กรุงเทพฯ--22 ก.ค.--ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สรุปผลประกอบการไตรมาสสองของปี 2545
ธนาคารไทยพาณิชย์ แจ้งผลประกอบการเบื้องต้นสำหรับไตรมาสสองของปี 2545 ก่อนการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอิสระ ธนาคารมีผลกำไรก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ จำนวน 2,875 ล้านบาท ลดลงเมื่อเทียบกับ 3,426 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1 แต่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับ 2,244 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 สำหรับงวดครึ่งปีแรกของปี 2545 ธนาคารมีกำไรก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 6,301 ล้านบาท เทียบกับ 4,640 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปีก่อน
ในไตรมาสนี้ ธนาคารยังคงนโยบายระมัดระวังด้วยการตั้งสำรองส่วนเกินเพิ่มเติมโดยได้ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 2,512 ล้านบาท ทำให้มีกำไรสุทธิจำนวน 363 ล้านบาทเทียบกับ 327 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1 ของปี 2545 และ 546 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ของปีก่อน
รายการที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. รายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิ
ธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิจากดอกเบี้ยจ่ายในไตรมาสนี้ จำนวน 4,345 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ 4,138 ล้านบาทและ 3,974 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปีนี้และไตรมาสสองของปีก่อนตามลำดับ โดยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 2.36 ในไตรมาสก่อนเป็นร้อยละ 2.40 ในไตรมาสนี้ ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ธนาคารลดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมและดอกเบี้ยเงินฝากลงในเดือนธันวาคม 2544 และกุมภาพันธ์ 2545 ประกอบกับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากปรับตัวดีขึ้น
2. รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย
ธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้จำนวน 2,172 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 614 ล้านบาทจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 1,558 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักดังนี้
อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อย/ร่วมลดลงจำนวน 102 ล้านบาทเนื่องจากการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของบริษัทย่อยบางบริษัทแม้ว่าบริษัทย่อยส่วนใหญ่จะยังคงมีกำไรที่ดีอย่างต่อเนื่องก็ตาม
เมื่อเทียบกับไตรมาสหนึ่งของปี 2545 ในไตรมาสนี้ รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงจำนวน 293 ล้านบาทส่วนใหญ่เป็นผลจากกำไรจากเงินลงทุนลดลง 332 ล้านบาท ขณะที่รายได้จากการดำเนินธุรกิจประกอบด้วย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ กำไรจากการปริวรรตและรายได้อื่นมีจำนวน 1,857 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากจำนวน 1,826 ล้านบาท ในไตรมาสก่อน
3. ค่าใช้จ่ายที่มิใช่ดอกเบี้ย
ธนาคารมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานในไตรมาสนี้ จำนวน 3,311 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 และ 0.7 จาก 3,177 ล้านบาทและ 3,289 ล้านบาทในไตรมาสหนึ่งของปีนี้และไตรมาสสองของปีก่อนตามลำดับ โดยธนาคารยังสามารถควบคุมอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้จากการดำเนินงาน (Cost to operating income ratio) ในไตรมาสนี้ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนคือร้อยละ 53.4 ซึ่งลดลงจากร้อยละ 60.0 ในไตรมาสที่สองของปีที่แล้ว
ในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์รอการขายจำนวน 330 ล้านบาท
4. ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์
ธนาคารมีนโยบายระมัดระวังในการจัดการด้านคุณภาพสินทรัพย์ ในไตรมาสนี้ ธนาคารจึงยังคงตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมจำนวน 2,512 ล้านบาท เป็นผลจากการจัดชั้นลูกหนี้อย่างเข้มงวดและตั้งสำรองส่วนเกินเพื่อป้องกันการเสื่อมค่าของสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
การตั้งสำรองอย่างต่อเนื่องทำให้อัตราส่วนสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อเงินให้สินเชื่อของธนาคารเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 12.5 ณ สิ้นไตรมาสแรกเป็นร้อยละ 13.0 ณ สิ้นไตรมาสนี้
งบดุล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2545
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกการตัดจำหน่ายค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันสำรองครบแล้ว ทำให้สินเชื่อของธนาคารจำนวน 35,112 ล้านบาทที่ถูกตัดจำหน่ายไปพร้อมกับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้รับการกลับรายการในไตรมาสแรกของปีนี้เสมือนหนึ่งไม่ได้ถูกตัดจำหน่าย ซึ่งมีผลทำให้ยอดสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากสาเหตุนี้จำนวน 35,112 ล้านบาทและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้เพิ่มขึ้นด้วยในจำนวนเดียวกัน
ดังนั้น หลังการปรับปรุงตัวเลขแล้ว ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2545 ธนาคารมีเงินให้สินเชื่อ 483,595 ล้านบาท สำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 62,623 ล้านบาท มีสินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) จำนวน 423,378 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2544 จำนวน 11,604 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.7 สาเหตุหลักเกิดจากการตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มในปีนี้จำนวน 5,611 ล้านบาทและจากการโอนขายหนี้จำนวน 3,510 ล้านบาท (มูลค่าทางบัญชีสุทธิ)ให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยเพิ่มเติมในไตรมาสแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา สินเชื่อและดอกเบี้ยค้างรับสุทธิมีจำนวนสูงขึ้น 945 ล้านบาท
ธนาคารมียอดเงินฝาก 601,043 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2544 จำนวน 53 ล้านบาท ขณะที่ลดลงจากไตรมาสแรก 6,803 ล้านบาท (ร้อยละ 1.1) ทำให้สัดส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 79.0 ณ สิ้นไตรมาสแรกเป็นร้อยละ 80.5 ในไตรมาสนี้ธนาคารมีส่วนของผู้ถือหุ้น 65,267 ล้านบาทมีเงินกองทุนตามกฎหมาย (ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 2) รวม 75,968 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 16.4 ของสินทรัพย์เสี่ยง ซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนชั้นที่ 1 ประมาณร้อยละ 10.5 ของสินทรัพย์เสี่ยง
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
ธนาคารมียอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ซึ่งรวมรายการระหว่างธนาคารและตลาดเงิน ณ สิ้นมิถุนายน 2545 จำนวน 82,821 ล้านบาท หรือร้อยละ 18.2 ของสินเชื่อรวม ลดลงจาก 87,518 ล้านบาท (ร้อยละ 18.8) ณ สิ้นไตรมาสแรก เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างหนี้มากขึ้นในไตรมาสสอง
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
19 กรกฎาคม 2545
เอกสารแนบ
ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ยกเลิกการตัดจำหน่ายค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้จัดชั้นสงสัยจะสูญที่ได้กันสำรองครบแล้ว ซึ่งยอดสินเชื่อและสำรองหนี้สงสัยจะสูญก่อนและหลังการปรับปรุงตัวเลขตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย รายไตรมาสของปี 2544 และ 2545 มีดังนี้
(หน่วย: ล้านบาท)
ก่อนการปรับปรุงตัวเลข
หลังการปรับปรุงตัวเลข
สินเชื่อ
สำรอง
สินเชื่อ
สำรอง
ไตรมาส 1/2544
481,755
24,146
517,119
59,510
ไตรมาส 2/2544
472,162
24,105
508,985
60,928
ไตรมาส 3/2544
467,750
22,408
507,226
61,884
ไตรมาส 4/2544
456,267
23,535
491,379
58,647
ไตรมาส 1/2545
445,029
25,017
480,141
60,129
ไตรมาส 2/2545
448,486
27,511
483,598
62,623--จบ--
-ศน-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit