กรุงเทพฯ--28 เม.ย.--ม.รังสิต
ขอเรียนเชิญร่วมงานเปิดตัววิชา High-Tech Entrepreneurship และ ฟังปาฐกถา เรื่อง "นโยบายภาครัฐกับการส่งเสริมผู้ประกอบการไฮเทค" โดยรัฐมนตรี ICT
อาจารย์ประจำวิชา
1. ดร. เจตน์ ตันปรียะชญา คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต
[email protected]
2. คุณ ชีพธรรม คำวิเศษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไทยเวนเจอร์ดอทคอม จำกัด
[email protected]
COURSE DESCRIPTION
เป็นวิชาเลือกพิเศษสำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อรองรับการสร้างผู้ประกอบการใหม่ในยุคเศรษฐกิจองค์ความรู้ โดยใช้วิธีการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน เป็นเครื่องมือเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการใหม่ โดยมีการใช้กรณีศึกษาของผู้ประกอบการไฮเทคทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และครอบคลุมถึงการเขียนแผนธุรกิจ และวิธีการเจรจาต่อรอง พร้อมกับการประเมินมูลค่าบริษัทและทรัพย์สินทางปัญญา?
COURSE OBJECTIVES
1. เพื่อสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมต่อการเป็นผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่ตนเองและประเทศไทย ช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม
2. ให้นักศึกษาเข้าใจถึงความแตกต่างของธุรกิจทั่วไปกับธุรกิจไฮเทค
3. ให้นักศึกษาเข้าใจถึง ปัญหา, โอกาส, อุปสรรค ของผู้ประกอบการไฮเทค เพื่อลดความเสี่ยงและ สร้างอัตราผลตอบแทนสูงสุดในธุรกิจ
4. เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Access to capital), การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน, การตีมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญา, การเจรจาต่อรองกับนักลงทุน
5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ, การรับผิดชอบกับเงินทุน, ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และการตอบแทนสังคม หลังจากที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ พร้อมกับกระจายความมั่งคั่งให้กับผู้อื่น
TIME & VENUE
เรียนทุกวันพฤหัสบดี เวลา 18:15 - 21:15 น. ณ ห้อง 701 ชั้น 7 ศูนย์ศึกษาสาทรธานี มหาวิทยาลัยรังสิต อาคารสาทรธานี 1 ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ โทร 0-2636-8383 ต่อ 1820-1 โทรสาร 0-2636-8390 E-mail :
[email protected] Web Site : http://sathorn.netCOURSE ASSESSMENT
Report (ส่วนบุคคล ) : วิเคราะห์ โครงสร้างและกลยุทธในธุรกิจไฮเทค Group Business Plan Project : นักศึกษาต้องรวบรวมกลุ่ม 4-5 คน เพื่อเขียน Business plan สำหรับธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีความเสี่ยงสูง แนวคิดทางธุรกิจอาจเป็นปริญญานิพนธ์ของนักศึกษา หรืออาจเป็นความสนใจส่วนตัวของแต่ละทีมงาน ที่คาดว่าจะสามารถต่อยอดเป็นธุรกิจได้ในอนาคต โดยแนวทางการเขียนแผนธุรกิจต้องเป็นเป็นไปตามกฏเกณฑ์ดังไปนี้
executive summary; company, products, and services; customer and market analysis; strategy analysis, marketing and operations, management and organization, milestone events and key risks, and financials. สำหรับแผนธุรกิจจะต้องนำเสนอภายในชั้นเรียนในอาทิตย์สุดท้ายของการศึกษา
LECTURE 1. The Entrepreneurial Perspective ครั้งที่ 1 5 มิ.ย. 46Course Introduction
วิทยากรรับเชิญพิเศษ คุณ ณรงค์ อิงค์ธเนศ ผู้ก่อตั้ง บ. The value system
1. เป้าหมายจุดประสงค์ของการเป็นเถ้าแก่
2. เถ้าแก่กับผลประโยชน์และเศรษฐกิจของชาติ
3. อะไรคือความหมายของเถ้าแก่ไฮเทค
4. ประวัติความเป็นมาของบริษัทไฮเทคชั้นนำของโลกและประเทศไทย
Reading :
1. Lester C. Thurow(1999) , Buiding Wealth
2. Michale Dell and Chterine Fredman, 1999 Direct from Dell (มีแปลภาษาไทย)
3. Jame Wallace & Jim Erickson , Hard Drive (Bill gate and the Making of the Microsoft Empire) (มีแปลภาษาไทย)
4. Steven Rogers , ch1-2 The entrepreneur's guide to finance and business Wealth Creation Techniques for Growing a Business
LECTURE 2. Silicon Valley & Entrepreneurship ครั้งที่ 2 12 มิ.ย. 46 Sources of Technology: University Technology Transfer
วิทยากรรับเชิญพิเศษ คุณ ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ นักศึกษาระดับปริญญาเอก ม.สแตนฟอร์ด และอดีตกรรมการผู้จัดการบ. แคชชา( ประเทศไทย ) จำกัด
1. ความเป็นมาของ silicon valley กับ บรรยากาศการสร้างเถ้าแก่
2. สภาพแวดล้อม,วัฒนธรรมเถ้าแก่ไฮเทค ระหว่างไทยกับต่างประเทศ
3. เถ้าแก่ไฮเทค ใน เอเชีย ,ยุโรป
4. แรงผลักดันของสถาบันการศึกษาต่อการสร้างผู้ประกอบการ
5. ความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคเอกชน
6. อัตราค่าตอบแทนและการประเมินในการโอนถ่ายเทคโนโลยีจากภาคการศึกษาสู่เอกชน
7. ปัญหาและอุปสรรคในการโอนถ่ายเทคโนโลยีในประเทศไทย
Reading :
1. Jim Clark with Owen Edwards Nescape Time , ST. Martin's Press, New York (มีแปลภาษาไทย)
2. David A. Kaplan , The silicon boy , Perennial
LECTURE 3. From Idea to Opportunity อะไรคือไอเดียและโอกาส ครั้งที่ 3 19 มิ.ย. 46Invention, Innovation, "Opportunity Analysis".
วิทยากรรับเชิญพิเศษ คุณ ตฤณ ตัณฑเศรษฐี CEO บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
1. ที่มาของไอเดีย,โอกาส และความเสี่ยง
2. จากไอเดียสู่ธุรกิจ
3. อะไรคือ "creative destruction"
4. การเกิดขึ้นของนวัตกรรม
5. ความเสี่ยงของธุรกิจใหม่อยู่ที่ไหน
6. กรณีศึกษา บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
Readings:
1. Prof.John Kao , Jamming The art & Discipline of business creativity
2. Guy Kawasaki with Michele Moreno ,Rule for revolutionaries
3. Review Timmons, J. (1994), Ch. 3 "Opportunity Recognition" New Venture Creation.
4. Joseph H. Boyett & Jimmy T. Boyett , ch.2 "The perfect Idea" The guru Guide to Entrepreneurship
LECTURE 4 Life Sciences Start-ups โครงสร้างของบริษัทเกิดใหม่ ครั้งที่ 4 26 มิ.ย. 46
- New Enterprises
- What is the relationship between creativity, knowledge, information and routines within the firm?
วิทยากรรับเชิญพิเศษ
- คุณ ปรเมศร์ มินสิริ อดีต ผู้ก่อตั้ง สนุกดอทคอม
- คุณ กานต์ ยืนยง อดีตผู้ก่อต่อตั้ง บ. ไกวัลซอฟต์แวร์ลีนุกซ์
1. โครงสร้างของบริษัทเกิดใหม่เป็นอย่างไร
2. วิธีการเลือกสรรทีมงานเพื่อสร้างธุรกิจ
3. อะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัทเกิดใหม่
4. วิธีการหาลูกค้าใหม่
5. กระบวนการในการบริหารองค์กรแตกต่างจากบริษัทที่มั่นคงแล้วอย่างไร
6. ระบบบริหารงานอย่างไรถึงจะเหมาะสมกับองค์กร Start up
7. ปัญหาของเถ้าแก่ไฮเทคที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งบริษัท
8. วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันและการไขปัญหาในบริษัทไฮเทคที่เพิ่งก่อตั้ง
Reading :
1. David Bunnell CEO/Editor , Upside Media : The Ebay Phenomenon : Business secrets behind the world's hottest internet company
Case: Apple computer
Kaiwal Linux software (Thai)
LECTURE 5. Intellectual Property ทรัพย์สินทางปัญญา ครั้งที่ 5 3 ก.ค. 46
- Profiting from innovation
- What makes knowledge and information different from other economic goods?
วิทยากรรับเชิญพิเศษ ดร. ขจิต สุขุม กรมทรัพย์สินทางปัญญา
1. โครงสร้างของทรัพย์สินทางปัญญา
2. การสร้างเงินจากทรัพย์สินทางปัญญา
3. ความแตกต่างระหว่างโมเดลของธุรกิจ
4. ป้องกันทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไร
Reading :
1. As the future catches you .
2. จับเสือมือเปล่า : ทรัพย์สินทางปัญญาคือที่มาของสินทรัพย์
Case : PSL font (font ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์หรือไม่)
LECTURE 6. How to write busines plan การเขียนแผนธุรกิจ ครั้งที่ 6 10 ก.ค. 46
วิทยากรรับเชิญพิเศษ พันตรี อรรถสิทธิ์ หัตถีธรรม วิศวกรโยธา กรมยุทธโยธาทหารบก
1. โครงสร้างและองค์ประกอบของ แผนธุรกิจ (Business Plan)
2. ซอฟต์แวร์และเครื่องมือในการเขียนแผน
Reading :
1. Steven Rogers , ch 3-4 The entrepreneur's guide to finance and business Wealth Creation Techniques for Growing a Business
2. Bruce Jan Blechman and Jay Conrad Levinson ,Guerrilla Financing p 248- 287 How to Write an Effective Business Plan
LECTURE 7. High tech Entrepreneurial Marketing แผนการตลาดสำหรับเถ้าแก่ใหม่ ครั้งที่ 7 17 ก.ค. 46
วิทยากรรับเชิญพิเศษ คุณ นิมิต หมดราคี CEO บริษัท 124 Communication จำกัด
1. เรียนความยากง่ายของการทำการตลาดภายใต้สภาวะทุนที่จำกัด
2. ความแตกต่างระหว่างประชาสัมพันธ์ กับ การตลาด
3. วิธีการติดต่อสื่อมวลชน
4. การวางแผนกลยุทธ การหาตลาด
5. การสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ ขายของอย่างไร
6. พฤติกรรมของผู้บริโภคต่อธุรกิจไฮเทค
7. กรณีศึกษาของความผิดพลาดในการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์
Reading :
1. Geoffrey A. Moore ,Inside the Tornado : Marketing strategies from silicon valley's cutting edge
2. Regis Mckenna , Realtime Preparing the age the never satisfied customer
3. Chuck Pettis , Techno Brand: How to create & use "Brand identity" to market, advertise & sell technology products
4. Jakki Mohr , Marketing of High - Technology Products and Innovations
LECTURE 8. Venture financing and valuations ครั้งที่ 8 24 ก.ค. 46Venture capital (VC)การระดมทุนจากกองทุนร่วมเสี่ยง และ การตีมูลค่าบริษัทและทรัพย์สินทางปัญญา
วิทยากรรับเชิญพิเศษ
- คุณ ธารินทร์ เอี่ยมเพชราพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
- คุณ ชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการ บ.หลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน วีเน็ท จำกัด
1. venture capital คืออะไร
2. ธุรกิจไฮเทคควรเลือกใช้หนี้หรือทุน
3. การตีมูลค่าบริษัท
4. การแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน
5. ทำอย่างไรให้ได้รับการสนับสนุนทางการเงิน
6. กรณีศึกษา
Reading:
1. William D. Bygrave and Jeffry A. Timmons , Venture Capital at the Crossroads
2. Joseph H. Boyett & Jimmy T. Boyett , ch.3 "Money Matters" The guru Guide to Entrepreneurship
3. George T. Geis and George S. Geis , "Ch8 Minority Equity Investment" Digital Deals: Strategies for selecting and Structuring Partnerships
4. Mark Van Osnabrugge and Robert J. Robinson, Angel Investing: Matching Start-up Funds with Start-up Companies - The guide for Entrepreneurs, Individual Investor, and Venture Capitalists
LECTURE 9. High-Tech entrepreneurs in Thailand ครั้งที่ 9 31 ก.ค. 46
วิทยากรรับเชิญพิเศษ
- คุณหมอ ภาณุทัต เตชะเสน ประธานผู้บริหาร บ. Jimmy software
- ดร.สุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการผู้จัดการ บ. สยามกูรู
Reading :
1. -วัลยา , ทักษิณ ชินวัตร ตาดูด้าว เท้าติดดิน (สำนักพิมพ์ มติชน)
กรณีศึกษา : พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ผู้ก่อตั้ง บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
LECTURE 10 Strategic management & Leadership ครั้งที่ 10 7 ส.ค. 46
วิทยากรรับเชิญพิเศษ
- คุณ พีรพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กก.ผจก. ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด
- คุณ ณัฐศักดิ์ โรจนพิเชษฐ์ กก.ผจก. ออราเคิล (ประเทศไทย)
- คุณ เอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กก.ผจก. อินเทลไมโครอิเลคทรอนิคส์ ประเทศไทย จำกัด
- คุณ พงษ์ระพี เตชะพาหพงษ์ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Business.com
1. การบริการงานกลยุทธ องค์กร และ ภาวะผู้นำ
2. การบริหารคน , โครงการ และ กระบวนการ
3. การตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ
4. การบริหาร Partnerships และ Alliances
Reading:
1. David Thielen , The 12 simple secrets of Microsoft Management
2. John Kotter , p.37 "What Leaders Really do" Harvard Business Review on Leadership
3. Joseph H. Boyett & Jimmy T. Boyett , The guru guide : The Best Ideas Of The Top Management Thinkers
4. John A. Shtogren , ch 9 "Power is the great motivator" and ch 10 Strengthen Others: Sharing Power and Information ,Skyhooks For Leadership
5. Louis V. Gerstner, Who Says Elephants Can't Dance?: Inside IBM's Historic Turnaround
6. Wharton on making decisions
7. James C. Collins, Jerry I. Porras , Built to Last: Successful Habits of Visionary Companies
8. Jim Collins , Good to Great: Why Some Companies Make the Leap... and Others Don't
LECTURE 11. Ethics, Work and Life (CORPORATE RESPONSIBILITY ) ครั้งที่ 11 14 ส.ค. 46
How do you meet people you don't know, but need to know?
วิทยากรรับเชิญพิเศษ
- พระมหา สมปอง มุทิโต
- อาจารย์ ชรินทร์ วัชรินทร์วงศ์ ที่ปรึกษา บ. Loxley จำกัด (มหาชน)
1. จริยธรรมทางธุรกิจ
2. เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ, ธุรกิจ และ ชีวิต
3. เครื่องมือในการบริหารความสัมพันธ์ธุรกิจ (Golf)
4. วิธีการเลือก Partner
5. การเข้าสังคม Social skill
6. รู้จักตอบแทนสังคมเมื่อประสบความสำเร็จในธุรกิจ
Reading:
1. David Packard , The HP Way: How Bill Hewlett and I Built Our Company
2. Michael E. Porter and Mark R. Kramer , p.56 The Competitive Advantage of Corporate Philanthropy : December 2000 Harvard Business Review
LECTURE 12. Business plan compettition แข่งขัน แผนธุรกิจ ครั้งที่ 12 21 ส.ค. 46
หาผู้ชนะเลิศความเป็นไปได้ของโครงการเพื่อนำไปใช้เชิงพาณิชย์
รายชื่อ วิทยากรรับเชิญพิเศษ
1. พระมหา สมปอง มุทิโต คณะ๒๕ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎก และ เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. คุณ ณรงค์ อิงค์ธเนศ ผู้ก่อตั้ง บ. value system (ผู้ค้าส่งอุปกรณ์ ไอที ยอดขาย 4 พันล้านบาทต่อปี)
3. คุณ นุสรณ์ พจน์พิพัฒน์ อดีตพนักงานไมโครซอฟท์ ผู้พัฒนาออฟฟิศ 97 ภาษาไทย และกรรมการผู้จัดการ บ.อัลกอริทึ่ม ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ออฟฟิศปลาดาว ได้รับรางวัล นักธุรกิจรุ่นใหม่ จากงาน world economic forum ปี 2003 เป็นรางวัลเดียวกับที่ บิล เกต เคยได้รับเมื่อหลายปีก่อน
4. คุณ เอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กก.อินเทลไมโครอิเลคทรอนิคส์ ประเทศไทย จำกัด (www.intel.com) ผู้ผลิตชิพ PC อันดับหนึ่งของโลก
5. คุณ ตฤณ ตัณฑเศรษฐี CEO บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน)
6. คุณ นิมิต หมดราคี CEO บริษัท 124 Communication จำกัด
7. อาจารย์ ชรินทร์ วัชรินทร์วงศ์ ที่ปรึกษา บ. Loxley จำกัด (มหาชน)
8. คุณหมอ ภาณุทัต เตชะเสน ประธานผู้บริหาร บ. Jimmy software
9. ดร. สุรพันธ์ เมฆนาวิน กรรมการผู้จัดการ บ. สยามกูรู
10. คุณ พีรพงษ์ เอื้อสุนทรวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บ.ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (กำลังตอบรับ)
11. คุณ วรกร ภัทรยานันท์ กรรมการผู้จัดการ บ.ซิสโก้ ซิสเต็มท์ ประเทศไทย จำกัด (กำลังตอบรับ)
12. คุณ ปรเมศร์ มินศิริ กรรมการผู้จัดการ บัณฑิต เซ็นเตอร์ (อดีตผู้ก่อตั้ง สนุกดอทคอม)
13. ดร. ขจิต สุขุม กรมทรัพย์สินทางปัญญา
14. พันตรี อรรถสิทธิ์ หัตถีธรรม ผู้เขียนหนังสือ จับเสือมือเปล่า (2) other people's money และพัฒนาซอฟต์แวร์วิเคราะห์ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน
15. คุณ ชนิตร ชาญชัยณรงค์ กรรมการ บ.หลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน วีเน็ท จำกัด
16. คุณ ธารินทร์ เอี่ยมเพชราพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
17. คุณ พงษ์ระพี เตชะพาหพงษ์ บรรณาธิการบริหาร นิตยสาร Business.com
18. คุณ ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ อดีตนักศึกษาระดับปริญญาเอก ม.สแตนฟอร์ด และอดีตกรรมการผู้จัดการบ. แคชชา (ประเทศไทย) จำกัด--จบ--
-พห-