ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดระบบโทรทัศน์ซ่อนคำบรรยายภาษาไทย – อังกฤษสำเร็จ

กรุงเทพฯ--27 ต.ค.--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.เอกชัย ลีลารัศมี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการพัฒนาระบบโทรทัศน์ที่สามารถซ่อนคำบรรยายภาษไทย – อังกฤษ โดยรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า โทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นระบบ PAL ซึ่งยังไม่มีการพัฒนาเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีวงจรถอดรหัสคำบรรยายภาพไทยและอังกฤษในระบบ PAL จึงได้พัฒนาระบบโทรทัศน์ที่ซ่อนคำบรรยายภาพขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้พิการทางหู หรือคนปกติที่ต้องการฝึกฝนภาษาจากการชมรายการและผู้สูงอายุที่ได้ยินไม่ชัด โดยนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาพัฒนาระบบวิดีทัศน์ 3 ชิ้น ได้แก่ เครื่องเข้ารหัสคำบรรยายภาพ เครื่องถอดรหัสคำบรรยายภาพภาษาไทย –อังกฤษ และแผงทีวีไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ถอดรหัสคำบรรยายภาพ โดยมีหลักการทำงานคือ เครื่องเข้ารหัสจะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์รับข้อมูลคำบรรยายภาพที่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แล้วแทรกข้อมูลนั้นลงในสัญญาวิดีทัศน์ ส่วนเครื่องถอดรหัสจะติดตั้งอยู่กับเครื่องรับโทรทัศน์ธรรมดา เพื่อทำให้สามารถแสดงคำบรรยายภาพที่ซ่อนมาได้ โดยภายในเครื่องจะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ชนิด 8 บิด ทำงานร่วมกับวงจรกำเนิดรูปแบบอักขระที่ออกแบบเป็นพิเศษ ให้สามารถแสดงอักขระทั้งไทยและอังกฤษด้วยความละเอียดชนิด 32 x 16 จุด ส่วนทีวีไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น ถูกพัฒนาขึ้นมาบนเกตเอะเรย์โดยรวม วงจรถอดรหัสอยู่ภายในจึงสามารถนำไปสร้างต้นแบบโทรทัศน์ที่สามารถแสดงคำบรรยายภาพไทย – อังกฤษได้เอง--จบ-- -สส-

ข่าวสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

วิศวะมหิดล รวมพลัง 3 องค์กร เดินหน้า เฟส 3 พัฒนาระบบโลจิสติกส์และ Big Data สาธารณสุขไทย

สามองค์กรผู้นำระบบเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคของไทย ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศูนย์การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสุขภาพ (LogHealth) และ สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ลงนาม MOU ข้อตกลงความร่วมมือเดินหน้าเฟส 3 "โครงการศึกษาวิจัยเพื่อออกแบบและพัฒนาระบบโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐานและระบบบูรณาการข้อมูลสารสนเทศและ Big Data ด้านสาธารณสุข" ในงานสัมมนาวิชาการ Thailand Healthcare & HealthTech

นักวิจัย ม.มหิดล คว้ารางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2563 คิดค้นยาชีวภาพแอนติบอดีมนุษย์สำหรับรักษาโรคไข้เลือดออก

เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์พงศ์ราม รามสูต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยแอนติบอดี และ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์สังคมและสิ่งแวดล้อม คณะเวชศาสตร์เขตร้อน...

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม น... นศ.สาขาเคมีสวนสุนันทาคว้า “เหรียญทองแดง” งานวิจัยแห่งชาติ’62 — เมื่อเร็วๆ นี้ นายนันทวัฒน์ ขยันกสิกรรม นางสาวจิตตรา มาแสวง และนางสาวเกศินี ปาทา นักศึกษาชั...

นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิ... ภาพข่าว: ไอแบงก์ ร่วมยินดีอ.มะรอนิง ประธานที่ปรึกษาด้านศาสนารับรางวัลวิจัยระดับประเทศ — นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย ผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก...

เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินด... แสดงความยินดีกับนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ — เพื่อนๆ รอคิวยาวเพื่อจะเลี้ยงแสดงความยินดีกับ ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์...

ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาต... ปฎิทินข่าว — ปฎิทินข่าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำวันเสาร์ ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2562 เวลา 09.00 น. ณ ฮอลล์ 102-104 ศูนย์นิทรรศการ...