กรุงเทพฯ--7 ธ.ค.--กระทรวงสาธารณสุข
โครงการรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เพื่อเร่งรัดการกวาดล้างโรคโปลิโอ พ.ศ.2543
หลักการและเหตุผล
ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดเป้าหมายที่จะกวาดล้าง โรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ขององค์การอนามัยโลก และนานาประเทศ ที่จะกวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากโลก ภายในปี 2543 โดยใช้มาตรการที่สำคัญ 4 มาตรการในการดำเนินงาน ซึ่งต้องดำเนินงานไปพร้อมกันๆ กัน คือ
1. การรักษาระดับความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนโปลิโอครบ 3 ครั้ง ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี ให้อยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 90 ทุกตำบล
2. การเฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกอย่างฉับพลัน (Acute Flaccid Paralysis-AFP)
3. การสอบสวนและควบคุมโรคในชุมชน
4. การรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็ก
ประเทศไทยได้ดำเนินงาน ตามมาตรการสำคัญทั้ง 4 ประการต่อเนื่องกัน มาเป็นเวลาหลายปี เป็นผลให้ไม่พบผู้ป่วยโปลิโอจาก wild poliovirus มาเป็นเวลากว่า 3 ปี โดยพบผู้ป่วยรายสุดท้าย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2540 สำหรับผลงานการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก อย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญ ที่บ่งบอกถึงคุณภาพ ของการเฝ้าระวังโรค และการปลอดเชื้อโปลิโอนั้น ในภาพรวมของประเทศ ได้ปรับปรุงดีขึ้นมาก โดยได้บรรลุเกณฑ์มาตรฐาน ตรวจพบผู้ป่าย AFP ได้เกิน 1 ต่อแสนประชากรเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 แล้ว ขณะเดียวกันความครอบคลุม ของการได้รับวัคซีนโปลิโอ 3 ครั้ง ในเด็กอายุครบ 1 ปี รวมทั้งผลงาน การให้วัคซีนโปลิโอ ในช่วงรณรงค์ให้วัคซีนแก่เด็ก พร้อมกันทั่วประเทศ ตลอดจนการสอบสวน และควบคุมโรคในชุมชน เมื่อพบผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก อย่างเฉียบพลันนั้น ส่วนใหญ่บรรลุเกณฑ์มาตรฐานแล้ว เมื่อพิจารณาในภาพรวม ของประเทศ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายพื้นที่ย่อย ยังพบพื้นที่ ที่ยังไม่เข้าเกณฑ์มาตรฐาน และอาจเป็นแหล่งรังโรค หรืออาจเกิดการระบาดขึ้นได้ หากมีการนำเชื้อ เข้ามาจากนอกพื้นที่ หรือนอกประเทศ นอกจากนี้จากรายงานข้อมูล การระบาดพบว่า ได้เกิดโรคโปลิโอขึ้น ในประเทศพม่าใน พ.ศ.2542-2543 เป็นจำนวน 8 ราย หลังจากที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยโปลิโอในประเทศนี้มาเป็นเวลานานถึง 3 ปีแล้ว นับเป็นเหตุสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้ประเทศไทย จะต้องเร่งรัดดำเนินการ ให้แน่ใจว่าทุกพื้นที่ในประเทศ มีความพร้อมที่จะสกัดกั้น การแพร่โรคที่อาจเล็ดลอดเข้ามาได้
กระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาเห็นว่า การที่ประเทศไทยจะสามารถกวาดล้าง โรคโปลิโอได้ทันภายในระยะตามเป้าหมาย ภายใต้สภาวะ ที่ยังมีจุดอ่อนของการเฝ้าระวังโรค และการป้องกันโรค อยู่ในหลายพื้นที่ และยังมีความเสี่ยง ที่จะมีการถ่ายทอดโรค จากภายนอกประเทศ จำเป็นต้องเร่งรัด การดำเนินงานให้บรรลุ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ให้ครบทั้ง 4 มาตรการในพื้นที่ ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์กำหนด ซึ่งในปี 2543 มีจังหวัดที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 67 จังหวัด จังหวัดที่ผ่านเกณฑ์ฯ มี 9 จังหวัด คือ อ่างทอง สิงห์บุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ร้อยเอ็ด อุทัยธานี พิจิตร และพังงา ที่ไม่ต้องดำเนินการรณรงค์ฯ แต่มี 5 จังหวัดคือ อ่างทอง สิงห์บุรี อุทัยธานี พิจิตร และพังงา ที่ต้องการร่วมรณรงค์ฯ ในปีนี้ด้วย และมี 2 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ที่ขอร่วมรณรงค์ฯ ในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ ดังนั้น ในปี 2543 จึงมีจังหวัดที่ทำการรณรงค์ฯ รวม 74 จังหวัด เพื่อปกป้องจุดอ่อน และเพิ่มหลักประกัน ความสำเร็จของการกวาดล้าง โปลิโอในประเทศ วัตถุประสงค์
เพื่อให้วัคซีนโปลิโอ 2 ครั้ง แก่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ในพื้นที่ 74 จังหวัด ให้มีความครอบคลุมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ในทุกพื้นที่เป็นรายตำบล เพื่อให้เด็กกลุ่มอายุดังกล่าว มีภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอ สูงเพียงพอที่จะป้องกัน การถ่ายทอดเชื้อโรคโปลิโอ ชนิดก่อโรค อันเป็นมาตรการเสริมการกวาดล้าง โรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย
กลุ่มประชากรและพื้นที่เป้าหมาย
กำหนดให้ดำเนินการในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ใน 74 จังหวัด โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
2. กลุ่มเป้าหมายปกติ
กลุ่มเป้าหมายพิเศษ
คือเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่มีโอกาสที่จะพลาดการได้รับวัคซีนในช่วงการรณรงค์ฯ เด็กกลุ่มนี้เสี่ยงต่อการ เกิดโรคโปลิโอ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีลักษณะจำแนกได้ดังต่อไปนี้
กลุ่มเป้าหมายปกติ
คือ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ในพื้นที่ทั่วไปที่ผู้ปกครองสามารถนำมารับวัคซีนโปลิโอในวันรณรงค์ฯ ได้ กำหนดการรณรงค์
ครั้งที่ 1 รณรงค์ฯ วันที่ 21 ธันวาคม 2543
ครั้งที่ 2 รณรงค์ฯ วันที่ 18 มกราคม 2544 กลวิธีดำเนินการ
การจัดตั้งประสานงาน
ด้วยเหตุที่การรณรงค์ให้วัคซีน ป้องกันโปลิโอ ต้องใช้ความพยายาม ปฏิบัติการเป็นพิเศษในพื้นที่กว้างขวาง มีเป้าหมายอัตราครอบคลุมสูง และต้องปฏิบัติ ให้เสร็จสิ้นในระยะเวลาสั้น เพียง 1 วัน จึงจำเป็นจะต้อง ระดมความร่วมมือของหน่วยงาน องค์กร และบุคคล ในภาครัฐภาคเอกชน และชุมชนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนกลาง ในระดับจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในท้องถิ่น ทั้งในด้านการวางแผน การจัดหาทุนและสิ่งสนับสนุน การประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติงานในวันรณรงค์ฯ
ในส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รับผิดชอบประสานงาน โครงการฯ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอก กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งองค์กร ภาคเอกชน องค์กรการกุศล และองค์กรระหว่างประเทศ ทั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้งคณะกรรมการกวาดล้างโปลิโอแห่งชาติ และคณะกรรมการ ดำเนินการกวาดล้าง โปลิโอแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงาน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ดำเนินการ ในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งประสานสนับสนุน และควบคุมกำกับการดำเนินงาน ให้เป็นไปตามแผน ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ในระดับภูมิภาคประสานการดำเนินงาน โดยเครือข่ายระบบบริหารสาธารณสุข ของกระทรวงฯ อาศัยคณะกรรมการ ประสานการพัฒนา สาธารณสุขเขต (คปสข.) เป็นกลไกประสานงาน และกำกับการดำเนินงาน ในระดับเขต โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงเป็นประธาน
ในระดับจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน โดยประสานความร่วมมือ จากหน่วยงาน และองค์กร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน สำหรับพื้นที่เฉพาะเช่น ค่ายทหาร ตำรวจ ค่ายผู้อพยพ ดำเนินการโดยหน่วยแพทย์ ที่รับผิดชอบดูแลพื้นที่นั้น ภายใต้การสั่งการจากต้นสังกัด ในส่วนกลาง ทั้งนี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ระดับจังหวัด หรือใช้คณะกรรมการ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นกลไกประสานงานและสนับสนุนการดำเนินงานการจัดหางบประมาณและสิ่งสนับสนุน
กระทรวงสาธารณสุข จะจัดหาวัคซีน วัสดุอุปกรณ์ สื่อสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ และสิ่งสนับสนุนอื่น รวมทั้งค่าใช้สอยเพิ่มเติม จากงบประมาณประจำปี และจากความสนับสนุน ขององค์กรภาครัฐ และเอกชนภายในประเทศ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนให้แก่จังหวัด นอกเหนือจากนี้สำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด สามารถใช้ค่าใช้สอยจากงบประมาณประจำปี สำหรับการพัฒนา บริการสาธารณสุข ที่ได้รับจัดสรรไปแล้ว และอาจจัดหางบประมาณ และสิ่งสนับสนุนเพิ่มเติม ตามความจำเป็น จากความร่วมมือขององค์กรในท้องถิ่น
กรมควบคุมโรคติดต่อจะจัดส่งวัคซีน และสิ่งสนับสนุนต่างๆ ให้แก่จังหวัด ผ่านทางสำนักงาน ควบคุมโรคติดต่อเขต ตามระบบปกติก่อนการปฏิบัติการการประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการดำเนินการกวาดล้าง โปลิโอแห่งชาติ จะขอความร่วมมือ จากสื่อมวลชนให้ดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ในวงกว้าง ผ่านสื่อมวลชนสาขาต่างๆ ทั้งในระดับจังหวัด และในท้องถิ่น เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ และประชาชนทราบ เกี่ยวกับการรณรงค์ฯ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ สนับสนุนและเตรียมตัวรับบริการการดำเนินการรณรงค์ฯ
ในการทำแผนปฏิบัติการการรณรงค์ฯ ในแต่ละพื้นที่ ต้องมีการสำรวจจำนวนเด็กในเป้าหมาย โดยเฉพาะเด็กกลุ่มเป้าหมายพิเศษ หน่วยงานผู้ให้บริการ ควรมีบัญชีเด็กในเป้าหมายพร้อม ก่อนการรณรงค์ฯ และเมื่อให้วัคซีนแก่เด็กแล้ว ผู้ให้บริการต้องลงบันทึก การให้บริการตามแบบที่จังหวัดกำหนด หรือเลือกใช้ เพื่อให้หน่วยบริการ ทุกระดับสามารถตรวจสอบได้ว่า ให้วัคซีนได้ความครอบคลุม มากน้อยเพียงใด โดยจำแนกพื้นที่เป็นรายตำบล และสามารถติดตามให้วัคซีน แก่เด็กที่ยังไม่ได้รับ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับผิดชอบพื้นที่ ทำการนัดหมายเวลา และสถานที่การให้วัคซีน ผ่านทางอาสาสมัคร ผู้นำชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทางสื่อต่างๆ ผู้ให้วัคซีนคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่รับผิดชอบพื้นที่ หรือบุคลากรอื่น และกลุ่มอาสาสมัคร ที่ได้รับการฝึกอบรม และแนะนำให้รู้วิธีปฏิบัติเป็นอย่างดีแล้ว
สำหรับวิธีการให้วัคซีน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ ในคู่มือแนวทางการรณรงค์ ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็ก พร้อมกันทั่วประเทศปี 2543 ของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกำหนดให้ วัคซีนโปลิโอการรณรงค์ 2 ครั้ง แก่เด็กในเป้าหมาย โดยไม่คำนึงถึงประวัติ การได้รับวัคซีนที่ผ่านมา และเน้นการให้บริการ วัคซีนถึงประตูบ้าน (door - to - door) เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า เด็กในกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนทุกคนการนิเทศ ติดตามและควบคุมกำกับ
มีการนิเทศติดตาม และควบคุมกำกับตามแผนปฏิบัติงาน เพื่อเสริมความพร้อม ของหน่วยงานสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในทุกระดับอย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนการรณรงค์ฯ โดยเฉพาะพื้นที่ที่คาดว่าอาจเกิดปัญหาการประเมินผล
เมื่อเสร็จสิ้นการรณรงค์ฯ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวบรวมผลการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานบริการ ภายในจังหวัด ประเมินความครอบคลุม ของการรณรงค์ให้วัคซีน และส่งรายงานให้คณะกรรมการ ประสานงานการพัฒนาสาธารณสุขเขต (คปสข.) ทราบ เพื่อประมวลผล ความครอบคลุมในระดับเขตแล้ว คปสข. ส่งข้อมูลของระดับเขต ให้กระทรวงสาธารณสุข เพื่อสรุปเป็นความครอบคลุม ของทั้งประเทศต่อไปงบประมาณ
งบประมาณสำหรับรณรงค์ฯ ซึ่งจัดสรรจากงบประมาณประจำปีของกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย
รวม 60,660,000.00 บาท และได้รับการสนับสนุนวัคซีน เพิ่มเติมบางส่วน จากศูนย์ควบคุม และป้องกันโรค ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านทางองค์การยูนิเซฟหน่วยงานที่รับผิดชอบ
กระทรวงสาธารณสุขหน่วยงานที่ร่วมดำเนินการ
1. สำนักการแพทย์ และสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร
2. สภากาชาดไทย
3. กระทรวงกลาโหม
4. กระทรวงมหาดไทย
5. กระทรวงศึกษาธิการ
6. กรมประชาสัมพันธ์
7. โรตารี่สากลผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถดำเนินการรณรงค์ ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ใน 74 จังหวัด โดยได้รับความร่วมมือ สนับสนุนด้วยดี ในด้านทรัพยากร การประชาสัมพันธ์ และปฏิบัติการ จากหน่วยงาน และองค์กรในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งบุคคลและกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ
2. เด็กในกลุ่มเป้าหมาย ได้รับวัคซีนโปลิโอ มีความครอบคลุม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 ในการรณรงค์ฯ แต่ละครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
3. เสริมประสิทธิภาพมาตรการการ กวาดล้างโปลิโอทั้ง 4 มาตรการในทุกพื้นที่ จะเป็นผลให้สามารถ กวาดล้างโรคโปลิโอให้หมดไปจากประเทศไทย--จบ--
-สส-
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit