เอเรียนสเปซเปิดศักราชใหม่ส่งเที่ยวบิน 137ลงนาม 4 สัญญาส่งดาวเทียมเอเชีย สหรัฐฯ

กรุงเทพฯ--12 ม.ค.---แฟรนคอม เอเชีย เอเรียนสเปซเปิดศักราชใหม่ ปี 2544 ด้วยกิจกรรมจัดส่งดาวเทียมเติร์กแซท 2 A /ยูเรเชียแซท 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมสื่อสารของ อัลคาเทลสเปซ คอมมิวนิเคชั่นส์ของยูเรเชียแซท เอส.เอ.เอ็ม ของตุรกี เชื่อมสายสัมพันธ์ยุโรปและเอเชีย ยูเรเชียแซท 1 จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างยุโรปกับเอเชีย เป็นการเชื่อมการติดต่อสื่อสารระหว่างยุโรปตะวันตก ตะวันออกกลาง เอเชียกลางและตะวันออกไกล เติร์กแซท 2 A/ยูเรเชียแซท 1 เป็นดาวเทียมของตุรกีดวงที่ 3 ที่ขึ้นสู่วงโคจรโดยบริการของจรวดเอเรียน หลังจากดาวเทียม เติร์กแซท 1 B ในเดือนสิงหาคม 1994 และดาวเทียมเติร์กแซท 1C ในเดือนกรกฎาคม 1996 ดาวเทียมเติร์กแซท 2A/ยูเรเชียแซท 1 ได้รับการออกแบบสำหรับการใช้งานถึง 15 ปี เที่ยวบินนี้ เป็นหนึ่งในสัญญาครบวงจรที่ยูเรเชียแซท เอส.เอ.เอ็ม มอบหมายให้กับอัลคาเทล สเปซ บริษัทยูเรเชียแซท เอส.เอ.เอ็ม อยู่ในโมนาโค เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเติร์ก เทเลเคอม กับอัลคาเทล สเปซ จรวดเอเรียนกำหนดมาตรฐานความน่าเชื่อถือ เที่ยวบินแรกของปี 2001 นี้ เป็นเที่ยวบินของจรวดเอเรียน 4 ที่ประสบความสำเร็จติดต่อกันเป็นเที่ยวบินที่ 60 เอเรียนสเปซมีกำหนดการจัดส่งในปี 2000 ที่ผ่านมา แสดงถึงศักยภาพในการตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการดาวเทียมทั่วโลก ในปี 2000 เอเรียนสเปซได้จัดส่งดาวเทียมสื่อสาร 16 ดวง และดาวเทียมขนาดเล็ก 4 ดวงขึ้นสู่วงโคจร โดยใช้จรวดเอเรียน 4 ทั้งหมด 8 เที่ยว และ จรวดเอเรียน 5 ทั้งหมด 4 เที่ยว เที่ยวบินแรกของปี เที่ยวบินต่อไป คือ เที่ยวบิน 139 มีกำหนดจัดส่งวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เมื่อจรวดเอเรียน 44L จะนำดาวเทียมสื่อสาร 2 ดวงขึ้นสู่วงโคจร ได้แก่ SICRAL ของกลุ่ม SITAB ของกระทรวงกลาโหมอิตาลี และดาวเทียม SKYNET 4F ของแอสเตรียม ให้กับกระทรวงกลาโหมอังกฤษ เอเรียนสปซ วางแผนสำหรับเที่ยวบินเอเรียน 5 อีก 10 เที่ยวบิน ในปี 2001 รวมแล้ว 11 เที่ยวบินตลอดทั้งปี ข้อมูลเทคนิค ============================================================================================================ จรวดเที่ยวบิน 137 จรวดเอเรียน 44P (ติดบูสเตอร์เชื้อเพลิงแข็ง 4 แท่ง) เป็นจรวดเอเรียน 4 ลำที่ 102 นับตั้งแต่เริ่มให้บริการ ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ฐานส่งจรวด ELA-2, กิยาน่า สเปซ เซ็นเตอร์ ศูนย์อวกาศแห่งยุโรป เมืองกูรู เฟรนช์ กิยาน่า ============================================================================================================ เวลาปล่อยจรวด =================================================== 19:09 น. 10 มกราคม ตามเวลากูรู 22:09 น. 10 มกราคม ตามเวลา GMT 5:09 น. 11 มกราคม ตามเวลากรุงเทพฯ =================================================== เติร์กแซท 2A/ยูเรเชียแซท 1 สำหรับอัลคาเทล สเปซ ==================================================================================== ดาวเทียมสื่อสาร: แพลทฟอร์มสเปซบัส 3000B3 ==================================================================================== ผู้รับเหมา อัลคาเทล สเปซ อินดัสตรี้ส์ , คานส์ , ฝรั่งเศส น้ำหนักขณะส่งออกจากฐาน 3,535 กก. ช่องสัญญาณ เคยู แบนด์ 32 ทรานสปอนเดอร์ (BSS 20 สถานี และ FSS 12 สถานี) ตำแหน่งวงโคจร 42 องศาตะวันออก, เหนือโซมาเลีย พื้นที่ครอบคลุม ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย ==================================================================================== เอเรียนสเปซคว้า 4 สัญญาจัดส่งดาวเทียม สิ้นปี 2000 ลูกค้าประจุของเอเรียนสเปซเลือกจรวดเอเรียนให้จัดส่งดาวเทียมใหม่ 4 ดวง ได้แก่ ไดเร็คทีวี ของสหรัฐฯ ดาวเทียม 2 ดวงขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย และดาวเทียมของอิสราเอล แอร์คราฟท์ อินดัสตรี้ส์ สัญญาใหม่เหล่านี้ช่วยให้เอเรียนสเปซส่งท้ายปี 2000 ด้วยความสำเร็จอย่างงดงาม ตอกย้ำบทบาทผู้นำของเอเรียนสเปซหลังจาก จัดส่งถึง 12 เที่ยวบินมาแล้วตลอดทั้งปี ไดเร็คทีวี 4S สำหรับสถานีท้องถิ่นสหรัฐฯ เอเรียนสเปซได้รับคัดเลือกให้จัดส่งดาวเทียมสื่อสารสัญญาณทีวีดิจิตอลล่าสุด "ไดเร็คทีวี-4S" ของ ไดเร็คทีวี แห่งสหรัฐฯ ดาวเทียมดังกล่าวผลิตโดยโบอิ้ง แซทเทิ่ลไลท์ ซิสเต็มส์ ดาวเทียมน้ำหนัก 5 ตันนี้มีกำหนดส่งขึ้นสู่วงโคจรสิ้นปี 2001 หรือต้นปีหน้า โดยจะติดตั้งช่องสัญญาณเคยูแบนด์ 38 ทรานสปอนเดอร์ แพร่สัญญาณโดยตรงของสถานีทีวีท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีอัดสัญญาณดิจิตอล ไดเร็คทีวี-4S เป็นดาวเทียมดวงที่ 3 ของบริษัทสหรัฐฯ ที่ใช้บริการจัดส่งของเอเรียนสเปซ โดยจะถูกส่งขึ้นสู่ตำแหน่งวงโคจรที่ 101 องศา ตะวันตก เหนือเกาะกาลาปากอส เพื่อแพร่สัญญาณครอบคลุมทั่วสหรัฐอเมริกา อินแซท 3A และ 3E บริการสื่อสารและตรวจสอบสภาพอากาศสำหรับอินเดีย อินเดียเลือกใช้บริการของจรวดเอเรียนตั้งแต่ดาวเทียมทดลอง "แอปเปิล" ส่งขึ้นวงโคจรด้วยเที่ยวบิน LO3 ในปี 1981 อินเดียยืนยัน ความมั่นใจในบริการของเอเรียนสเปซด้วยการลงนามในสัญญาจัดส่งดาวเทียมอินแซท 3 อีก 2 ดวง ดาวเทียมดังกล่าวสร้างและดำเนินการโดยองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย(ISRO) ดาวเทียมอินแซท 3A และ อินแซท 3E มีกำหนดจัด ส่งปลายปี 2001 และปลายปี 2002 ตามลำดับ ดาวเทียมแต่ละดวงจะมีน้ำหนักกว่า 2,000 กก. ขณะส่งออกจากฐาน อินแซท 3A เป็นดาวเทียมไฮบริด ที่บรรทุกเพย์โหลดสื่อสารทั้งซีและเคยู แบนด์ และระบบตรวจสอบสภาพอากาศ โดยจะถูกส่งขึ้นสู่ ตำแหน่ง 83 องศาตะวันออก เหนือมหาสมุทรอินเดีย ดาวเทียมอินแซท 3E เป็นดาวเทียมสื่อสาร แบบซี แบนด์ 36 ทรานสปอนเดอร์ ทั้งนี้นับเป็นสัญญาการจัดส่งฉบับที่ 9 และ 10 ที่ไอเอสอาร์โอทำกับเอเรียนสเปซ ตั้งแต่ปี 1992 ถึง 1999 เป็นต้นมา เอเรียนสเปซ จัดส่งดาวเทียมในซีรี่ส์อินแซท 2 รวม 5 ดวง ในเดือนมีนาคม 2000 จรวดเอเรียน 5 บรรทุกดาวเทียมอินแซท 3B (ดาวเทียมดวงแรกในซีรี่ส์ 3 ของอินเดีย) และดาวเทียม 3C ของอินแซท จะจัดส่งในปีนี้ อามอส 2: ดิจิตอล ทีวีสำหรับตะวันออกกลาง 4 ปีที่แล้ว เที่ยวบิน 86 ของเอเรียนสเปซ ส่งดาวเทียมอามอส 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมด้วยแรกของอิสราเอล แอร์คราฟท์ อินดัสตรี้ส์ ขึ้นสู่ วงโคจร ไอเอเอ กลับมาใช้บริการองเอเรียนสเปซอีกครั้งเพื่อการจัดส่งดาวเทียมดวงที่ 2 อามอส 2 ซึ่งมีกำหนดจัดส่งปลายปี 2002 หรือต้นปี 2003 ดาวเทียม อามอส 2 น้ำหนัก 1,300 กก. ขณะจัดส่ง ดำเนินการโดยสเปซคอม ช่องสัญญาณเคยูแบนด์ 22 ทรานสปอนเดอร์ เพื่อ แพร่สัญญาณดิจิตอลของ YES แห่งอิสราเอล เพื่อแลกเปลี่ยนสัญญาณเหนือตะวันออกกลาง อามอส 2 จะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับ อามอส 1 ที่ 4 องศาตะวันตก เหนืออ่าวกินี เพื่อใช้เป็นดาวเทียมสำรองให้กับอามอส 1 สำหรับ ป้อนสัญญาณโทรคมนาคมสื่อสารและบริการแพร่ภาพทีวีให้กับรัฐบาลอิสราเอล สัญญาณของเอเรียนสเปซ ในปี 2000 เอเรียนสเปซจัดส่งดาวเทียมตามสัญญาที่ลงนามรวม 15 ดวง เป็นดาวเทียมสังเกตการณ์ภาคพื้นดิน 1 ดวง และ ATV อีก 9 ดวง ให้กับ ศูนย์อวกาศสากล ยืนยันถึงความเป็นผู้นำโลกในตลาดการขนส่งสู่อวกาศของเอเรียนสเปซ นับตั้งแต่เริ่มให้บริการ เอเรียนสเปซได้ลงนามในสัญญาจัดส่งดาวเทียมไปแล้ว 231 ดวง หลังจากเที่ยวบิน 137 ที่ประสบความสำเร็จ เอเรียนสเปซยังคงมีภารกิจในการจัดส่งดาวเทียมอีก 39 ดวง รวมกับการจัดส่งอีก 9 ATV ใหักับศูนย์อวกาศสากล รวมมูลค่าประมาณ 4,450 ล้านยูโร หรือประมาณ 178,000 ล้านบาท สื่อมวลชนที่สนใจกรุณาติดต่อ คุณภัทรานิษฐ์ อิ่มอำไภย บริษัท แฟรนคอม เอเชีย จำกัด โทร 233 4329-30/233 43 38 39 แฟ็กซ์ 236 8030 E-mail:[email protected] จบ-- -อน-

ข่าวคอมมิวนิเคชั่น+เอเรียนสเปซวันนี้

เจซีแอนด์โค ผนึกกำลัง ฮาห์ม พาร์ทเนอร์ กรุยทางโกลบอลแบรนด์สัญชาติเกาหลี บุกตลาดในไทย เสริมแกร่งงานสื่อสารข้ามประเทศ

บริษัท เจซีแอนด์โค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์แถวหน้าของเมืองไทย จับมือฮาห์ม พาร์ทเนอร์: Hahm Partners บริษัทที่ปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด อันดับ 1 จากเกาหลีใต้ ในการขยายธุรกิจสู่ประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อรองรับแนวโน้มการลงทุนจากเกาหลีใต้สู่ไทย ในฐานะ Strategic Location โดยมุ่งเสริมแกร่งด้านการประชาสัมพันธ์ และร่วมกันยกระดับและพัฒนาการตลาดแบบครบวงจร รองรับการขยายตัวของธุรกิจข้ามชาติทั้งในประเทศไทยและกลุ่ม APAC โดย JC&CO จะนำความ

คุณวีรศักดิ์ อาทรชัยกุล (ที่2 จากซ้าย) ปร... PLANET ผนึก Phosphorus Cybersecurity จัดสัมมนาเสริมเกราะป้องกันภัยด้าน xIoT Security — คุณวีรศักดิ์ อาทรชัยกุล (ที่2 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด...

PLANET โชว์ผลงานปี 67 เริ่มสดใส หลังคุมต้... PLANET โชว์ผลงานปี 67 เริ่มสดใส งานเทคฯขั้นสูง ดันรายได้พุ่ง 54.48% — PLANET โชว์ผลงานปี 67 เริ่มสดใส หลังคุมต้นทุนเยี่ยม งานโครงการเทคฯขั้นสูง, ไซเบอร์ซี...

ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ (ที่ 5 จากซ้า... ผถห. PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุน-แจกวอร์แรนต์ 3:1 — ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ (ที่ 5 จากซ้าย) ประธานกรรมการ คุณประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ (ที่ 3 จากขวา) ร...

คุณประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ (แถวหน้าที่ 3 จา... PLANET ผนึก SIEMENS จัดสัมมนาเสริมแกร่ง ป้องกันภัยไซเบอร์ในไทย — คุณประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ (แถวหน้าที่ 3 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.แพลนเน็ต คอมม...

คุณประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ (ซ้ายสุด) ประธาน... PLANET จับมือ Skydio โชว์ โดรนอัจฉริยะทางการทหาร — คุณประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ (ซ้ายสุด) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คุณทรีเวอร์ ทอมป์สัน (ที่ 2 จากขวา) รองป...

บิ๊กบอส "ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" แห่ง บมจ.... PLANET พร้อมร่วมโชว์ศักยภาพ ในงาน DronTech Asia 2024 — บิ๊กบอส "ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" แห่ง บมจ.แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย หรือ PLANET ผู้ให้บริการเทค...

บอร์ด PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุนเป็น 966.11 ล... บอร์ด PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุน-แจกวอแรนท์ เล็งลุยธุรกิจใหม่ "ANTI DRONE" — บอร์ด PLANET ไฟเขียวเพิ่มทุนเป็น 966.11 ลบ. จาก 579.67 ลบ. พร้อมออก PLANET-W2 จำน...