คนไทยเป็นเบาหวาน 3 ล้านคน ชี้แนวโน้มเพิ่มเพราะยังไม่ลดเลิกปัจจัยเสี่ยง

กรุงเทพฯ--6 ก.ย.--คอร์ปอเรท พับลิค รีเลชั่น คอนซัลแตนท์ จากการบรรยายโครงการแพทย์เพื่อประชาชนครั้งที่ 4 เรื่อง หลีกโรคร้ายด้วยอาหารและการออกกำลังกาย ตอน "หัวใจ เบาหวาน และความดันโลหิตสูงป้องกันได้หรือไม่" ศาสตราจารย์ (เกียรติคุณ) นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ ประธานชมรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน กล่าวถึงข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO) คาดการณ์ว่าในปี 2010 หรือปี 2553 จะมีประชากรทั่วโลกเป็นเบาหวานประมาณ 300 ล้านคน ขณะที่สถิติผู้ป่วยเบาหวานในไทยที่เข้ามาตรวจแล้วพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยประมาณ 1 ล้านคน แต่ความเป็นจริงอาจมีตัวเลขสูงถึง 3 ล้านคน และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สาเหตุที่ทำให้โรคเบาหวานเกิดง่ายและชะลอความรุนแรงของโรคนี้ยากขึ้นเนื่องจากคนไทยมีพฤติกรรมบริโภคปัจจัยเสี่ยงสำคัญมากได้แก่ ความอ้วน ไขมันและน้ำตาลในเลือดสูง ความดันสูง และผู้ที่สูบบุหรี่ ปัจจัยต่างๆ นี้ล้วนเป็นชนวนนำไปสู่เบาหวานและโรคแทรกซ้อนได้ง่ายดายอาจตายโดยไม่ต้องรอตอนแก่ เบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ถ้าผู้ป่วยมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจำทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะสำคัญๆ ได้ อาทิ ตาบอด ไตวาย และระบบประสาท ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นเบาหวานอย่างมาก ถ้าได้รับการรักษาที่ไม่ทันการอาจเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว สำหรับการชะลอและการรักษาอาการของเบาหวาน ซึ่งต้องทำไปพร้อมๆกันคือ ส่วนแรกต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตหรือพฤติกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อเบาหวาน เช่น ตรวจเช็คน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ บริโภคอาหารให้ครบทั้ง 3 หมู่ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม คุมน้ำหนักอย่าให้เกินมาตราฐาน ส่วนที่สองรักษาด้วยยาควบคุมอินซูลินในเลือดซึ่งก็มีวิธีการใช้ที่ต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน บริษัท คอร์ปอเรท พับลิค รีเลชั่น คอนซัลแตนท์ จำกัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ พุทธิพร เอมสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ โทร 628-6120 ,282-8773-4 โทรสาร 628-7231-2--จบ-- -อน-

ข่าวองค์การอนามัยโลก+ความดันโลหิตสูงวันนี้

เปลี่ยนมุมมอง ปรับความคิด เปลี่ยนชีวิตกับคุณหมอแอมป์ 5 ประเด็นสำคัญ กับโรคอ้วน ภัยร้ายที่ไม่ได้รับเชิญ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้นิยามของโรคอ้วน (Obesity) เอาไว้ว่า เป็นภาวะความผิดปกติของร่างกายที่สะสมไขมันมากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยภาวะอ้วนเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases; NCDs) อย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคมะเร็ง, โรคความดันโลหิตสูง, โรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke) ตลอดจนโรคหลอดเลือดแดงแข็งที่หัวใจ (Atherosclerotic Cardiovascular Disease; ASCVD) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยิ่งเป็นตัวเน้นย้ำให้

สสส.-เครือข่ายลดบริโภคเค็ม-WHO หนุน 4 มาตรการ "ลดการบริโภคเกลือโซเดียม" ดึง ผู้ประกอบการปรับสูตรอาหาร-กำหนดนโยบายจัดซื้ออาหารอ่อนเค็มในองค์กร

เมื่อวันที่ 31 ส.ค. 2565 ทพญ.จันทนา อึ้งชูศักดิ์ ประธานกรรมการกำกับทิศทางแผนอาหารเพื่อสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า...

พฤติกรรมติดหวาน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีร... เด็กติดน้ำหวาน...เปลี่ยนพฤติกรรมก่อนสายเกินไป — พฤติกรรมติดหวาน หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน ยังคงเป็นปัญหาในเด็กวัยเรียน ทำให้มีความเสี่ยง เป็นโรคอ้วน...

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ไว้ว่าภ... ม.มหิดล คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม "เครื่องนวดเท้าช่วยเลิกบุหรี่" — องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้คาดการณ์ไว้ว่าภายในปีพ.ศ.2573 จะมีประชากรโลกเสียชีวิตเนื่องจากกา...

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือชื่อทางการที... COVID-19 ผลกระทบร้าย...อันตรายถึงหัวใจ — ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือชื่อทางการที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศออกมาว่า Covid-19 ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อ...

องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (... การต่อสู้กับวัณโรค: ทำไมการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ — องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่า วัณโรค (TB) อาจกลายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตหลักจากการติดเชื้อทั่วโลก...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. จับมือภาคีหนุนส่งนมแม่ฟรี ดันเป้าเด็กแรกเกิดกินนมแม่ 6 เดือนแรก มากกว่าร้อยละ 50 — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในโอกาสเ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสาร... นมแม่มีประโยชน์ กรมอนามัย แนะ ทารก ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย นมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ แนะ ทารกกินน...

นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำน... กทม. เตรียมพร้อมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อหิวาตกโรค-แนะยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือ" — นางเลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ (สนพ.)...