กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--กทม.
ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 (ดินแดง) เมื่อวานนี้ (15 ส.ค.45) เวลา 09.30 น. ดร.สหัส บัณฑิตกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการเตรียมความพร้อมการป้องกันน้ำท่วมเนื่องจากฝนตกและน้ำทะเลหนุน โดยมี นายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ นายนารา เทวคุปต์ รองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ พร้อมด้วย น.ส.อมรรัตน์ กฤตยานวัช ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ ข้าราชการสำนักการระบายน้ำ หัวหน้าฝ่ายโยธา และหัวหน้ากลุ่มงานระบายน้ำทั้ง 50 เขต ร่วมประชุม
ดร.สหัส เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้ระดับน้ำในกรุงเทพมหานครแม้ว่าจะดูว่าเป็นปกติ แต่กรุงเทพมหานครยังต้องเตรียมความพร้อมการป้องกันน้ำท่วมเสมอ เนื่องจากในช่วงเดือนกันยายน และเดือนตุลาคมทุกปีปริมาณน้ำฝนหรือน้ำทะเล จะหนุนขึ้นสูง ซึ่งปริมาณน้ำในพื้นที่กทม.แยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน ในปีนี้จากข้อมูลที่ได้รับจากกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ปริมาณน้ำฝนจะมีค่าเฉลี่ยมากกว่าปีที่แล้วคือ ราวประมาณเดือนกันยายน - เดือนตุลาคมหรือถึงเดือนพฤศจิกายน 2545 อาจจะมีปริมาณน้ำฝนมาก อย่างไรก็ดีหากมีปริมาณฝนตกค่าเฉลี่ยประมาณ 60 มิลลิเมตร กทม.สามารถรับมือได้ หากเกินกว่าปริมาณดังกล่าวจะพยายามระบายน้ำให้รวดเร็วที่สุดอยู่ในหน่วยของจำนวนชั่วโมง ขณะนี้เครื่องสูบน้ำมีความพร้อม 100 % รวมทั้งมีเครื่องสูบน้ำเตรียมไว้สำรองอีกด้วย ปริมาณน้ำทะเลหนุน จากการคาดการณ์ของกรมอุทกศาสตร์น้ำทะเลจะหนุนสูงสุดประมาณวันที่ 20 ต.ค. และวันที่ 18 พ.ย.45 อยู่ที่ความสูงเท่ากับ 134 ซ.ม. เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง (รทก.) จะมากกว่าปีที่แล้ว โดยในปีที่แล้วอยู่ที่ระดับความสูง 131 ซ.ม.เหนือ รทก. ซึ่งในวันลอยกระทงปีนี้ (19 พ.ย.45) ค่าเฉลี่ยความสูงของน้ำทะเลหนุนเท่ากับ 131 ซ.ม. ในส่วนของดำเนินงานของกทม.สำหรับการพร่องน้ำที่ผ่านมา กทม.จะพร่องน้ำให้อยู่ ณ จุดที่ต่ำสุดเท่าที่สามารถกระทำได้และเมื่อฝนตกก็ระบายน้ำลงคลองต่างๆ อย่างไรก็ดีการพร่องน้ำที่ในระดับดังกล่าวประมาณเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมนี้ น้ำในคลองจะมีความเข็มข้นของน้ำเสียมากกว่าแต่มีความปลอดภัยในเรื่องของแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบนผิวถนน ซึ่งกทม.จะดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มีผลกระทบแต่ละด้านน้อยที่สุด นอกจากนี้ในวันที่ 20 ก.ย. คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้เป็นวันอนุรักษ์แม่น้ำคูคลองแห่งชาติ ได้สั่งการให้ทุกสำนักงานจัดทำโครงการพัฒนาความสะอาคลอง โดยกำหนดให้ดำเนินการอย่างน้อยเขตละ 1 คลอง
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวอีกว่า ในส่วนของ การล้างท่อระบายน้ำ เมื่อปีที่แล้วกทม.ล้างท่อระบายน้ำประมาณ 3,100 ก.ม. จากท่อระบายน้ำทั้งหมด 5,000 ก.ม. ซึ่งการล้างท่อระบายน้ำจะสลับหมุนเวียนกันไปแต่ละปี แต่ในพื้นที่วิกฤตจะปฏิบัติหน้าที่เป็นประจำทุกปี สำหรับในปีนี้มีแผนงานล้างท่อระบายน้ำประมาณ 3,700 ก.ม. ผลงานเริ่มตั้งแต่ต้นเดือน ธ.ค.44 - พ.ค.45 กทม.ล้างท่อฯได้เนื้องานตามเป้าหมายแล้ว 100 % คือประมาณ 2,600 ก.ม. และเดือนมิ.ย.45 - ธ.ค.45 จะล้างท่อฯอีกประมาณ 1,088 ก.ม. โดยใช้แรงงานส่วนหนึ่งและเครื่องจักรกลของกทม. และแรงงานจากกรมราชทัณฑ์ ขณะนี้ได้เนื้องานแล้ว กว่า 1,000 ก.ม คาดว่าสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ จะได้ตามเป้าหมายอีกเช่นกันโดยเน้นคุณภาพในการดำเนินการด้วย นอกจากนี้ตนได้สั่งการให้ทุกสำนักงานเขตตรวจพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการก่อสร้างที่มีผลกระทบกับทุกโครงการ สำหรับปริมาณน้ำเหนือ ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งนั้น กทม.จะประสานกรมชลประทานปรับแต่งการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่าง ๆ ผ่านกทม.ให้มีปริมาณน้ำที่เหมาะสม
ในส่วนการก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ นั้น ดร.สหัส กล่าวว่า ขณะนี้ได้เนื้องานประมาณกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ส่วนช่วงที่ยังไม่ได้ก่อสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม กทม.จะวางแนวกระสอบทรายประมาณ ห้าแสนกระสอบ ระดับความสูงระดับประมาณ 1.80 -2.00 ม.เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 ส.ค.45 และกระสอบทรายอีกหนึ่งล้านกระสอบจะแจกให้เขตต่างๆ ที่มีพื้นที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาไว้สำหรับเสริมแนวที่อาจจะรั่วซึมหรือตามจุดต่าง ๆ ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งนี้ความสูงของแนวป้องกันน้ำท่วมที่ถาวรจะมีความสูงประมาณ 2.80 - 3.00 ม. ได้แก่ ด้านฝั่งธนบุรีเริ่มตั้งแต่บริเวณการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ถึงบริเวณวัดแจงร้อนสุดเขตกทม. และด้านฝั่งพระนครเริ่มตั้งแต่ บริเวณวัด พลับพลา ย่านสะพานพระราม 6 ถึง ซอยสุขุมวิท 107
จากนั้นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและคณะ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำ ผู้อำนวยการเขต และสมาชิกสภากรุงเทพมหานครในพื้นที่ได้ร่วมกันตรวจแนวป้องกันน้ำท่วมชั่วคราวบริเวณร.ร.ทหารพลาธิการ และตรวจการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำที่โรงปูนบางซื่อและบริเวณปลายอุโมงค์บริเวณหน้าร.ร.ทหารพลาธิการ หลังจากนั้นได้เดินทางไปตรวจการก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำที่บึงพิบูลวัฒนา ขณะนี้ได้เนื้องานประมาณ 99 % และตรวจการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณปากซอยแจ้งวัฒนะ 14 ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และเปิดทางน้ำไหลเพื่อเร่งระบายน้ำส่วนเกินลงสู่คลองเปรมประชากร--จบ--
-นห-
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ จัดงาน CP SPLASH IN SPACE เนรมิตหน้าอาคารซีพี ทาวเวอร์ ฉลองสงกรานต์บนถนนสีลม ในธีมอวกาศ ผลักดันวัฒนธรรมไทยสู่ Soft Power สร้างสุดยอดอีเว้นต์ระดับโลก พร้อมรณรงค์ 'สงกรานต์ไร้ขยะ' ตั้งจุดรับทิ้งขันและถังพลาสติก เพื่อมอบแก่มูลนิธิกระจกเงา โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางพรพัน วัฒนสินธุ์ ผู้อำนวยการเขตบางรัก นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร และนายวรวิทย์ เจนธนากุล กรรมการบริหาร ซีพีเอฟ ร่วมเปิดงาน นายชัชชาติ
นางฐิติชยา อนันต์วงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการเจ้าหน้าที่ (สกจ.) สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้าการดำเนินการของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญกระทำผิดวินัยในการดำเนินโครงการจัดซื้อครุภัณฑ์...