ม.ธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

กรุงเทพฯ--9 ก.ค.--ม.ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท) แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการระหว่างประเทศ) แด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2544 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2545 วันจันทร์ที่ 29 เมษายน 2545 มีมติทูลเกล้าฯถวายปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แด่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท) แด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการระหว่างประเทศ) แด่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2544 วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2545 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ เป็นอเนกอนันต์ อันเป็นคุณูปการยิ่งแก่พสกนิกรชาวไทยอย่างต่อเนื่องและยาวนาน พระราชกรณียกิจอันหลากหลายสะท้อนให้เห็นถึง พระปรีชาสามารถ และ พระอัจฉริยภาพในศาสตร์ต่างๆ อย่างกว้างขวางและลุ่มลึก ทั้งด้านสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศิลปกรรม เป็นต้น เพื่อบูรณาการสู่การพัฒนาสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ ที่จัดเป็นงานสถาปัตยกรรม เพื่อการพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชน อันประมวลได้โดยสังเขป คือ งานสถาปัตยกรรมเพื่อการ สาธารณสุข งานสถาปัตยกรรม เพื่อการพัฒนาการศึกษา งานพัฒนาสภาพแวดล้อมชุมชนเมือง งานพัฒนาสภาพ แวดล้อมธรรมชาติ งานสถาปัตยกรรมเพื่อการศาสนา การพัฒนาศิลปะ ภูมิทัศน์และ สภาพแวดล้อม ซึ่งทรงมีพระวิสัยทัศน์กว้างไกลในด้านสถาปัตยกรรม เชิงบูรณาการ สมบูรณ์แบบในโครงการจัดสร้างพระพุทธรูป แกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ วัดญาณสังวราราม โดยทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการจัดสร้าง ทรงจุดชนวนระเบิดหน้าผา เพื่อแกะสลักพระพุทธรูปเป็นปฐมฤกษ์ พร้อมทั้งพระราชทาน พระวินิจฉัย ตำแหน่งที่จะทำการวาดภาพลายเส้น องค์พระพุทธรูปด้วยแสงเลเซอร์ และงานสถาปัตยกรรมเพื่อการอนุรักษ์ โดยได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ตลอดจน พระราชทานแนวพระราชดำรินานัปการ ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การวางแผนควบคุม งานก่อสร้างในเชิงอนุรักษ์ และการตกแต่งพระที่นั่งและพระตำหนักของวังต่างๆ ได้แก่ พระที่นั่งอัมพรสถานในพระราชวังดุสิต วังปารุสกวัน วังสวนกุหลาบ และวังศุโขทัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงอุทิศพระองค์ ทรงงานหนักเพื่อประเทศชาติ และพสกนิกรเป็นอเนกประการ ทรงแบ่งเบาพระราชภาระ สนองเบื้องพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในงานด้านการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการพัฒนาชนบท และงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง กับงานเทคโนโลยีชนบท ซึ่งได้แก่ งานด้านการพัฒนาชนบท และงานด้านการศึกษาวิจัย และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ ในการพัฒนาชนบทและอนุรักษ์สภาพแวดล้อม ทรงเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยทรงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ทรงพิถีพิถันและทรงระมัดระวังในการนำเอาวิทยาการใหม่ๆ มาใช้ ทรงศึกษาวิจัยวิธี การทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชนบท ด้วยความสนพระทัย อย่างละเอียดละออ ทรงเลือกแต่สิ่งที่จะก่อประโยชน์อย่างแท้จริง และอยู่ในวิสัยที่ ประเทศของเราจะดำเนินการได้ จะทรงดำเนินการทดสอบความเป็นไปได้ด้วยพระองค์ เอง ได้เสด็จฯ ออกสำรวจพื้นที่โดยมิได้ทรงแสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย และย่อท้อ แม้แต่น้อย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศโดยตรง ทั้งยังทรงใช้เทคโนโลยี การสำรวจข้อมูล ด้วยดาวเทียมมาวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ให้ลึกซึ้งกว้างขวาง และได้ผลมากยิ่งขึ้น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ได้เสด็จเยือนประเทศต่างๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกา อาฟริกา เอเชีย และ ตะวันออกกลาง โดยการเสด็จเยือนแต่ละครั้ง ได้ช่วยส่งเสริมสัมพันธไมตรี กระชับความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ ให้แน่นแฟ้นใกล้ชิดกัน ยิ่งขึ้น อีกทั้งยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้นำ และพบปะกับประชาชนของประเทศ เหล่านั้น ให้มีความเข้าใจประเทศไทยมากยิ่งขึ้น และยังได้ทรงแนะนำให้คนไทย ได้รู้จักประเทศต่างๆ เหล่านั้นในฐานะมิตรประเทศ โดยผ่านสื่อต่างๆ ทั้งทางโทรทัศน์ และทางหนังสือ โดยภายหลังการเสด็จเยือนต่างประเทศหลายครั้ง ได้ทรงนิพนธ์เรื่องราว ที่ได้พบเห็น บางครั้งได้ให้นักวิชาการและผู้ตามเสด็จไปค้นคว้าข้อมูล และรวบรวม จัดทำเป็นหนังสือสารคดี ที่มีคุณประโยชน์อย่างยิ่ง ในวงวิชาการด้านต่างประเทศ อาทิ 1 โหลในเมืองจีน ยูนาน Yunnan สายธารอารยธรรมจีน : 7 ธานีแห่งอาณาจักรกลาง จากโคริโอสู่โคเรีย 8 วันในสาธารณารัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เป็นต้น เพื่อช่วยให้เข้าใจสภาพสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ มากขึ้น ทั้งยังใช้เป็นเอกสารในการเรียนการสอน ทางด้านการต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ ที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังมีมติมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ดังต่อไปนี้ 1. ศาสตราจารย์ มารุต บุนนาค นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 2. ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3. นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 4. Dr. Hans Kappe ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 5. อาจารย์ แพทย์หญิง สมบูรณ์ เกียรตินันทน์ แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 6. รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง พัชรา วิสุตกุล แพทยศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ศาสตราจารย์ มารุต บุนนาค เป็นศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการยอมรับเป็นแบบอย่าง ของการประพฤติปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต ในหน้าที่อย่างดียิ่ง มีความสามารถ จนเป็นที่ยอมรับในวงการวิชาชีพทนายความ และเป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนความสามารถ ในการดำเนินงาน ขณะดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมือง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรม ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานรัฐสภา อันก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนา การทางด้านกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่สำคัญหลายประการ ท่านได้ แต่งตำราที่มีมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับ ในวงวิชาการด้านกฎหมาย โดยเฉพาะ ตำราว่าด้วยวิชาการว่าความและศาลจำลอง ซึ่งท่านได้เป็นผู้บรรยายวิชาดังกล่าวนี้ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยอื่นๆ และในสำนักอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภา ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลานาน ศาสตราจารย์ คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์มาโดยตลอด นับตั้งแต่เป็นนักศึกษา อาจารย์ คณบดี รองอธิการบดี อธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีหญิงคนแรก ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และของประเทศไทย โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในสมัย ของท่าน นับว่าเป็นการเริ่มต้นของยุคเร่งรัดพัฒนา และการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ มีการวางรากฐานการขยายตัว ทางด้านวิทยาการให้ครอบคลุม ทั้งทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี รวมถึงการก่อตั้งโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียติ ในปี 2530 โดยไม่ได้งบประมาณจากทางรัฐบาล แต่อาศัยพลังจาก ศิษย์เก่าและสาธารณชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธา ท่านได้รับเลือกให้เป็นสตรีวิชาชีพตัวอย่าง โดยสมาพันธ์สตรีนักธุรกิจแห่งประเทศไทยในปี 2527 ปัจจุบันท่านดำรงตำแหน่ง กรรมการ ในคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) และประธานอนุกรรมการ พิจารณาร่างระเบียบการบริหารงาน ของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในด้านการ บริหารทั่วไป นายบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเครือสหพัฒน์ โดยในปี 2542 ได้รับประกาศเกียรติคุณนักการตลาดดีเด่นแห่งปี 2541 จากนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ ชวน หลีกภัย และได้รับรางวัล "PRIME MINISTER' S TRADE AWARD" พ.ศ.2541 จากนายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น Mr. Keizo Obuchi ด้วยผลงานดีเด่น ด้านการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกัน ทางการค้าระหว่างประเทศ ท่านดำรง ตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษาสถาบันการศึกษาเอเซีย-แปซิฟิก จากมหาวิทยาลัย วาเซตะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2540-ปัจจุบัน และเป็นผู้ริเริ่มกลยุทธ์ การบริหารจัดการธุรกิจ ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 โดยจัดทำโครงการ THAILAND BEST เพื่อสร้างการรับรู้และทำให้ผู้บริโภคภูมิใจ ที่มีส่วนช่วยชาติทุกครั้งที่ใช้สินค้า ที่ผลิตในประเทศไทย กระตุ้นให้คนไทยมีความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าของไทย ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถตลอดจนกลยุทธ์ ในการบริหารและดำเนินธุรกิจมากว่า 50 ปี จนได้รับการยกย่องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร จัดการธุรกิจทั้งภาค อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการค้าระหว่างประเทศ สามารถชักนำชาวต่างชาติ จากประเทศที่มีเทคโนโลยี ในการผลิตสินค้าชั้นนำมาลงทุน ตั้งโรงงานผลิต ในประเทศไทย Dr. Hans Kappe สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ในสาขาวิชาการศึกษา นอกโรงเรียน จากมหาวิทยาลัยแห่งเมืองมึนสเตอร์ ประเทศเยอรมนี ได้ให้ความ เกื้อหนุนภาควิชาภาษาเยอรมัน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ ได้เดินทางมาช่วยสอน ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยไม่รับค่าสอนแต่อย่างใด และเมื่อได้รับคัดเลือกจากองค์กร DAAD ให้มาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ตั้งแต่ปี 2526 Dr.Hans ได้พยายามจัดหาสิ่งจำเป็นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ให้แก่ภาควิชา ภาษาเยอรมัน อาทิ การซ่อมสร้างและก่อตั้งศูนย์เยอรมัน (เก๋งจีน) เพื่อเป็นสถานที่ พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างนักศึกษาไทยและนักศึกษาเยอรมัน จัดหาหนังสือและโสตทัศนูปกรณ์ สอนพิเศษให้แก่นักศึกษาเพื่อสอบชิงทุนต่างๆ ของประเทศเยอรมนี ช่วยหาสถานที่ฝึกงานให้แก่นักศึกษา และยังขอทุนสนับสนุน จากรัฐบาลเยอรมัน เพื่อพานักศึกษาไปทัศนศึกษาด้านอารยธรรมเยอรมัน ที่ประเทศเยอรมนี โดยนักศึกษาเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด อาจารย์ แพทย์หญิงสมบูรณ์ เกียรตินันทน์ ได้อุทิศตนให้กับงานบริการประชาชน และการพัฒนาวิชาการในทุกจังหวัดที่รับราชการ ได้รับเลือกจากแพทย์ใช้ทุนให้เป็น ครูแพทย์สตรีดีเด่น ในปี 2524-2527 ตลอดเวลา 4 ปีที่มีการคัดเลือก ได้รับยกย่อง ให้เป็นแพทย์สตรีดีเด่น จากสมาคมแพทยสตรีแห่งประเทศไทย ประจำปี 2528 และในปี 2532 ได้รับเลือกให้มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ โดยท่านได้พัฒนาโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ จัดทำโครงการจัดตั้งคณะต่างๆ ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยการใช้ปัญหาเป็นแกน ชุมชนเป็นฐาน จนได้รับอนุมัติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขึ้นในปี 2533 ส่วนงานวิชาการระดับนานาชาติ ท่านได้รับเกียรติจากองค์การอนามัยโลก เชิญให้เป็นที่ปรึกษาระยะสั้น ด้านมาเลเรียในหญิงมีครรภ์ ได้รับเชิญจากไจก้า ให้ไปเป็นที่ปรึกษาระยะสั้น ในการพัฒนาบุคลากรและชุมชนที่มหาวิทยาลัยฮาซานูดิน และชุมชนซูลาเวซี่ใต้ ประเทศอินโดนีเซีย ได้รับเชิญไปบรรยายผลการวิจัย และพัฒนา การอนามัยแม่และเด็กและชุมชน จากสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศนิวซีแลนด์ และสมาคมแพทย์โรคหัวใจของประเทศญี่ปุ่น รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง พัชรา วิสุตกุล ได้อุทิศตนให้แก่งานการเรียน การสอนและงานวิจัย โดยงานวิจัยที่สำคัญ ได้แก่ งานวิจัยเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และต่อมใต้สมองในคนปกติและในคนที่ผิดปกติจากโรค ต่างๆ งานวิจัยการพัฒนาวิธีการตรวจหาฮอร์โมนเพศ งานวิจัยชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านม ตรวจหา Sex Hormone Receptor ที่ช่วยในการพยากรณ์โรค และช่วยในการรักษา มะเร็งเต้านมให้ถูกต้อง และงานวิจัยสมุนไพรไทย เทศ ที่มีผลในการคุมกำเนิด ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ทั้งในสัตว์และในคน โดยหลังจากเกษียณอายุราชการ จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2535 ได้มาช่วยปฏิบัติ ราชการ การเรียนการสอน เต็มเวลาที่สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี 2542 ได้ร่วมเปิดคลินิกพิเศษรักษาสตรีวัยทองให้บริการ แก่ผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ และได้ร่วมทำงานวิจัย เรื่อง ความหนาแน่น ของกระดูกในชายหญิงปกติ และในสตรีวัยทอง และร่วมเขียนตำราสูตินรีเวช กับคณาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์--จบ-- -นห-

ข่าวสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ+ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์วันนี้

ชีวานันท์ จัดกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมแห่งการแบ่งปัน ในงานการกุศล "Bangkok Chef Charity 2025"

อิ่มใจมีความสุขในกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมแห่งการแบ่งปัน ในงานการกุศล "Bangkok Chef Charity 2025" ประจำปี 2568 ครั้งที่ 12 ในวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2568 นำโดย คุณนันทิยา อินทรลิบ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชีวานันท์ จำกัด ร่วมกับเชฟชั้นนำ เชฟชื่อดังจากเกาะฮ่องกง และ เชฟรางวัลมิชลินจากร้านดัง จำนวน 29 คน มารวมตัวรวมใจกันรังสรรค์เมนูสุดพิเศษ ณ ห้องสกุณตลา บอลรูม โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานการจัดงาน Bangkok Chef

ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สมาคมกีฬาจักรยานแห่งปร... ไทยพีบีเอสถ่ายทอดสด การแข่งขันจักรยานทางไกลนานาชาติ "Tour of Thailand 2025" — ไทยพีบีเอส ร่วมกับ สมาคมกีฬาจักรยานแห่งประเทศไทย เชิญชมการแข่งขันจักรยานทางไ...

การมีโอกาสดำรงชีวิตในมาตรฐานที่ดีของสังคม... ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาผู้พิการ เติมน้ำใจให้น้องตาบอด — การมีโอกาสดำรงชีวิตในมาตรฐานที่ดีของสังคม เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ยังมีกลุ่มคนบางก...

เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัต... เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เดือนมีนาคมนี้ — เวทีการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เดือนมีนาคมนี้ พบกับการแสดงอันทรงคุ...

คณะบุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ปัญญ... ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ศปช. มศว ลงพื้นที่ปฏิบัติงานหน่วยแพทย์พระราชทานฯ จ.แม่ฮ่องสอน — คณะบุคลากรทางการแพทย์ของศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทย...

นางสาวศตกมล วรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื... เอ็ม บี เค รับโล่รางวัลสนับสนุนการประกวดวงโยธวาทิต กรมพลศึกษา — นางสาวศตกมล วรกุล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท อินเทลลิเจ้นท์ ครีเอทีฟ แอนด์ ...