กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษา

20 Aug 2002

กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--พีซี แอนด์ แอสโซซิเอทส์ คอนซัลติ้ง

หวังสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง , สมาคมทรัพย์สินทางปัญญา แห่งประเทศไทย, สมาคมอุตสาหกรรมรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงไทย, สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา และ บริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์เปอเรชัน ร่วมให้การสนับสนุน

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ จับมือหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษา ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ให้กับนักศึกษาภาควิชากฎหมายตามโครงการ "Pathways for Legal Excellence" ภายใต้หัวข้อ "ทรัพย์สินทาง ปัญญา"

โครงการประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษาครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดขึ้น เพื่อเป็นการสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา โดยในส่วนของการประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษานี้นับเป็นครั้งแรกที่จัดให้มีขึ้น โดยได้รับความ สนใจและร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้การสนับสนุนร่วมเป็นเจ้าภาพและคณะกรรมการตัดสินอาทิ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศกลาง , สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย, สมาคมอุตสาหกรรมรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงไทย, สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา และบริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์เปอเรชัน

นายยรรยง พวงราช อธิบดี กรมทรัพย์สินทางปัญญากล่าวว่า "กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีบทบาทหน้าที่ในการปกป้องและคุ้มครองทรัพย์สิน ทางปัญญา และหนึ่งในกิจกรรมหลักคือการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประชาชน การจัดให้มีการประกวดแต่ง เรียงความชิงทุนการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนานักกฎหมายรุ่นใหม่ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยในครั้งแรกนี้ เราจะเริ่มจากนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรี) ที่เรียนวิชาเอกทางด้านกฎหมาย (นิติศาสตร์) ผู้เข้าประกวดสามารถรับเอกสารและราย ละเอียดต่างๆ ได้จากคณบดีฯ คณะนิติศาสตร์ เรียงความจะมีความยาว 4 - 6 หน้า โดยเลือกเขียนหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งจาก 5 หัวข้อ กิจกรรมนี้เริ่ม ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม ถึง 20 กันยายนนี้ เป็นเวลา 1 เดือน"

นายยรรยง กล่าวเสริมว่า "การตัดสินจะพิจารณาหลักไวยากรณ์ไทยและสาระสำคัญที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหลัก คณะกรรมการ ตัดสินประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านภาษาและกฎหมาย และผู้ให้การสนับสนุนร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินด้วยเช่นกัน เงินรางวัลจะ แบ่งเป็น 3 รางวัลประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ รองชนะเลิศอันดับหนึ่งและรองชนะเลิศอันดับสอง เงินรางวัลทั้งสิ้นรวม 48,000 บาท และ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้อนุเคราะห์มอบซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องให้กับผู้ชนะอีกรางวัลละ 1 ชุดด้วยเช่นกัน โดยเราจะประกาศผลการ ตัดสินและแจกรางวัลในวันที่ 25 ตุลาคม ศกนี้ นอกจากนั้นเรายังจะจัดให้มีการสัมมนาทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาในวันประกาศและมอบรางวัลด้วย เช่นกัน"

นายชาญวิทย์ รักษ์กุลชน อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กล่าวว่า "ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลาง เป็นศาลชำนาญพิเศษที่พิจารณาพิพากษาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะ มีวิสัยทัศน์และ พันธกิจประการหนึ่งที่สำคัญ คือ การเป็นองค์กรในการอำนวยความ ยุติธรรมที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับสูงสุดและเป็นศูนย์ข้อมูล ทางวิชาการการฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จึงขอให้การสนับสนุน การจัดกิจกรรม ในครั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่มีความสร้างสรรค์และยังช่วยพัฒนาบุคลากรทางด้านกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯจะทำหน้าที่เป็นหนึ่งในคณะกรรมการตัดสินการประกวดด้วยเช่นกัน"

นายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ นายก สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวสนับสนุนว่า "สมาคมฯ ยินดีที่ได้ร่วมสนับสนุนกิจกรรมนี้ ทรัพย์สินทาง ปัญญา นับเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ตัวอย่างการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการทำธุรกิจต่างๆ สามารถนำมาเป็นตัวอย่างของการพัฒนา และสร้างสรรค์งานที่เกิดจากสมองและเป็นทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้เวลา ความคิดสร้างสรรค์ การทดลอง และเงินลงทุนในช่วง ของการพัฒนา และเมื่อทำการทดสอบได้รับผลที่น่าพอใจแล้ว จึงจะสามารถนำออกสู่ตลาดได้ ซึ่งระยะเวลาที่ใช้อาจจะเร็วหรือช้า ขึ้นอยู่กับชิ้นงานนั้น

ความคิดสร้างสรรค์และเวลาที่ใช้นั้นมีมูลค่ามหาศาล พึงได้รับการปกป้องและคุ้มครอง ในฐานะทรัพย์สินทางปัญญา"

นายธีรพล สุวรรณประทีป นายก สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "รัฐบาลและเอกชนควรให้ความสำคัญกับทรัพย์สิน ทางปัญญา และสนับสนุนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในวงกว้าง กิจกรรมนี้นับเป็นกิจกรรมที่ดีกิจกรรมหนึ่งที่มุ่งเน้นที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทรัพย์สินทางปัญญาอาจจะยังเป็นเรื่องใหม่กับคนหลายๆ กลุ่ม แต่ความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญามีมานานแล้ว เพียงแต่เรา ไม่ตระหนักถึงเท่านั้น สมาคมฯ มีบทบาทในการที่จะช่วยผลักดันให้สังคมมีการรับรู้และเคารพทรัพย์สินทางปัญญาด้วยเช่นกัน"

นายคริสโตเฟอร์ ออสติน นักกฎหมายอาวุโสประจำองค์กร ไมโครซอฟท์ คอร์เปอเรชันกล่าวเสริมว่า "ไมโครซอฟท์มีนโยบายที่จะให้ การสนับสนุนการศึกษาในหลายกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาและกรอบกฎหมายที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

การประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษาครั้งนี้เป็นอีกก้าวหนึ่งของการสนับสนุนให้เยาวชนของชาติตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญา นักศึกษาเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญต่อการกำหนดนโยบายต่างๆ หรือเป็นนักกฎหมายที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้น เราจึงมีความยินดีที่จะมอบทุน การศึกษาภายใต้โครงการ "Pathways for Legal Excellence" ให้กับนักศึกษาที่ชนะการประกวดครั้งนี้"

นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ ผู้อำนวยการสมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกากล่าวสนับสนุนว่า "การมีระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ แข็งแกร่งจะสร้างความมั่นใจให้กับการลงทุนจากต่างประเทศต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก คงไม่มีใครอยากจะลงทุนหากรู้ว่าเขาจะถูกลักลอบหรือ ขโมยผลงาน สมาคมฯ ยินดีที่จะให้การสนับสนุนการพัฒนานักกฎหมายไทยยุคใหม่ และอยากเห็นบทบาทของนักศึกษาไทยกับปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์"

นายพิเศษ จียาศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงไทย กล่าวว่า "การสร้างนักศึกษากฎหมายที่มีคุณภาพนับว่าเป็นสิ่ง จำเป็นสำหรับประเทศไทย เพราะการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันและอนาคต ให้ความสำคัญกับการให้ความเคารพทรัพย์สินทางปัญญาเป็นอย่างมาก

หากเรามีคนที่มีคุณภาพและพัฒนาคนเหล่านั้นให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นการช่วยพัฒนาประเทศไทยด้วยเช่นกัน สมาคมฯ มีความยินดีที่จะให้การสนับสนุน กิจกรรมนี้"

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์

เลขานุการโครงการฯ

โทรศัพท์ 0-2955-7771

โทรสาร 0-2521-9030

อีเมล์ [email protected]

รายละเอียดการสมัครและคัดเลือก

โครงการการประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษา

หัวข้อ "ทรัพย์สินทางปัญญา"

โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง,

สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย,

สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งบันทึกเสียงไทย, สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา และ ไมโครซอฟท์ คอร์เปอเรชั่น

ระยะเวลาการแข่งขัน 21 สิงหาคม ถึง 20 กันยายน 2545

***************************************

รางวัลสำหรับผู้ชนะ 3 รางวัลได้แก่: รางวัลที่ 1:

ทุนการศึกษา 20,000 บาท รางวัลที่ 2:

ทุนการศึกษา 16,000 บาท รางวัลที่ 3:

ทุนการศึกษา 12,000 บาทซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศพร้อมลิขสิทธิ์รางวัลละ 1 ชุด

*********************************

ขั้นตอนสำหรับกระบวนการคัดเลือกเรียงความ

1. หัวข้อเรียงความมีทั้งหมด 5 หัวข้อ ผู้สมัครสามารถเขียนเรียงความเข้าประกวดจากหัวข้อเหล่านี้ได้ตั้งแต่ 1 หัวข้อขึ้นไป

หัวข้อเรียงความ a) การละเมิดลิขสิทฺธิ์ซอฟต์แวร์กับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา b) การขยายขอบข่ายกฎหมายสารสนเทศแห่งชาติให้คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา c) การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญากับธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

(e-commerce) d) กฎหมายลิขสิทธิ์กับการพัฒนาประเทศ e) บทบาทของนักศึกษากับการละเมิดลิขสิทธิ์

2. การแข่งขันจำกัดเฉพาะสำหรับเรียงความ 200 ชิ้นแรก ที่ได้ส่งถึงคณะกรรมการเป็นที่เรียบร้อย และมีคุณสมบัติเป็นไปตามข้อกำหนดของคณะ กรรมการ

2.1 การแข่งขันนี้เฉพาะสำหรับนักศึกษาภาควิชากฎหมาย ระดับปริญญาตรีเท่านั้น

2.2 หากได้รับเรียงความภายในระยะเวลาที่กำหนดมากเกินกว่า 200 ชิ้น จะให้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันเฉพาะเรียงความ 200 ชิ้นแรก ที่ได้ส่งถึงเลขานุการของคณะกรรมการเป็นที่เรียบร้อย

2.3 ผู้สมัครแต่ละคนมีสิทธิ์ส่งเรียงความเพียงหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งหัวข้อ หากผู้ใดส่งเรียงความมากเกินกว่าหนึ่งชิ้นในหัวข้อเดียวกัน ให้รับเฉพาะผลงานชิ้นแรกเท่านั้น (ดูตามวันประทับรับจากไปรษณีย์) ส่วนชิ้นอื่นๆ ที่เหลือจะไม่ได้รับการพิจารณา และจะถูกส่งคืน

2.4 เรียงความจะต้องเขียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์อย่างถูกต้อง หากพบว่าผู้สมัครคนใดใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในการ แต่งเรียงความ จะถูกตัดออกจากการแข่งขันโดยอัตโนมัติ

2.5 ครอบครัว ตัวแทน ที่ปรึกษา และลูกจ้างของคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา, ศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลาง, สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย, สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย, สมาคมอุตสาหกรรมสิ่ง บันทึกเสียงไทย, สมาคมผู้สร้างภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา และบริษัท ไมโครซอฟท์ คอร์เปอเรชัน จะไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันโดยเด็ดขาด

2.6 เรียงความที่ได้รับหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดจะถูกตัดออกจากการแข่งขันและถูกส่งคืนโดยอัตโนมัติ เลขานุการคณะกรรมการ จะลงบันทึกวันที่และเวลาที่ได้รับเรียงความแต่ละชิ้น และจะถือเป็นหลักฐานที่ไม่อาจโต้แย้งได้ในเรื่องของวันที่และเวลาของการรับเรียงความนั้นๆ

2.7 ผลการคัดเลือกเบื้องต้นโดยเลขานุการคณะกรรมการดังรายละเอียดข้างต้นถือเป็นที่สิ้นสุด

2.8 ลิขสิทธิ์ของเรียงความที่ได้รับรางวัลจากการประกวดครั้งนี้ ตกเป็นของคณะผู้จัดการประกวดแต่เพียงผู้เดียว 3. เรียงความแต่ละชิ้นจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปดังต่อไปนี้

3.1 มีความยาวอย่างน้อย 4 หน้า และไม่เกิน 6 หน้า กระดาษ A4 แต่ละหน้าจะต้องระบุหมายเลขหน้าตามตัวอย่างต่อไปนี้: หากมีทั้งหมด 4 หน้า ให้ระบุว่า หน้า 1/4, 2/4 เป็นต้นหากมีทั้งหมด 6 หน้า ให้ระบุว่า หน้า 1/6, 2/6 เป็นต้น

3.2 เรียงความจะต้องพิมพ์เป็นภาษาไทย บนกระดาษขนาด A4 สีขาวเท่านั้น

3.3 แบบอักษรที่ใช้ต้องเป็น Angsana (ขนาด 18) หรือ Browalia (ขนาด 18) โดยตั้งระยะห่างบรรทัด 1.5

3.4 ตั้งขอบกระดาษด้านบน 1 นิ้ว, ด้านล่าง 1 นิ้ว, ด้านซ้าย 1.5 นิ้ว และด้านขวา 1 นิ้ว

3.5 ผู้สมัครจะต้องแนบใบสมัครที่ได้รับจากฝ่ายธุรการของโรงเรียน โดยจะต้องระบุรายละเอียดต่อไปนี้อย่างชัดเจนในใบสมัคร:

3.5.1 ชื่อเรียงความ

3.5.2 ชื่อผู้แต่ง

3.5.3 หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน

3.5.4 ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อ

3.5.5 ปี/ระดับชั้นการศึกษา

3.5.6 คณะ/มหาวิทยาลัย

3.5.7 คำรับรองจากคณบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายว่าผู้สมัครเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยตามที่ระบุไว้จริง

3.5.8 คำยืนยันว่าท่านได้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายในการแต่งเรียงความ หากท่านไม่ได้ระบุคำยืนยันดังกล่าว

(ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม) ท่านจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันโดยอัตโนมัติ 4. ห้ามระบุหรืออ้างอิงชื่อ หมายเลขประจำตัว หรือสถาบันการศึกษาของผู้สมัครไว้ในส่วนหนึ่งส่วนใดของเรียงความ หากพบว่ามีการใส่ชื่อหรือ ข้อมูลที่แสดงตัวตนของผู้สมัครไว้ในเรียงความ ผู้สมัครคนดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิ์ออกจากการแข่งขันโดยอัตโนมัติ 5. เลขานุการคณะกรรมการจะเก็บรวบรวมและลงบันทึกเรียงความต้นฉบับที่ได้รับจากผู้สมัครแต่ละคน รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในแฟ้มเฉพาะ

5.1 ชื่อเรียงความและชื่อผู้สมัครจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล โดยจะระบุหมายเลขรหัสตามลำดับของการรับและอนุมัติเรียงความแต่ละชิ้น

5.2 ใบสมัครจะต้องถูกแยกออกจากเรียงความ และใส่หมายเลขรหัสเดียวกันไว้ที่มุมบนขวาในแต่ละหน้าของเรียงความ เฉพาะเรียง ความเท่านั้นจะถูกถ่ายสำเนา และส่งให้คณะกรรมการฯ เพื่อตัดสินและให้คะแนน 6. คณะกรรมการที่ทำการตัดสินจะแบ่งออกเป็น 3 ชุด ประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการใช้ภาษาและกฎหมาย คณะกรรมการ กลางและคณะกรรมการตัดสินกิตติมศักดิ์ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำในการตัดสินรอบสุดท้ายด้วยเช่นกัน

6.1 คณะกรรมการตัดสินจะต้องกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์มการประเมินผล และส่งให้เลขานุการฯ เก็บรวบรวมไว้ในซองปิดผนึกเมื่อ สิ้นสุดระยะเวลาการตรวจเรียงความ 7. การให้คะแนนเรียงความอยู่ในช่วง 1-10 คะแนน โดย 10 เป็นคะแนนสูงสุดลำดับการให้คะแนนเป็นดังนี้:

9

= ดีมาก

8

= ดี

7

= ค่อนข้างดี

6

= พอใช้

8. การให้คะแนนเรียงความจะพิจารณาจากลักษณะการวิเคราะห์ปัญหา การระบุวิธีแก้ไข และความสามารถทางด้านการเขียน (ภาษาและไวยากรณ์) ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์การแข่งขัน 9. เลขานุการคณะกรรมการจะแจ้งรายชื่อเรียงความได้รับคะแนนสูงสุด 20 ชิ้น (ซึ่งจะเรียกว่า "เรียงความในรอบรองสุดท้าย") แก่คณะกรรมการ ตัดสิน เพื่อทำการตัดสินรอบต่อไปในการประชุมใหญ่ของคณะกรรมการตัดสิน

9.1 เรียงความในรอบรองสุดท้าย 20 ชิ้น จะถูกส่งเวียนให้แก่กรรมการแต่ละท่าน เพื่อทำการประเมินผล

9.2 การให้คะแนนเรียงความในรอบรองสุดท้ายจะเป็นไปตามข้อกำหนด 7 10. คณะกรรมการจะคัดเลือกเรียงความที่ได้รับคะแนนสูงสุด 10 ชิ้น จากทั้งหมด 20 ชิ้นในรอบรองสุดท้าย โดยเรียงความ 10 ชิ้นดังกล่าวจะ เรียกว่า "เรียงความในรอบสุดท้าย"

10.1 คณะกรรมการตัดสินรอบสุดท้ายจะประเมินผลและจัดอันดับเรียงความในรอบสุดท้าย 10 ชิ้น เพื่อตัดสินหาเรียงความที่ชนะทั้ง 3 รางวัลตามความเหมาะสม โดยในระหว่างการประเมินผล คณะกรรมการตัดสินรอบสุดท้ายจะสามารถขอความคิดเห็นจากกรรมการตัดสินท่านอื่นๆ

เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลของคณะกรรมการตัดสินรอบสุดท้ายมิได้จำกัดเฉพาะเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ 7.1 เท่านั้น 11. คณะกรรมการจัดการประกวดจะแต่งตั้งนักแปลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่แปลเรียงความสำหรับเรียงความที่ชนะการประกวด 12. การตัดสินของคณะกรรมการรอบสุดท้ายถือเป็นที่สุด 13. ผู้ประกวดสามารถส่งเรียงความได้ 2 ทางคือ ทางไปรษณีย์ หรืออีเมล์ มายังเลขานุการโครงการการประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษา หัวข้อ "ทรัพย์สินทางปัญญา"ตู้ ป.ณ. 36 ไปรษณีย์ รามอินทรา กรุงเทพฯ 10220 หรือ อีเมล์มายัง "[email protected]"

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโครงการการประกวดแต่งเรียงความชิงทุนการศึกษา ได้ที่เลขานุการโครงการฯ โทรศัพท์หมายเลข 0-2955-7771 โทรสารหมายเลข 0-2521-9030--จบ--

-ศน-