โซโฟสรายงาน “10 อันดับไวรัสอินเทอร์เน็ตและไวรัสหลอก ในเดือนเมษายน 2546”

30 Apr 2003

กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)

เผยองค์กรส่วนใหญ่ละเลยความปลอดภัยของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทางไกล

โซโฟส ( Sophos ) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรระดับโลก ได้ขึ้นบัญชีดำ10 อันดับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอก10 อันดับที่พบมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต ประจำเดือนเมษายน 2546 ไว้ดังนี้

1. W32/Klez-H

(Klez variant)

12.7% อยู่ในตารางนาน 15 เดือน

2. W32/Lovgate-E (Lovgate variant)

4.9% กลับเข้ามาอีกครั้ง

3. W32/Bugbear-A (Bugbear worm)

4.3%

4. W32/Sobig-A

(Sobig worm)

3.3%

5. W32/ElKern-C

(Elkern variant)

2.9%

6. W32/Yaha-E

(Yaha variant)

2.9%

7. W32/Yaha-K

(Yaha variant)

2.9%

8. JS/NoClose

(NoClose worm)

2.1%

9. W32/Flcss

(FunLove)

1.9% กลับเข้ามาอีกครั้ง

10. Dial/Datemake-A (Datemake dialler) 1.6% เข้ามาใหม่

อื่นๆ

60.5%

“ในขณะที่เวิร์ม Klez ยังไม่หลุดออกจากบัญชีดำ เวิร์มตัวใหม่อีกตัวที่มีชื่อว่า Datemake ได้เข้ามาติดอันดับในบัญชีดำ ซึ่งเวิร์มตัวนี้เป็นชนิดหนึ่งของ Malware หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็นตัวต่อโทรศัพท์ (dialler) มันถูกตั้งโปรแกรมให้ต่อโทรศัพท์ไปในเรตราคาที่แพงที่สุด เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ของผู้ใหญ่” มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส กล่าว “ในทุกองค์กรควรที่จะเข้มงวดกับการคำนวณค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันความหายนะที่คุณจะได้รับจากใบเสร็จโทรศัพท์ปริศนามูลค่ามหาศาลที่คุณไม่ได้ใช้ และทำให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจกับโปรแกรมที่คุณไม่ปรารถนา”

โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้ค้นพบไวรัส เวิร์ม และโทรจัน ฮอร์สใหม่ๆ ถึง 475 ตัวในเดือนเมษายน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 81,437 ตัว ที่ซอฟต์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องได้

โซโฟสได้จัดอันดับ10 อันดับไวรัสหลอกประจำเดือนเมษายน 2546 ไว้ดังต่อไปนี้

1. WTC Survivor

18.1% ติดอันดับ 1 มาเป็นเดือนที่ 2

2. JDBGMGR

15.4%

3. Hotmail hoax

8.1%

4. Meninas da Playboy

7.6%

5. A virtual card for you

5.4%

6. Budweiser frogs screensaver 5.2%

7. Bonsai kitten

3.8%

8. A Vida ? Bela

2.7% กลับเข้ามาอีกครั้ง

9. BUDDYLYST.ZIP

1.9%

10. Poison perfume

1.7% เข้ามาใหม่

อื่นๆ

30.2%

“ไวรัสหลอก WTC Survivor ยังคงหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์อยู่เรื่อยๆ และเมื่อเร็วๆนี้หนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในสาธารณรัฐอาหรับ เอมิเรสต์ ยังได้ออกมาเตือนให้ประชาชน เตรียมรับมือกับไวรัส ดังกล่าว” มร.คัสซิ่นส์ กล่าว “ใครก็ตามที่ได้รับไวรัสหลอกตัวนี้ ไม่ควรเชื่อในทุกๆสิ่งที่อ่าน และแทนที่จะส่งต่อไปเตือนเพื่อนๆ หรือคนรู้จักอื่นๆ คุณควรที่จะถามผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครือข่ายเพื่อขอคำแนะนำก่อน”

จากผลการสำรวจโดยโซโฟส ถึงความถี่ในการอัพเดท แอนตี้-ไวรัส โปรแกรม นั้น ปรากฏว่า ในหลายๆบริษัทยังคงละเลยและไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับระบบความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทางไกล และจากผลสำรวจพฤติกรรมของผู้ดูแลระบบไอทีกว่า 3,000 คนในหลายๆบริษัทในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พบว่ายังมีการอัพเดทซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัส โดยร้อยละ 66 มีการอัพเดทไวรัสทุกวัน แต่อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 70 มีการอัพเดทการป้องกันไวรัสทางไกลอาทิตย์ละครั้งหรือน้อยกว่านั้น และร้อยละ 45 ทำการอัพเดทการป้องกันเพียงเดือนละครั้ง จึงส่งผลให้โซโฟสไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาและคิดค้นซอฟต์แวร์ เพื่อป้องกันไวรัสที่เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน

“ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ละเลยต่อความปลอดภัยดังกล่าว สามารถเปรียบเทียบได้กับถังใส่น้ำที่มีรูรั่ว” คาโรล์ เธริโอท์ ที่ปรึกษาทางด้านแอนตี้-ไวรัสของโซโฟสกล่าว “องค์กรส่วนใหญ่จะรับรู้ถึงความสำคัญของการอัพเดทแอนตี้-ไวรัส แต่ขณะเดียวกันการรับรู้นี้กลับไม่เป็นที่แพร่กระจายไปสู่กลุ่มพนักงานภายในองค์กรสักเท่าไหร่ ผู้จัดการเครือข่ายส่วนใหญ่ก็พยายามที่จะหาทางประนีประนอมเพื่อจัดการป้องกัน โดยไม่พยายามที่จะเข้มงวดกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทางไกล”

โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซด์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ http://www.sophos.com/virusinfo/infofeed/

ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่

www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten

ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่

www.sophos.com/safecomputing

ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:

โซโฟส เป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัสระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ สินค้าของโซโฟส ได้ถูกจำหน่ายไปยังที่ต่าง ๆ มากกว่า 150 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้โซโฟส แอนตี้-ไวรัสยังเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรใหญ่ ๆ อาทิ ธนาคาร รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลอีกด้วย

ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com

สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์

หรือ

คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณธัชพล โภคาชัยพัฒน์ ผู้อำนวยการบริหาร

บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore โทร.0-2260-5820 ต่อ 122 โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8 Tel: +65 429 0060

Email: [email protected]

Email: [email protected]

Web Site: www.sophos.com-- จบ--

-พห-