หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดนิทรรศการศิลปะ"เรื่องของฮา"

กรุงเทพฯ--12 ก.ค.--หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม ม.เชียงใหม่ นิทรรศการศิลปะ"เรื่องของฮา" นิทรรศการศิลปะเกี่ยวกับภาพเหมือน ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 9-31 สิงหาคม 2545 เปิดนิทรรศการวันศุกร์ ที่ 9 สิงหาคม 2545 เวลา 18.00 น. เสวนากับศิลปิน :ตัวตนกับสาธารณะ วันเปิดนิทรรศการ เวลา 17.00-18.00 น. คัดสรรโดย กฤติยา กาวีวงศ์ "เรื่องของฮา" เป็นนิทรรศการศิลปะโดยศิลปินสี่คน ได้แก่ วสันต์ สิทธิเขตต์, มานิต ศรีวานิชภูมิ, ไมเคิล เชาวนาศัย, และ ลิเลียน ซูมเคมิ พวกเขาทำงานเกี่ยวกับภาพเหมือน ซึ่งเป็นภาพของตนเอง และของเพื่อนศิลปิน ผลงานครั้งนี้ ศิลปินใช้ตัวตนเป็น "สถานที่", เป็นหัวข้อในการทำงาน เพื่อบอกเล่าเรื่องของตนให้แก่สาธารณะชน "เรื่องของฮา"(ฮา เป็นคำแทนตัวเองในภาษาเหนือที่แสดงออกถึงความคุ้นเคยกันในระดับหนึ่ง) เป็นความพยายามที่จะแสดงออกถึงวิธีการที่ความเป็นตนเองโดยแสดงออกด้วยการใช้ภาพเหมือนเป็นสื่อ ในบริบทของนิทรรศการนี้"ภาพเหมือนของศิลปิน"เป็นสิ่งที่ศิลปินได้ทำการบันทึกตัวตนของเขาในช่วงเวลาและสถานที่หนึ่งภาพเหมือนคืองานศิลปะประเภทหนึ่งที่ศิลปินต้องการใช้ตัวเอง หรือ ร่างกายของเขา หรือ เธอเป็นสื่อในการสนทนากับคนดู ทำให้ร่างกายของเขากลายเป็นวัตถุที่ถูกจ้องมองจากสายตาของคนดู มันเป็นการประกาศตนของความเป็นปัจเจกต่อสาธารณะชน ภาพเหมือนสามารถให้คำนิยามได้อีกมากมายตามแต่ความคิดเห็นของแต่ละคน ศิลปินแต่ละคนก็ให้คำนิยามของคำว่าภาพเหมือนต่างกัน แต่สิ่งที่คล้ายคลึงกันอย่างหนึ่งคือการเล่าเรื่องของตนเอง นิทรรศการนี้คือความพยายามในการขยายขอบเขตของการใช้คำนิยามของศิลปิน นิทรรศการประกอบด้วยการทำงานที่หลากหลายทั้งเนื้อหาและเทคนิค ศิลปินที่พูดถึงตนเอง เช่น วสันต์ สิทธิเขตต์ ทำงานโดยการใช้งานจิตรกรรมและดรออิ้ง เป็นสื่อ เช่นเดียวกับไมเคิล เชาวนาศัย ซึ่งใช้ภาพถ่ายและวิดีโอ ผลงานของมานิต ศรีวานิชภูมิใช้ภาพถ่ายของศิลปินด้วยกัน และ ลิเลียน ซูมเคมิ ศิลปินชาวสวิส ทำงานเกี่ยวกับภาพถ่ายจัดวาง ด้วยการถ่ายภาพเสื้อยืดของวสันต์ สิทธิเขตต์ ซึ่งใช้เป็นกระบอกเสียงของเขาในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เกี่ยวกับศิลปิน วสันต์ สิทธิเขตต์ เกิดที่นครสวรรค์ ปี 2500 จบการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป์ กรุงเทพฯ วสันต์ทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1980 ผลงานของเขาเกี่ยวกับการเมืองและสังคม มีส่วนร่วมในการก่อตั้งกลุ่มศิลปินแนวร่วม "อุกกาบาต" และมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและต่อต้านรัฐบาลโดยการทำงานร่วมกับกลุ่มผู้นำ ชุมชนต่างๆ และองค์การเอ็นจีโอ วสันต์มักจะสอดแทรกประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในผลงานจิตรกรรมของเขาซึ่งเกี่ยวกับสังคมที่เสื่อมโทรมพร้อมทั้งตั้งคำถามต่อผู้ชมและผู้มีอำนาจรัฐในเวลาเดียวกัน วสันต์มีผลงานแสดงทั้งเดี่ยวและกลุ่มทั้งในและต่างประเทศปัจจุบันทำงานและอาศัยอยู่ที่นครสวรรค์ มานิต ศรีวานิชภูมิ เกิดที่กรุงเทพ ปี 2504 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร มานิต ทำงานเป็นช่างภาพอิสระให้กับหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ หลายปีก่อนจะพลิกผันมาทำงานศิลปะ ผลงานของเขาเกี่ยวกับเรื่องวิพากษ์สังคมบริโภคนิยมชิ้นที่โดดเด่นคือชุด"พิงค์แมน"เรื่องราวของมนุษย์สีชมพูที่เกิดจากความรู้สึกแปลกแยกของเขาต่อสังคม พิงค์แมนได้บุกรุกและสอดแทรกตัวเองไปในวิถีชีวิตประจำวันของเขาคนทั่วไปทั้งในปัจจุบันและอดีตมานิตมีผลงานแสดงทั้งในและต่างประเทศ ปัจจุบันทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ไมเคิล เชาวนาศัย เกิดที่ฟิลาเดลเฟีย ปี 2507 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านภาพถ่ายจากสถาบันศิลปะซานฟรานซิสโก และปริญญาโทด้าน การแสดงสดจากสถาบันศิลปะชิคาโก ไมเคิลทำงานเกี่ยวกับเรื่องอัตลักษณ์ของตนเองและประเด็นเกี่ยวกับเกย์ผลงานของเขาสะท้อนถึงเสียงของเกย์ในสังคมร่วมสมัยของเอเซียด้วยวิธีการที่เต็มไปด้วยสาระและประชดประชัน ไมเคิลสร้างชื่อเสียงของเขาในวงการศิลปะแนวภาพถ่ายวีดีโอในระดับต่างประเทศเขามีผลงาน ทั้งการแสดงสด ภาพถ่าย และงานภาพยนตร์วีดีโอแสดงตามหอศิลป์ และ เทศกาลภาพยนตร์และวีดีโอทั่วโลก ปัจจุบันเขาทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพฯ ลิเลียน ซูมเคมิ เกิดที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ทำงานแนวศิลปะจัดวาง และ ภาพถ่าย ลิเลียนทำงานร่วมกับวสันต์ สิทธิเขตต์เกี่ยวกับการบันทึก ภาพถ่ายของศิลปินกับผลงานเสื้อยืดของเขาซึ่งเป็นหนึ่งในความเป็นตัวตนของวสันต์ กับกระบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาต่อสังคมและวัฒนธรรม ในปัจจุบัน ปัจจุบันเธอทำงานและอาศัยอยู่ที่กรุงเทพ เกี่ยวกับภัณฑารักษ์ กฤติยา กาวีวงศ์ เกิดที่เชียงราย ปี 2507 การศึกษาระดับปริญญาโทด้านการบริหารศิลปะ จากสถาบันศิลปะชิคาโก เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรศิลปะไม่หวังผลกำไร โปรเจ็ค 304 ที่กรุงเทพ, เทศกาลหนังทดลองกรุงเทพฯ และหนังสือพิมพ์บ่าง ทำงานด้านภัณฑารักษ์เป็นเวลากว่าหกปี และมีผลงานการดูแลการจัดนิทรรศการศิลปะทั้งในและต่างประเทศหลายแห่ง ปัจจุบันทำงานและอาศัย อยู่ที่กรุงเทพ และเชียงใหม่ กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (รายชื่อภาพยนตร์จะแจ้งให้ทราบภายหลัง) ภาพยนตร์ ณ โรงละครหอศิลป์ฯ วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม เสวนากับวสันต์ สิทธิเขตต์ เวลา 14.00 น. และ ฉายภาพยนตร์ที่คัดสรร โดย วสันต์ สิทธิเขตต์ เวลา 15.00 น. วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม เสวนากับลิเลียน ซูมเคมิ เวลา 14.00 น. และ ฉายภาพยนตร์ที่คัดสรร โดย ลิเลียน ซูมเคมิ เวลา 15.00 น. วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม เสวนากับ มานิต ศรีวานิชภูมิ เวลา 14.00 น. และ ฉายภาพยนตร์ ที่คัดสรรโดย มานิต ศรีวานิชภูม เวลา 15.00 น. วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม เสวนากับ ไมเคิล เชาวนาศัย เวลา 14.00 น. และ ฉายภาพยนตร์ ที่คัดสรรโดย ไมเคิล เชาวนาศัย เรื่อง "มนต์รักเพลงสวรรค์" (The Sound of Music) เวลา 15.00 น. หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม เวลา ทำการ 9.00-17.00 น. ทุกวัน เว้นวันจันทร์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์--จบ-- -ปส-

ข่าวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่+มานิต ศรีวานิชภูมิวันนี้

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) ผนึกกำลังจุฬาฯ และมช. หนุนสตาร์ทอัพและธุรกิจด้านเทคโนโลยีของไทยขยายสู่ตลาดอาเซียน

พร้อมสนับสนุนให้ผู้หญิงก้าวเป็นผู้นำในวงการเทคโนโลยี และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (Singapore Management University: SMU) ร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อสนับสนุนระบบนิเวศของธุรกิจสตาร์ทอัพ (Startup) ในประเทศไทย โดยมุ่งส่งเสริมผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจข้ามพรมแดน และผลักดันการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวของสตาร์ทอัพไทยสู่ตลาดอาเซียนขณะที่เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยเติบโตอย่างต่อเนื่อง

"ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเ... "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ต้องเป็น "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" — "ดร.ทวารัฐ" ชี้การพัฒนาเมืองยุคใหม่ ต้องเป็นแบบ "เมืองอัจฉริยะที่ยั่งยืน" ยกกรณีศึ...

นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลาน... โรงพยาบาลลานนา ออกหน่วยตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในงาน Job Fair 2025 จ.เชียงใหม่ — นพ.ดุสิต ศรีสกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลลานนา นำทีมเจ้าหน้าที่พย...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปร... ในหลวง โปรดเกล้าฯ เป็นผู้แทนพระองค์ พระราชทานปริญญาบัตร — พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นผู้แ...

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineeri... AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก — สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...