สวทช.เดินหน้าให้ความช่วยเหลืออุตฯขนาดกลาง ดันผู้ประกอบการเป็นนักอุตสาหกรรมแทนพ่อค้า

กรุงเทพฯ--20 ม.ค.--สวทช. โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) สวทช. ประกาศนโยบายปี 46 เน้นให้ความช่วยเหลือ SME ขนาดกลางหวังให้ก้าวทันตลาดโลก ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิตควบคู่บุคลากร พร้อมปั้นผู้ประกอบการให้เป็นนักอุตสาหกรรมมากกว่าพ่อค้าที่มุ่งแต่กำไรทางธุรกิจเพียงอย่างเดียว หลังพบปัญหาปี 45 อุตสาหกรรมขนาดเล็กไม่พัฒนาเท่าที่ควร รศ.ณรงค์ วรงค์เกรียงไกร ผู้อำนวยการโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (ITAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยถึงนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในปีนี้ว่า การดำเนินงานจะเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่วางไว้ ซึ่งจะเน้นอุตสาหกรรม 4 กลุ่มคือ 1.ยานยนต์ 2.เกษตร 3.อาหาร และ 4.อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากที่ผ่านมาการทำงานของโครงการ ITAP จะเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมในเชิงกว้าง แต่ปัจจุบันได้ปรับมาสู่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น การสนับสนุนของโครงการ ITAP เพื่อให้ผู้ประกอบการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต มีการบริหารจัดการที่ดี และนำเครื่องจักรมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แม้ว่าผู้ประกอบการบางรายจะมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีอยู่แล้วก็ตาม แต่กลับไม่นำเครื่องจักรเหล่านั้นมาใช้หรือไม่มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่งผลให้กระบวนการผลิตไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถแข่งขันการตลาดกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ดังนั้นจึงได้นำเสนอทางออกให้กับผู้ประกอบการเหล่านั้น 3 ประการคือ 1.ชี้ทางออกให้ผู้ประกอบการเห็นว่า ควรจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ภายใต้การวางแผนพัฒนาที่ดี 2.พัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมรับสถานการณ์เศรษฐกิจ และ 3.ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายในการช่วยเหลือ SMEs อย่างไรก็ตาม เงื่อนไขการสนับสนุนด้านการเงิน ITAP เพื่อต้องการกระตุ้น และผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมได้ใช้บุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการเพื่อสนับสนุนบริษัทอุตสาหกรรม สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้ ผู้เชี่ยวชาญได้ 2 กรณีคือ 1.การเข้าไปศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น สวทช.ให้การสนับสนุนค่าตอบแทน ไม่เกิน 2 วันต่อกรณี ในอัตรา 3,000 บาท/วัน แก่ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงหลังจากได้รับรายงานการวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น 2.การเข้าไปจัดทำโครงการแก้ไขปัญหา การปรับปรุงหรือพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต โดยสวทช.ให้การสนับสนุนไม่เกินร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในโครงการหรือไม่เกินวงเงิน 500,000 บาท/โครงการ ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายให้ภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของตนเองด้วย ซึ่งพิจารณาจากฐานะทางการเงินของบริษัท ความร่วมมือของบริษัทในการดำเนินโครงการร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ความสามารถในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ โดยการให้มีผู้เชี่ยวชาญไทยเข้าร่วมในโครงการด้วย และความสำเร็จของโครงการ ภายใต้ระยะเวลาดำเนินการโครงการละ 1-12 เดือน "สำหรับเป้าหมายของโครงการ ITAP ในปีนี้ จะมุ่งให้การสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เนื่องจากการมองเห็นว่าพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังขาดนักอุตสาหกรรม มีเพียงผู้ประกอบการที่เป็นพ่อค้าอยู่จำนวนมาก การดำเนินธุรกิจจึงใช้วิธีการซื้อมาขายไป แต่การพัฒนาธุรกิจที่ดีผู้ประกอบการต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล พัฒนาผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพและตรงตามเป้าหมาย สุดท้ายราคาเสนอขายเท่าเดิม นั่นหมายถึงการเป็นผู้ประกอบการที่ดีจะต้องเป็นนักอุตสาหกรรมที่ดีด้วย" รศ.ณรงค์ กล่าว การที่โครงการ ITAP เน้นให้การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลาง เนื่องจากมองว่าอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้มีศักยภาพมากกว่าอุตสาหกรรมขนาดเล็ก รวมทั้งเมื่อพิจารณาจากสถิติการขอการสนับสนุนของผู้ประกอบการในปีที่ผ่านมาจำนวนกว่า 200 ราย พบว่าเข้าข่ายให้การสนับสนุนเพียงประมาณ 100 รายเท่านั้น ซึ่งในจำนวนดังกล่าว 70-80% สามารถดำเนินการภายใต้การสนับสนุนได้อย่างดี ส่วนที่เหลือ 20% ยังมีสภาพคงเดิม--จบ-- -ตม-

ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+ณรงค์ วรงค์เกรียงไกรวันนี้

สคทช. จับมือ สวทช. พัฒนาเทคโนโลยีรับรองพื้นที่ปลอดการตัดไม้ รองรับกฎ EUDR ดันแพลตฟอร์มตรวจสินค้าโภคภัณฑ์ก่อนส่งออก EU

(วันที่ 17 เมษายน 2568) ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคารวิจัยโยธี ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) และ ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "ด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือสำหรับตรวจสอบ และรับรองพื้นที่ตามระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัด

นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความส... นักเรียนไทยคว้ารางวัลนำเสนอโครงงาน จากเวทีประชุมนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ICYS 2025 — นักเรียนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาส...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสว... โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า" — โตโยต้า ร่วมมือ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและสวทช. มอบรางวัลโครงการ "ลด...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูน... TCMA ร่วม Thailand CCUS สู่เป้าหมาย Net Zero 2050 — นายนภดล รมยะรูป อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufacturers Association: TCMA) ร...