อย.ชี้แจงเรื่องผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้สำหรับชง

กรุงเทพฯ--17 ม.ค.--อย. อย.แจงผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้สำหรับชง มีทั้งที่จัดเป็นยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ และยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ กรณีที่เป็นยาแผนโบราณ จะต้องขายในสถานที่ที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น ถ้าตรวจพบมีวางขายอยู่ตามร้านทั่วไปถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ขอให้ประชาชนสังเกตฉลากทุกครั้งก่อนซื้อเพื่อความปลอดภัย ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า ตามที่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับการวางขายยาชงสมุนไพรตามห้างสรรพสินค้า และมินิมาร์ทที่ไม่มีใบอนุญาตว่าถูกต้องหรือไม่นั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้สำหรับชง เช่นยาระบายชนิดต่างๆ ถ้าเป็นสมุนไพรที่ยังไม่มีการผสม ปรุง หรือแปรสภาพ สามารถวางขายได้ตามร้านทั่วไป แต่จะต้องไม่มีการโฆษณาแสดงสรรพคุณในทางยา ส่วนสมุนไพรที่ผสมหรือแปรสภาพแล้วต้องขึ้นทะเบียนตำรับยา และจำหน่ายในร้างที่มีใบอนุญาตขายยาเท่านั้น ห้ามจำหน่ายตามห้างร้าน ซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ ยกเว้นยาที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน หากผู้ประกอบการรายใดฝ่าฝืน ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตามเพื่อความมั่นใจ และปลอดภัยในการซื้อยาชงสมุนไพรต่างๆ มารับประทาน ขอให้ผู้บริโภคเลือกซื้อและใช้ยาที่ผลิตอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นยาแผนโบราณ ให้สังเหตุที่ฉลากต้องมีเลขทะเบียนตำรับยาเช่น G 99/42 เป็นเลขทะเบียนยาแผนโบราณที่ผลิตในประเทศ หรือ K 99/42 เป็นเลขทะเบียนยาแผนโบราณที่นำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร นอกจากนี้ ก่อนซื้อยาควรตรวจดูฉลากยาทุกครั้ง ต้องแสดงข้อความรายละเอียดอย่างวครบถ้วน ได้แก่ ชื่อยา เลขทะเบียนตำรับยา ปริมาณของยาที่บรรจุ เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต ชื่อผู้ผลิตและจังหวัดที่ตั้งสถานที่ผลิต วัน เดือน ปี ที่ผลิต มีคำว่า "ยาแผนโบราณ" ให้เห็นชัดเจน หรือคำว่า "ยาสามัญประจำบ้าน" ในกรณีเป็นยาสามัญประจำบ้าน อย.ขอย้ำเตือนมายังประชาชนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์ยาชงสมุนไพรใดๆ ที่วางขายอย่างไม่ถูกต้อง และมีการโฆษณาสรรพคุณเกินจริง นอกจากไม่ได้รับประโยชน์แล้ว ยังอาจเกิดอันตรายและเสียเงินทองโดยไม่จำเป็น หากมีข้อสงสัยในยาบางรายการสามารถสอบถามได้ที่ กองคาบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หลายเลขโทรศัพท์ 5907313 และ 5907163 และใคร่ขอความร่วมมือมายังผู้บริโภค โปรดช่วยสอดส่องเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐ หากพบเห็นหรือสงสัยผลิตภัณฑ์สุขภาพใด ที่มีการขาย ผลิต โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโฆษณาโอ้อวดเกินจริง โปรดร้องเรียนให้ อย.ทราบทันทีที่ หมายเลขโทรศัพท์ 5907354-5 หรือผ่านสายด่วนผู้บริโภค โทร 1556 กดต่อ 005 หรือหากพบอยู่ในต่างจังหวัด สามารถแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ เพื่อที่ อย. จะได้ดำเนินการทางกฎหมายต่อไป--จบ-- -อน-

ข่าวอังกาบ เวสโกสิทธิ์+ห้างสรรพสินค้าวันนี้

อย. เตือนระวัง...อันตราย เด็กกินยาสีฟัน คิดว่าอร่อย..

กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--อย. อย. เตือนผู้ปกครอง ให้ดูแลขณะแปรงฟัน และใช้ยาสีฟัน อย่างถูกต้อง อย่าให้เด็กเผลอกินกลืนกินยาสีฟันเข้ไปเด็ดขาด เพราะอาจทำให้คลื่นไส้อาเจียน เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ควรให้คำแนะนำเด็กอย่าหลงเชื่อโฆษณาที่สื่อให้เด็กอยากลิ้มลอง โดยเฉพาะภาพการ์ตูนผลไม้ที่สื่อถึงกลิ่นและรสของผลิตภัณฑ์ เพื่อดึงดูดใจเด็ก ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับการร้องเรียนว่า มีเด็กกินยาสีฟันเข้าไป จน

อย.ปลุกจริยธรรม เปิดเวทีสัมมนา "ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา"

กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--อย. อย.เปิดเวทีสัมมนาผู้เกี่ยวข้องกับการโฆษณา ทั้งผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ขาย ผู้โฆษณา และสื่อต่างๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และร่วมถกจรรยาบรรณการโฆษณา หวังสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายเพื่อลดปัญหาการกระทำผิด เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2544...

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือน "อย่างหลงเชื่อโฆษณาเครื่องสำอาง อ้าง อย.รับรอง"

กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--อย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการกล่าวอ้าง ของผู้ผลิตเครื่องสำอางบางแห่งที่โฆษณาว่า ได้รับอนุญาตจาก อย. ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด แพทย์หญิงอังกาบ เวสโกสิทธิ์ รอง...

อย.เชิญชวนฟังสัมมนา "ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา"

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--อย. อย.จัดสัมมนา "ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา" เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ทำความเข้าใจกฎระเบียบการโฆษณายาและหาแนวทางการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับยาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เชิญชวนผู้สนใจเข้ารับฟังได้ฟรีในวันที่ 22 ส.ค. 44 ห้องประชุมชั้น...

อย.จัดสัมมนา “ความรู้ คู่คุณธรรม นำโฆษณา”

กรุงเทพฯ--17 ส.ค.--อย. เภสัชกรหญิงอังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ในยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับโฆษณามากขึ้น เพื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเองไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งในบางครั้งทำให้ผู้บริโภคเกิดพฤติกรรมการบริ...

ระวังถูกหลอกจากการซื้อยาที่ขายไม่เป็นหลักแหล่ง

กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--อย. อย.เตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อพ่อค้าหัวใสที่เร่แจกยาฟรีตามตลาดนัดหรือตามแผงลอย โดยมีข้อแลกเปลี่ยนต้องซื้อผลิตภัณฑ์ยาอื่นด้วย เพราะเป็นการขายยาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อาจได้ยาปลอมเป็นอันตรายต่อร่างกาย เพราะเป็นการขายยาที่...

อย. เตือนระวัง...ใช้วัตถุอันตรายไม่อ่านฉลาก อาจตายได้

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--อย. เตือนผู้บริโภค ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ควรอ่านฉลากให้ละเอียด ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ฉลากแสดงข้อความครบถ้วน เพื่อความปลอดภัยกับสุขภาพของผู้ใช้และบุคคลข้างเคียง ภญ...

อย. เตือน อย่าหลงเชื่อโฆษณาเครื่องสำอาง อ้าง อย.รับรอง

กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--อย. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เตือน ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อการกล่าวอ้างของผู้ผลิตเครื่องสำอางบางแห่งที่โฆษณาว่า ได้รับอนุญาตจาก อย. และรับรองว่าตรวจสอบแล้วปลอดภัย ใช้ได้ผล เพราะเป็นการแอบอ้างชื่อ อย.ทำให้ผู้บริโภคเข้า...

ระวัง...ยาลูกกลอนอันตราย

กรุงเทพฯ--11 เม.ย.--อย. อย. เตือนประชาชน อย่าซื้อยาลูกกลอนไม่มีทะเบียนยามาใช้เอง รวมถึงอย่าหลงเชื่อคำบอกเล่าปากต่อปากว่ารักษาได้สารพัดโรค อาจได้รับอันตรายได้แนะถ้าเจ็บป่วยควรปรึกษาแพทย์ หรือซื้อยาจากเภสัชกร ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า...

อย.ปรับหลักเกณฑ์คำเตือนโฆษณา

กรุงเทพฯ--22 มี.ค.--อย. อย.ให้ผู้มีหน้าที่ด้านธุรกิจโฆษณายาทางสื่อต่างๆ ต้องแสดงคำเตือนในการโฆษณายาให้เป็นไปตามมติใหม่ของคณะกรรมการยา ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จากการเปิดเผยของ ภญ.อังกาบ เวสโกสิทธิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีการปรับ...