สมาคมทรัพย์สินทางปัญญา จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญากับปัญหาโดเมนเนม"

กรุงเทพฯ--23 พ.ย.--สมาคมทรัพย์สินทางปัญญา สมาคมทรัพย์สินทางปัญญา จัดสัมมนาในหัวข้อเรื่อง "ทรัพย์สินทางปัญญากับปัญหาโดเมนเนม" มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องการจดทะเบียนโดเมนเนม และปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อคิดเห็นในการแก้ปัญหาข้อพิพาทในเรื่องโดเมนเนม โดยวิทยากรที่เข้าร่วมการสัมมนา เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนโดเมนเนม อาทิ วิชัย อิรยะนันทกะ ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ธีรพล สุวรรณประทีป นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญา ชยา ลิมจิตติ ผู้แทนจาก THNIC พิพัฒน์ ยอดพฤติการ จากชื่อไทย.คอม ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสมาคมอินเทอร์เน็ต ฯลฯ โดเมนเนมเปรียบเสมือนเครื่องหมายทางการค้า ดังนั้น การจดทะเบียนนั้นถือว่าเป็นการแสดงสิทธิของชื่อนั้นๆ ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับละเมิดชื่อโดเมนเนมกำลังเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้าง มาตรการคุ้มครองตามกฎหมายไทย โดยมีสาเหตุมาจากการที่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้นำชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายทางการค้า หรือเครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น ไปยื่นหรือใช้จดทะเบียนโดเมนเนมทั้งในระดับสากล และในระดับประเทศ จึงเป็นที่น่ากังวลว่า หากการกระทำนั้น เกิดขึ้นในประเทศไทยและกลายเป็นปัญหาที่ลุกลาม กฎหมายไทยจะให้ความค้มครอง แก่ชื่อทางการค้าโดเมนเนมอย่างไร วิชัย อริยะนันทกะ ผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า ปัญาหาในเรื่องการจดทะเบียนโดเมนเนมมแม่ว่าในไทยยังไม่มีปัญหามากนัก การนำข้อกฎหมายมาเป็นข้อบังคับในขณะนี้สามารถใช้กฎหมายประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 5 ,421 ,18 ประมวลกฎหมายอาญา และพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า หากว่าผู้ที่จดทะเบียนไปแล้วเกิดปัญหากรณีที่มีบุคคลอื่นอ้างสิทธิในการใช้สิทธิเช่นกัน ทางแก้ปัญหาในขั้นแรกจะต้องไปติดต่อกับบริษัทที่ได้จดทะเบียนนั้นเพื่อแสดงสิทธิก่อน ซึ่งบริษัทนั้นจะพิจารณาดูว่าใครมีสิทธิที่ดีกว่า เมื่อมีการพิสูจน์แล้ว ว่าใครคือผู้ที่มีสิทธิที่ดีกว่านั้น บริษัทนั้นจะทำการเพิกถอนและโอนสิทธิให้แก่ผู้นั้น หากบริษัทที่รับจดทะเบียนโดเมนเนมไม่สามารถตัดสินได้ก็จะนำเรื่องเสอนต่อ อนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นบุคคลกลางในการตัดสิน ด้านพิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรรมการผู้จัดการบริษัทชื่อไทย.คอม จำกัด เปิดเผยว่า แม้ว่าหน้าที่หลักของผู้ที่ให้บริการรับจดทะเบียนโดเมนเนม คือการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท แต่ในเรื่องของภาระกิจที่ผู้จดทะเบียนโดเมนเนมแต่ละรายควรให้ความร่วมมือ นั่นคือ การสร้างบริการที่ดีเพื่อไม้ให้เกิดความสับสนว่าลูกค้าจะมีสิทธิในชื่อนั้นๆหรือไม่ อีกทั้งการสร้างฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้ให้บริการรับจดทะบียนโดเมนเนม เพื่อเป็นการสำรวจว่าชื่อที่ผู้ที่ทการขอทดทะเบียนนั้นไม่ว็ซ้อนกับผู้อื่น เนื่องจากมีลูกค้าบางราย ได้จดทะเบียนกับบริษัทรับจดทะเบียนโดเมนเนม และต่อมาพบว่าบริษัทนั้นได้ปิดกิจการ แต่ระยะเวลาในการถือครองสิทธิในชื่อนั้น ยังมีอยู่แต่ไม่สามารถติดตามบริษัทเหล่านั้นได้ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน นายกสมาคมอินเตอร์เน็ต ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผู้ที่จดทะเบียนโดเมนเนมว่า ทันทีที่มีการทำสัญญาขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ใช้บริการจะต้องขอเอกสารจาก Registra ไว้ และในช่อง admin ให้กรอกชื่อของผู้ใช้บริการเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาอื่น ๆ--จบ-- -สส-

ข่าวสมาคมทรัพย์สินทางปัญญา+การค้าระหว่างประเทศวันนี้

พลิกอนาคตทรัพย์สินทางปัญญา: กรมทรัพย์สินฯ - IPAT - Baker McKenzie ชวนภาคธุรกิจเปิดมุมมองพัฒนากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อวางทิศทางแห่งอนาคต AI

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2568 กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมทรัพย์สินทางปัญญา แห่งประเทศไทย (IPAT) และบริษัท เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ จำกัด จัดเสวนาครั้งสำคัญในหัวข้อ "Innovating Together: Shaping the IP Landscape in the Age of Generative AI" เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และรับฟังความคิดเห็นจากภาคธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีเป้าหมายเพื่อเตรียมสภาพแวดล้อมด้านทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้สามารถนำศักยภาพของ AI มาเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการสร้างนวัตกรรม

อ.พิสิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่... ทีมหนูน้อยจ้าวเวหาไทย สุดเจ๋ง นำโดรนควบคุมระยะไกล คว้ารางวัลที่ประเทศจีน — อ.พิสิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ นำผลงานทีมนัก...

ภาพข่าว: สร้างโอกาสให้แบรนด์

นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ (ที่3 จากซ้าย) ให้การต้อนรับ นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ประธานเจ้าหน้าที่ ฝ่ายการตลาดและฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท พรานทะเล มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (ที่ 3 จากขวา) ในโอกาสเป็นวิทยากรพิเศษในการสัมมนาเรื่อง “...

ภาพข่าว: จัดสัมมนา เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญาไทยในเวทีการค้าโลก”

ปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานเปิดการสัมมนา เรื่อง “ทรัพย์สินทางปัญญาไทยในเวทีการค้าโลก” จัดโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยมี ชยธวัช อติแพทย์ นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย และคณะวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ...

กิจกรรม IP TALK "ปัญหาการปรับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550"

สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาฯ ขอเรียนเชิญท่านและพนักงานในหน่วยงานของท่านเข้าร่วมสัมมนากิจกรรม IP TALK ประจำเดือนมีนาคม 2552 ในหัวข้อ “ปัญหาการปรับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550” ...

สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาฯ จัดสัมมนากิจกรรม IP TALK หัวข้อ “การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์”

สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาฯ ขอเรียนเชิญท่านและพนักงานในหน่วยงานของท่านเข้าร่วมสัมมนากิจกรรม IP TALK เดือนกุมภาพันธ์ 2552 ในหัวข้อ “การละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์” (INFRINGEMENT OF CINEMATOGRAPHIC WORKS) บรรยายไทย ...

เผยแพร่ความรู้

ชุมพิชัย สวัสดิ์-ชูโต ผู้อำนวยการศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา, คาซุฮิโกะ ทาเคดะ รองผู้อำนวยการฝ่ายเผยแพร่ข้อมูลและส่งเสริมนโยบายสำนักงานสิทธิบัตรญี่ปุ่น และชยธวัช อติแพทย์ นายกสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา...

กิจกรรม IP TALK ในหัวข้อ "พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (การจัดเก็บข้อมูลการจราจร)"

สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่งประเทศไทย (IPAT) ได้จัดกิจกรรม IP TALK ประจำเดือนธันวาคม 2551 ในหัวข้อ "พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 (การจัดเก็บข้อมูลการจราจร...

กิจกรรม IP TALK ประจำเดือนกันยายน 2551 ในหัวข้อ "ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงกับพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์" บรรยายไทย

สมาคมทรัพย์สินทางปัญญาแห่่งประเทศไทย (IPAT) ได้จัดกิจกรรม IP TALK ประจำเดือนกันยายน 2551 หัวข้อ “ก้าวสู่ความเปลี่ยนแปลงกับพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์" บรรยายภาษาไทย ในวันที่ 18...