กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด
เนื้อหาของงาน MONEY EXPO 2003 มหกรรมการเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ครั้งที่ 3 Consumer Finance & Technology Fair 2003 15-18 พฤษภาคม 2546 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ชื่องาน MONEY EXPO 2003
จัดโดย วารสารการเงินธนาคาร
บริษัท มีเดีย แอสโซซิเอตเต็ด จำกัด
ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
รูปแบบ กิจกรรมภายในงานจะแบ่งเป็น
1. การแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทางการเงิน ในภาคตลาดเงินและในภาคตลาดทุน โดยแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ
1.1 พื้นที่เปล่า ลูกค้าออกแบบก่อสร้างเอง
1.2. พื้นที่แบบบูธมาตรฐานสำเร็จรูป
2. ส่วนของการสัมมนาในหัวข้อเกี่ยวกับการลงทุนทั้งในตลาดเงิน สำหรับผู้ฝากเงิน และการลงทุนในตลาดทุน สำหรับนักลงทุนมือใหม่ และนักลงทุนที่มีพื้นฐานความรู้ด้านการลงทุน โดยวิทยากรจากหลากหลายสาขาอาชีพ
3. กิจกรรมให้ความรู้ในเรื่องของการลงทุนในหลากหลายรูปแบบ เช่น Money Game และ Investment Simulation Competition
สถานที่จัดงาน ห้อง Plenary Hall 1-2-3 , ห้อง Ballroom , ห้อง Meeting Room
ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
วันที่จัดงาน วันพฤหัสบดีที่ 15 ถึงวันอาทิตย์ที่ 18 พฤษภาคม 2546 เวลา 10.00-20.00 น.
แนวคิด เนื่องจากการจัดงานมหกรรมการเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน Consumer Banking & Technology Fair 2001 ที่ วารสาร การเงินธนาคาร จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในโอกาสฉลองครบรอบ 20 ปีของ วารสารการเงินธนาคาร เมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2544 และ งาน MONEY EXPO 2002 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16-19 พฤษภาคม 2545 รวมไปถึง งาน ตลาดหุ้นใกล้ตัวคุณ หรือ SET in the City 2002 ที่ วารสาร การเงินธนาคาร ได้ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 12-14 กรกฏาคม 2545 ที่ผ่านมา ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางจากผู้เข้าร่วมงานว่า สามารถสร้างความสำเร็จในเชิงธุรกิจให้แก่สถาบันการเงินและองค์กรต่างๆ ได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นประโยชน์กับประชาชนที่เข้าชมงาน สามารถตัดสินใจเลือกบริการทางการเงินที่ตรงกับความต้องการได้อย่างถูกต้องอีกด้วยในปี 2546 นี้ วารสาร การเงินธนาคาร ในฐานะสื่อทางด้านการเงินการธนาคารที่มียอดผู้อ่านมากที่สุด จึงสานต่อแนวคิดเดิมในการจัดงานแสดงนิทรรศการทางด้านบริการทางการเงินและผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ ตลอดจนเทคโนโลยีที่ใหม่ๆ ทางด้านการเงินในยุค e-Life ทั้ง Internet Banking, Mobile Banking, e-Banking, e-Money , e-Commerce และ e-Procurement เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้ชมและสัมผัสกับของจริง และตัดสินใจเป็นลูกค้าต่อไปในอนาคต รวมทั้งยังเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีของสถาบันการเงินต่อลูกค้าอีกด้วย
การจัดงาน MONEY EXPO 2003 ครั้งนี้ วารสาร การเงินธนาคาร ได้ขยายรูปแบบงานออกไปให้กว้างยิ่งขึ้น นอกจากจะมีการจัดแสดงนิทรรศการทางด้านบริการทางการเงินที่เป็นส่วนของธุรกิจในภาค "ตลาดเงิน" ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังได้เปิดให้ธุรกิจในส่วนของภาค "ตลาดทุน" เช่น บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม ได้เข้ามาส่วนแสดงผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทางด้านตลาดทุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดบัญชีเพื่อซื้อขายหุ้น การลงทุนผ่านกองทุนรวม ฯลฯ โดย วารสาร การเงินธนาคาร ได้ร่วมมือกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และนำเสนอกิจกรรมในรูปแบบต่างๆเพื่อให้งาน MONEY EXPO 2003 สนองตอบต่อลูกค้าและนักลงทุนย่อยได้อย่างครบวงจรมากขึ้นทั้งนี้ วารสาร การเงินธนาคาร ได้จัดพื้นที่ในศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ออกเป็นโซนต่างๆ ตามกิจกรรมที่ไว้กำหนดไว้ โดย
1. ห้อง Plenary Hall 1- 2 -3 จะเป็นส่วนของการแสดงนิทรรศการผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ ส่วนของธนาคาร , ส่วนของบริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม และส่วนของบริษัทประกันชีวิตและประกันภัย โดยที่ทุกส่วนจะได้รับจัดสรรพื้นที่อย่างเหมาะและลงตัวที่สุด
2. ส่วนของการจัดสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจ
3. ส่วนของหน่วยงานใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงินและตลาดทุน เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงาน กลต. สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจดทะเบียน หรือบริษัทจดทะเบียนใหญ่ ฯลฯ ที่เข้าร่วมงาน
ในการจัดงานครั้งนี้ วารสาร การเงินธนาคาร จะร่วมกับ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "สวนดุสิตโพลล์" สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่เข้าชมงาน เพื่อให้คะแนน กับ ธนาคารหรือ สถาบันการเงิน ที่ให้บริการด้านการเงินดีที่สุด เพื่อครองตำแหน่ง BEST CONSUMER BANK 2003 ด้วย
วัตถุประสงค์และเจตนารมณ์
1. เพื่อเป็น "สื่อกลาง" ระหว่างธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทจัดการกองทุนรวม รวมไปถึงบริษัทประกัน มีโอกาสเข้าถึงประชาชนผู้บริโภครายย่อยโดยตรง ในการให้ความรู้และข้อมูลในด้านสินเชื่อ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และบริการทางการเงินด้านต่างๆทั้งในตลาดเงินและตลาดทุน เพื่อ "สร้างโอกาส" ในการซื้อและขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการทางการเงิน ที่เป็นความต้องการของลูกค้ารายย่อยอย่างแท้จริง
2. เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันการเงินต่างๆที่เข้าร่วมงานได้ "สร้างภาพลักษณ์" ที่ดีของสถาบันต่อลูกค้ารายย่อย อันจะช่วยสร้าง "ความพึงพอใจ" ให้กับลูกค้ารายย่อย ช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นศรัทธาในฐานะและบริการของสถาบันการเงิน ซึ่งจะนำไปสู่การเป็นลูกค้าถาวรที่ใช้บริการทางการเงินแบบครบวงจร
3. ช่วยให้พนักงานของสถาบันการเงินแต่ละแห่งเกิดความรู้สึกกระตือรือร้นในด้านการแข่งขัน เพราะในงานจะต้องนำเอาผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดขององค์กรมาแข่งขันกับคู่แข่ง โดยมีลูกค้ารายย่อยเป็นผู้เลือก อันจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรเอง
รายชื่อผู้เข้าร่วมงาน
ธนาคาร 14 แห่ง
1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
4. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
5. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
6. ธนาคารดีบีเอสไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
7. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
8. ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)
9. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน จำกัด (มหาชน)
10. ธนาคารยูโอบีรัตนสิน จำกัด (มหาชน)
11. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
12. ธนาคารออมสิน
13. ธนาคาร HSBC
14. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
บริษัทหลักทรัพย์ 10 แห่ง
1. บริษัทหลักทรัพย์ ไอบี จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด
5. บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
8. บริษัทหลักทรัพย์ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด
10. บริษัทหลักทรัพย์ทรีนิตี้ จำกัด
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ 1 แห่ง
1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เอไอจี ไฟแนนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
บริษัทเงินทุนเงินทุน 1 แห่ง
1. บริษัทเงินทุนกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม 9 แห่ง
1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบีโอเอ จำกัด
3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม พรีมาเวส จำกัด
4. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไอเอ็นจี จำกัด
5. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อยุธยา จาร์ดีน เฟลมมิ่ง จำกัด
6. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด
7. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด
8. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาติ จำกัด
9. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน อเบอร์ดีน จำกัด
บริษัทประกันชีวิต- ประกันภัย 6 แห่ง
1. บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
2. บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด
3. บริษัท อยุธยา อลิอันซ์ ซี.พี. ประกันชีวิต จำกัด
4. บริษัท ศรีอยุธยา ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอชชัวรัน จำกัด (มหาชน)
6. บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์
บริษัทบัตรเครดิต 3 แห่ง
1. บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด
2. บริษัท บัตรกรุงศรีอยุธยา จำกัด
3. บริษัท เอไอจี การ์ด จำกัด
บริษัท ไอที 5 แห่ง
1. บริษัท ศูนย์ประมวลผล จำกัด
2. บริษัท ครีเอตุส คอร์โปเรชั่น จำกัด
3. บริษัท ที.เอ็น.อินฟอร์เมชั่น ซิสเท็มส์ จำกัด
4. บริษัท กรุงไทยคอมพิวเตอร์เซอร์วิส จำกัด
5. บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็มส์ บีสซีเน็ท (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทอสังหาริมทรัพย์ 1 แห่ง
1. บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)
บริษัท โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1 แห่ง
1. บริษัท แอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอ็นเตอร์เทรนเม้นท์ 2 แห่ง
1. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
2. UBC
บริษัท อื่นๆ 2 แห่ง
1. บริษัท อยุธยา อินเตอร์เนชั่นแนล แฟคเตอร์ จำกัด
2. บริษัท เซ็นทรัล เทรดดิ้ง จำกัด
หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง 13 แห่ง
1. สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2. บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
3. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
4. สมาคมบริษัทหลักทรัพย์
5. บริษัท ทศท คอร์เปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน)
6. สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
7. สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย
8. สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์
9. สำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
10. สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
11. ชมรมนักลงทุนสัมพันธ์
12. บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด
13. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย--จบ--
-นห-
บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณมิ่งขวัญ ประเสริฐศิวพร (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการ งานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเงิน ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม "Happy Money Sharing: Financial Well-Being Journey 2025" จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ส่งเสริมความรู้ทางการเงินในองค์กร แก่ผู้แทนองค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ทั้งหมด 28 องค์กร ให้สามารถไปปรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับพนักงานในองค์กร สมาชิกในชุมชน หรือประชาชนทั่ว