กทม. เปิดตัวแนวทางการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--กทม. เมื่อวานนี้ (18 พ.ย.45) เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมใหญ่ AUDITORIUM บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานเปิดการอบรมกลุ่มแกนนำหรืออาสาสมัคร ตามโครงการนำร่องเพื่อพิทักษ์สิทธิเด็กและสตรี เขตดอนเมือง โดยมี นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร นายไพศาล เผ่าประพัธน์ ผู้อำนวยการเขตดอนเมือง ดร.สุธีรา ทอมสัน วิจิตรานนท์ นายกสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ และผู้แทนจากชุมชนประมาณ 300 คน ร่วมพิธีเปิด สำหรับเนื้อหาสาระของการอบรม ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ เรื่อง ตัวจริง เสียงจริง โดยคุณแดง สมาชิกบ้านพัก ฉุกเฉิน , ความรุนแรง สถานการณ์ สาเหตุและผลกระทบ โดย แพทย์หญิงเพ็ญศรี พิชัยสนิธ และ การเฝ้าระวังและการให้ความช่วยเหลือในชุมชน เทคนิคและวิธีการ โดยแพทย์หญิงเพ็ญศรีและคุณสุเพ็ญศรี พึ่งโคกสุง นอกจากนี้อาสาสมัครฯ ยังได้ร่วมกันวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกันอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้ เวลา 11.00 น. ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้แถลงข่าวในกิจกรรม "พบกันจันทร์ละหน คนกับข่าว" ครั้งที่ 68 เรื่อง เปิดตัวแนวทางการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการ ด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานคร พร้อมเตรียมขยายผลโครงการนำร่องเพื่อการดูแลสิทธิเด็กและสตรี "โครงการยุติความรุนแรง" สู่ชุมชน 50 เขตหลายหน่วยงานร่วมเป็นเครือข่ายเพื่อคุ้มครองพิทักษ์สิทธิเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสในกทม. นางณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า จากสภาพเศรษฐกิจและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน ประกอบกับกรุงเทพมหานครเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อนมากมายในสังคมเมืองหลวง เช่น ปัญหาคนว่างงาน ปัญหาความยากจน ปัญหาด้านสาธารณสุขและสาธารณูปโภค ปัญหาความเครียดทางจิตใจ ปัญหาเด็กเร่ร่อน และความรุนแรงในครอบครัว ฯลฯ ซึ่งกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มากที่สุด ก็คือ กลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส กรุงเทพมหานครตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานครขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และคุ้มครองพิทักษ์สิทธิ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ให้มี คุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต, สนับสนุนการสร้างความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาการค้าเด็กและสตรี ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศ, สร้างเครือข่ายการประสานงานในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติระหว่างหน่วยงานกรุงเทพมหานคร หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน องค์กรระหว่างประเทศและชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง, จัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานครให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ, ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานของกรุงเทพมหานครดำเนินการตามนโยบายและมาตรการที่กำหนดไว้ เกี่ยวกับด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส สำหรับศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานคร มีตนเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และมีเครือข่ายประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสระดับเขต มีผู้อำนวยการเขต เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศูนย์รับแจ้งเหตุและบริการครอบครัวในชุมชน มีแกนนำชุมชน อาสาสมัคร ผู้นำกลุ่ม เป็นคณะกรรมการ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของกทม.อีกหลายหน่วยงานร่วมเป็นเครือข่ายของศูนย์อำนวยการด้านเด็กฯ กทม. ได้แก่ สำนักการแพทย์ สำนักอนามัย สำนัก สวัสดิการสังคม สำนักการศึกษา สำนักพัฒนาชุมชน สำนักการโยธา สำนักนโยบายและแผนกทม. พร้อมด้วยหน่วยงานภายนอก ได้แก่ องค์กรต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน (บริษัท) องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) ยุติความรุนแรงในสังคมต้องเริ่มต้นที่ครอบครัว นางณฐนนท กล่าวต่อไปว่า เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ถือเป็นเดือนแห่งการยุติความรุนแรงของโลก ทั้งนี้ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็ก ผู้หญิงหรือผู้ที่อ่อนแอกว่า และผู้กระทำผิดส่วนใหญ่มักเป็นผู้ชาย จากข้อมูลเรื่องการละเมิดสิทธิเด็กและสตรีในปี 2545 ของศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานครที่รับรายงานมาจากศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กและสตรีจากโรงพยาบาลกรุงเทพมหานคร ทั้ง 8 แห่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนกันยายน 2545 พบว่า มีการทำร้ายร่างกายรวม 337 ราย ผู้ที่ทำร้ายคือบุคคลในครอบครัวและคนใกล้ชิด โดยเฉพาะจากสามีสูงถึง 58 % (196 ราย) การถูกข่มขืน 106 ราย ส่วนใหญ่ก็เกิดจากคนใกล้ตัว จากคนแปลกหน้ามีเพียง 9 ราย และในจำนวน 106 รายนี้ก็ยังมีผู้รักษากฎหมายละเมิดเองอีก 4 ราย นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการถูกอนาจาร 16 ราย ทอดทิ้ง 8 ราย ข่มขู่ 1 ราย เป็นการข่มขู่ของลูกชายกับแม่ จากรายงานดังกล่าวเห็นได้ว่ามีเพียงส่วนน้อยมากที่ให้ข้อมูล หากเปรียบเทียบกับความจริงที่เด็ก สตรี ถูกละเมิดจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิดและคนแปลกหน้า ความรุนแรงเกิดขึ้นได้ทุกเวลาและสถานที่ ความรุนแรงไม่ใช่เพียงแค่การทำร้ายร่างกายเท่านั้น ความรุนแรงมีหลากหลายรูปแบบ มีตั้งแต่การใช้ความรุนแรงทางวาจา ความรุนแรงต่ออารมณ์ จิตใจ และความรุนแรงที่แสดงออกทางพฤติกรรมต่าง ๆ ปัญหาที่ทำให้เกิดความรุนแรงนั้นงานวิจัยยอมรับแล้วว่า การเลี้ยงดูของครอบครัวมีอิทธิพลสูง เด็กที่ได้รับรู้ถึงความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ ก็จะดูดซับเอาพฤติกรรมความรุนแรงนั้นไว้โดยไม่รู้ตัว เมื่อเติบโตขึ้นก็จะนำประสบการณ์ไม่ดีในวัยเด็กมาใช้ ทำให้เกิดการมองเรื่องความรุนแรงเป็นเรื่องธรรมดา "โครงการยุติความรุนแรง" เพื่อการดูแลสิทธิเด็กและสตรี เตรียมขยายผลสู่ชุมชนทั้ง 50 เขต นางณฐนนท กล่าวว่า นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส จึงได้มอบหมายให้กรุงเทพมหานคร โดยศูนย์อำนวยการด้านเด็กฯ กทม. ดำเนินการเพื่อยุติความรุนแรง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสวัสดิภาพ สวัสดิการให้กับ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ให้มีศักยภาพเท่าทันกับปัญหาและกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตนจึงได้พิจารณาปรับโครงสร้างและ แนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯให้ครอบคลุมและเท่าทันปัญหามากยิ่งขึ้น กระจายลงสู่พื้นที่ชุมชนทั้ง 50 เขต เน้นเครือข่ายการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) องค์กรชุมชน สื่อมวลชน องค์กรต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสของกรุงเทพมหานคร ศูนย์ฯจึงได้จัดทำโครงการนำร่อง "โครงการยุติความรุนแรง" เพื่อการดูแลสิทธิเด็กและสตรี ขึ้น โดยดอนเขตเมืองเป็นเขตนำร่องเขตแรก ซึ่งศูนย์อำนวยการด้านเด็กฯ กทม.ร่วมกับสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ได้จัดให้มีการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เมื่อวันที่ 5 ต.ค. ที่ผ่านมา โดยมีกลุ่มแกนนำชุมชนทั้ง 58 ชุมชนของเขตดอนเมือง จำนวน 250 คน พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ครูอาจารย์ กลุ่มอาสาสมัคร นักสังคมสงเคราะห์ องค์กรภาคเอกชนในพื้นที่เขตดอนเมือง ร่วมประชุมระดมความคิดเห็น ทัศนคติ และมุมมองต่างๆ เพื่อนำไปปรับเป็นแผนและกลยุทธ์ในการดำเนินการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยเน้นชุมชนและอาสมัครจาก 58 ชุมชน เป็นเครือข่ายในการเฝ้าระวัง เป็นแกนกลาง และเป็นศูนย์รับแจ้งปัญหาความรุนแรง ตลอดจนมีส่วนร่วมในกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุกขั้นตอน และมีศูนย์บริการสาธารณสุข 60 เป็นแกนกลางในการประสานและสนับสนุนดำเนินการอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้เมื่อเช้าวันนี้ ( 18 พ.ย.45) ยังจัดให้มีการอบรมอาสาสมัครชุมชนทั้ง 58 ชุมชนของเขตดอนเมืองด้วย ทั้งนี้โครงการนำร่องดังกล่าวนับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น ศูนย์อำนวยการด้านเด็กฯ กทม. จึงจะขยายผลโครงการยุติความรุนแรง ใน 50 เขต โดยจะมีการประชุมเปิดโครงการ/กิจกรรมลงสู่ชุมชนทั้ง 50 เขต ในวันที่ 30 พ.ย.นี้ ณ ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง เพื่อนำเสนอแนวทาง รูปแบบ วิธีทำงาน มอบหมายให้ 50 เขต นำไปปฏิบัติโดยปรับใช้ตามสภาพและสถานการณ์ของแต่ละเขต สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ศูนย์อำนวยการด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสกรุงเทพมหานคร ชั้น 2 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์หมายเลข 0 2221 2141-69 ต่อ 1314 หรือ www.bma.go.th/ccwed หรือหากต้องการคำปรึกษาและแนะนำจากนักสังคมสงเคราะห์ โปรดติดต่อได้ที่ โทร. 0 2644 3344 "ความรุนแรงเริ่มต้นที่ครอบครัว อยากให้ทุกครอบครัวช่วยกันลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับคนในครอบครัว โดยพ่อ แม่ ลูกควรมีเวลาให้กัน พูดคุยกันมากขึ้น อย่าใช้การทุบ ตี ทำร้ายร่างกายและจิตใจเป็นการแก้ปัญหา และขอความร่วมมือช่วยกันสอดส่องดูแลอย่าให้เกิดความรุนแรงขึ้นในชุมชนของเรา" ปลัดกทม.กล่าว--จบ-- -นห-

ข่าวสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ+ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครวันนี้

ไทยพีบีเอส หนุนพลังเครือข่ายสตรี ขับเคลื่อนสร้างพลังพลเมืองไม่ทิ้งผู้หญิงคนทำงานไว้ข้างหลัง

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส ร่วมกับภาคีเครือข่ายสตรี อาทิ สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HomeNet), ฝ่ายกิจกรรมสตรีและเยาวชน สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย, มูลนิธิเพื่อสิทธิแรงงาน, มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม, คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเงินอุดหนุนเด็กเล็กสู่ถ้วนหน้า และขบวนผู้หญิงปฏิรูปประเทศไทย (WeMove) ร่วมกันขับเคลื่อนการทำงาน สร้างพื้นที่ให้เสียงของผู้หญิงและเด็ก

เนื่องในโอกาสครบรอบ 27 ปี วัตสัน ประเทศไท... 'Watsons 27th Anniversary' วัตสันฉลองครบรอบ 27 ปี มุ่งหน้าส่งต่อสิ่งดีๆ สู่สังคมไทย — เนื่องในโอกาสครบรอบ 27 ปี วัตสัน ประเทศไทย ผู้นำร้านเพื่อสุขภาพและคว...

บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) นำโดย นายเม... "ไทยวาโก้" มอบจักรเย็บผ้า สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ — บริษัท ไทยวาโก้ จำกัด (มหาชน) นำโดย นายเมธา สุภากร (ซ้าย) กรรมการบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยีก...

ยัสปาล กรุ๊ป (JASPAL GROUP) เดินหน้าส่งต่... ยัสปาล กรุ๊ป ส่งต่อพลังแห่งการให้ บริจาคผ้าห่มแทนความห่วงใย ให้กับ 5 องค์กรสาธารณกุศล — ยัสปาล กรุ๊ป (JASPAL GROUP) เดินหน้าส่งต่อพลังแห่งการให้ (Power of...

เมื่อเร็วๆ นี้ คุณจินตนา พงษ์ภักดี ผู้อำน... อิมแพ็ค ร่วมมอบสิ่งของจำเป็นแก่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ — เมื่อเร็วๆ นี้ คุณจินตนา พงษ์ภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิ...

คุณปวริศา เพ็ญชาติ (ขวา) กรรมการบริหารฝ่า... UMI x Kloset มอบเงินให้กับสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ — คุณปวริศา เพ็ญชาติ (ขวา) กรรมการบริหารฝ่ายส่งเสริมการขาย บริษัท สหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) หรื...

ในฐานะผู้นำร้านเพื่อสุขภาพและความงามอันดั... วัตสัน ประเทศไทย เฉลิมฉลองวันสตรีสากลผ่านกิจกรรม Watsons Green Ribbon 2023 — ในฐานะผู้นำร้านเพื่อสุขภาพและความงามอันดับหนึ่งของประเทศไทย และความตั้งใจในกา...

ณัฐชรินธร พงศ์สุภาจินตภา (ที่ 3 จากซ้าย) ... วาโก้และเซ็นทรัลพัฒนามอบบรา 1,000 ชิ้น แก่สตรีบ้านพักฉุกเฉิน — ณัฐชรินธร พงศ์สุภาจินตภา (ที่ 3 จากซ้าย) กรรมการบริหาร อินทิรา นาคสกุล (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้อ...