คณะอนุกรรมการการจราจรฯ ชุดที่ 1 สภากทม. เยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร

กรุงเทพฯ--7 ก.พ.--กทม. เมื่อวันที่ 5 ก.พ.45 ที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง คณะอนุกรรมการการจราจรและขนส่ง และระบายน้ำ ชุดที่ 1 สภากรุงเทพมหานคร นำโดย นายธวัชชัย ทองสิมา ส.ก.เขตจอมทอง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (ช่วงหัวลำโพง - ห้วยขวาง - บางซื่อ) เพื่อชมความคืบหน้าของการก่อสร้างฯ จะได้นำข้อมูลไปประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบต่อไป ซึ่งในโอกาสนี้ นางยุพดี ศรีนาค ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ สำนักผู้ว่าการรถไฟฟ้ามหานคร ได้ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายสรุปและนำชมสถานีฯ พระราม 9 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ดำเนินงานก่อสร้าง โดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน ตลอดสายมีระยะทางทั้งสิ้น 20 ก.ม. เริ่มต้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง ผ่านถนนพระรามที่ 4 เลี้ยวเข้าถนนรัชดาภิเษก ผ่านศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนอโศก สี่แยกพระราม 9 สี่แยกสุทธิสาร เลี้ยวเข้าถนนลาดพร้าวที่แยกรัชดา- ลาดพร้าว ผ่านห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สวนจตุจักร เข้าถนนกำแพงเพชร สิ้นสุดที่ สถานีรถไฟบางซื่อ และจะเปิดให้บริการประมาณปลายปี 2546 ซึ่งมีสถานีทั้งสิ้น 18 สถานี คือ หัวลำโพง , สามย่าน, สีลม, ลุมพินี, บ่อนไก่, ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ฯ, สุขุมวิท, เพชรบุรี,พระราม 9, เทียมร่วมมิตร, ประชาราษฎร์บำเพ็ญ , สุทธิสาร, รัชดา, ลาดพร้าว, พหลโยธิน, หมอชิต , กำแพงเพชร และบางซื่อ สำหรับการก่อสร้างฯ ขณะนี้มีความก้าวหน้าไปแล้วกว่า 74 % โดยแบ่งเป็นงานก่อสร้าง 6 สัญญาได้แก่ สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งสถานีส่วนใต้ (หัวลำโพง - ห้วยขวาง) สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ ทางวิ่ง สถานีส่วนเหนือ (ห้วยขวาง - บางซื่อ) สัญญาที่ 3 งานออกแบบก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง, สัญญาที่ 4 งานจัดหาผลิตติดตั้ง วางรางรถไฟ สัญญาที่ 5 งานติดตั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน และสัญญาที่ 6 งานสัมปทาน ออกแบบ จัดหา ผลิต ติดตั้งรถไฟฟ้า ซึ่งรัฐบาลใช้งบประมาณลงทุนงานด้านโยธา 63,490 ล้านบาท และเอกชนลงทุนด้านจัดหาอุปกรณ์ 25,169 ล้านบาท สำหรับความเป็นมาของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) นั้น เดิมชื่อองค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็น รัฐวิสาหกิจในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การรถไฟฟ้ามหานคร พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหาร และในขณะนั้นมิได้มีบทบัญญัติที่จำเป็นและเพียงพอต่อการจัดทำและให้บริการขนส่งมวลชนด้วยระบบไฟฟ้า เช่น ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองระบบรถไฟฟ้า คุ้มครองผู้โดยสารรถไฟฟ้า เป็นต้น ทำให้องค์การรถไฟฟ้ามหานครในขณะนั้นมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจตามกฎหมายและไม่สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการขนส่งมวลชนโดยระบบรถไฟฟ้าได้ทวีความจำเป็นยิ่งขึ้นอย่างมากทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นจึงได้มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ขององค์การรถไฟฟ้ามหานครใหม่ ให้สามารถดำเนินกิจการรถไฟฟ้าให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.2543 ขึ้น และได้เสนอตามขั้นตอน จนในที่สุดเมื่อวันที่ 19 ต.ค.43 ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.43 เป็นผลให้องค์การรถไฟฟ้ามหานครถูก ยกเลิกไป และจัดตั้ง “การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย” ขึ้นแทน โดยใช้ชื่อย่อว่า รฟม. และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “MASS RAPID TRANSIT AUTHORITY OF THAILAND ” (MARTA) ซึ่งมีขอบข่ายอำนาจหน้าที่กว้างขวางขึ้น โดยมีวัตถุ-ประสงค์เพื่อดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา หรือระหว่างจังหวัด ดังกล่าว , ศึกษาวิเคราะห์ จัดทำโครงการและแผนงานเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้า เพื่อปรับปรุง พัฒนาให้ทันสมัย รวมทั้งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้าและธุรกิจอื่นเพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการกิจการรถไฟฟ้า ปัจจุบันรัฐบาลได้มอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ตามแผนแม่บท รวมทั้งสิ้น 4 โครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ระยะทาง 20 ก.ม. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง - บางแค ระยะทาง 14 ก.ม. โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ - สะพานพระนั่งเกล้า ระยะทาง 12 ก.ม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางกะปิ - ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 35 ก.ม. รวมทั้งสิ้น 81 ก.ม.--จบ-- -นห-

ข่าวการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน+โครงการรถไฟฟ้ามหานครวันนี้

เขตธนบุรีประสาน รฟม. เร่งแก้ปัญหาเสียง-ฝุ่นก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง เข้มมาตรการความปลอดภัยระหว่างก่อสร้าง

ว่าที่ร้อยตรี เดชาธร แสงอำนาจ ผู้อำนวยการเขตธนบุรี กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาเสียงและฝุ่นจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนที่พักอาศัยบริเวณริมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินว่า สำนักงานเขตฯ ได้ประสานการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เร่งรัดแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่พักอาศัยบริเวณริมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยแจ้งผู้รับเหมาดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นจากการก่อสร้าง โดยติดตั้งสเปรย์ละอองน้ำและล้างผ้าใบตามแนวแบริเออร์ ฉีดล้างล้อรถบรรทุกก่อนออกจากพื้นที่ ล้างทาง

กทม. แจงเหตุปรับปรุงห้องน้ำสวนจตุจักรล่าช้า ต้องแก้ไขแบบหลังพบโครงสร้างอาคารใต้ดินของ รฟม.

นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม. กล่าวกรณีมีข้อสังเกตโครงการปรับปรุงสุขาสาธารณะภายในสวนจตุจักรล่าช้าเกินกำหนดสัญญาว่า สสล. ได้ว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด รัชเพิ่มพูล ดำ...

สจส. เร่งสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารหน้าตลาดมีนบุรี

นายสิทธิพร สมคิดสรรพ์ ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม. กล่าวชี้แจงกรณีสื่อสังคมออนไลน์เผยแพร่ภาพป้ายหยุดรถโดยสารประจำทางชั่วคราวหน้าตลาดมีนบุรีชำรุดว่า สจส. ตรวจสอบแล้วเต็นท์ดังกล่าวติดตั้งโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ...

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม. ประสาน รฟม. กำชับผู้รับจ้างเข้มงวดควบคุมดูแลความปลอดภัยโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดิน — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. กล่...

นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการ... กทม.แจงจัดเก็บค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ตามขั้นตอนทางกฎหมาย — นายไทภัทร ธนสมบัติกุล ผู้อำนวยการสำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กทม.กล่าวกรณีมีการตั้งข้อ...

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม.ประสาน รฟม.เพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีม่วงตลอดสาย — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม.กล่าวถึงความคื...

นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักก... กทม.ประสาน รฟม.ซ่อมผิวจราจร ถ.ลาดพร้าว พื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง — นายธวัชชัย นภาศักดิ์ศรี ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม.กล่าวกรณีประชาชนร้อง...

บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มห... BEM จัดการฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ — บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้ให้บริการทางพิเศษและรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน...