน--จบ-- -พห-

ข่าวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่+ระบบก๊าซชีวภาพวันนี้

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) ผนึกกำลังจุฬาฯ และมช. หนุนสตาร์ทอัพและธุรกิจด้านเทคโนโลยีของไทยขยายสู่ตลาดอาเซียน

พร้อมสนับสนุนให้ผู้หญิงก้าวเป็นผู้นำในวงการเทคโนโลยี และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University: SMU) ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน และผลักดันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของสตาร์ทอัพไทยสู่ตลาดอาเซียนขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง

"ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเ... "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ต้องเป็น "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" — "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเป็นแบบ "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" ยกกรณีศึ...

นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลาน... โรงพยาบาลลานนา ออกหน่วยตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในงาน Job Fair 2025 จ.เชียงใหม่ — นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา นำทีมเจ้าหน้าที่พย...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปร... ในหลวง โปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร — พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แ...

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineeri... AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก — สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...