ประธานบีเอสเอเยือนไทยพร้อมยกย่องโครงการริเริ่มทางด้านไอที

กรุงเทพ--3 ธ.ค.--บีเอสเอ นายโรเบิร์ต ฮอลลีย์แมน ประธานกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ประจำกรุงวอชิงตัน ดีซี อยู่ในระหว่างการมาเยือนประเทศไทยเพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงประโยชน์ของ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อสังคม นอกจากนี้ การเดินทางมาครั้งนี้ของนายฮอลลีย์แมนยังมีจุดประสงค์เพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคและกาล่า ดินเนอร์ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในวาระครบรอบ 1 ปีของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง อีกทั้งเพื่อรับทราบรายละเอียดของความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างบีเอสเอ สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยและสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยในปัจจุบันและเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การพัฒนาความสามารถทางด้านซอฟต์แวร์ภายในประเทศไทย การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย กำลังเป็นภัยคุกคามที่จะทำลายอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์โดยรวม และนักพัฒนาในประเทศไม่มีเครื่องมือหรือทรัพยากรใดๆ ที่จะใช้ต่อสู้กับการคุกคามดังกล่าวได้ นอกจากนั้น ผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใหม่ๆ ก็คงจะไม่ต้องการลงทุนในธุรกิจที่อาจจะมองไม่เห็นโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ดี บีเอสเอเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและในภูมิภาคนี้ จึงหวังที่จะช่วยสร้างแนวทางในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นายฮอลลีย์แมน กล่าวว่า "อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นภาคหนึ่งของอุตสาหกรรมไอทีทั่วโลกที่มีความก้าวหน้าและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จึงมีบทบาทอย่างมากต่อนักพัฒนา ผู้ใช้ และชุมชนทั่วไป ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงค่านิยมดั่งเดิมทางด้านเสถียรภาพของเศรษฐกิจและในขณะที่ตลาดทั่วโลกำลังมุ่งไปสู่เศรษฐกิจและธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ต้องอาศัยข้อมูล การใช้งานซอฟต์แวร์และคอมพิวเตอร์จะยิ่งมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในสังคม เมื่อเป็นเช่นนั้นการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญ" สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) และสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย (เอทีซีไอ) ต่างตระหนักถึงความจำเป็นในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยอย่างจริงจัง และให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศอย่างแน่วแน่ เพื่อสร้างความเป็นปึกแผ่น บีเอสเอ เอทีเอสไอ และเอทีซีไอได้ประกาศที่จะทำงานร่วมกันเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย นายฮอลลีย์แมน ให้ความเห็นว่า "พลังของเราจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น" ส่วนนายอาภรณ์ ศรีพิพัฒน์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย แนะนำว่า "หนทางที่จะช่วยสนับสนุนการต่อต้านละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้ดีที่สุดคือการกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักและเคารพในสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งให้ความรู้แก่ผู้ใช้เพื่อให้พวกเขาทราบถึงความจำเป็นที่จะต้องซื้อโปรแกรมต้นฉบับ การขยายตัวและการแข่งขันในธุรกิจทุกแขนงในอนาคตต้องพึ่งพิงและขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสร้างประสิทธิผล องค์กรทั้งสามหวังไว้ว่าการทำงานร่วมกันในครั้งนี้จะสามารถติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มในการให้ความคุ้มครองทรัยพ์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายเพื่อปกป้องสิทธิของนักพัฒนาและผู้ผลิตทรัพย์สินทางปัญญาได้" ในขณะเดียวกัน ดร. มนู อรดีดลเชษฐ์ นายกสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ไทย กล่าวว่า "การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญามีความสำคัญมากทั้งในทางกฎหมายและเศรษฐกิจ การลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยได้ ถ้านักลงทุนไม่อาจมั่นใจได้ว่าสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมาจะได้รับการคุ้มครองหรือไม่ พวกเขาคงไม่กล้าเป็นแน่ที่จะเข้ามาลงทุนใน อุตสหากรรมของเรา การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเข้มงวดไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ต่อนักพัฒนาของไทยเท่านั้นแต่ยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีพท่ามกลางการละเมิดลิขสิทธิ์ที่รุนแรงอีกด้วย" ความคิดริเริ่มของรัฐบาลไทยในการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางและโครงการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลได้มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสหากรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทยอย่างแท้จริง ดร. รอม หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการ โครงการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กล่าวว่า "อุตสหากรรมซอฟต์แวร์ในประเทศไทยกำลังเติบโตกลายเป็นภาคธุรกิจที่ให้ผลกำไรที่งดงาม ดังนั้น การคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงมีความสำคัญต่อการขยายตัวในอนาคตของอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นอย่างมาก" ดร. รอมยังได้กล่าวชมเชยถึงความพยายามขององค์กรต่างๆ ที่ช่วยกันยับยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ว่า "การที่องค์กรทั้งในและนอกประเทศต่างพากันให้ความสนใจและจะร่วมมือกันเพื่อต่อสู้กับการละเมิดนั้นแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในการขจัดปัญหาที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรม" จากการเปิดเผยของนายฮอลลีย์แมน การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทำให้เกิดการสูญเสียรายได้กว่า 11.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี หากว่าเงินที่สูญเสียไปนี้หมุนเวียนอยู่ในธุรกิจซอฟต์แวร์ที่ถูกกฎหมายจะทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวสร้างความมั่นใจในตลาด และทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค นอกจากนี้ ในระยะยาวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์มหาศาลแก่เศรษฐกิจในประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ และนายฮอลลีย์แมนยังได้แนะอีกว่าปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ควรจะได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ)ได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อเป็นตัวแทนของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลกในการเจรจาเพื่อความร่วมมือกับรัฐบาล และผู้บริโภคในประเทศต่างๆ กิจกรรมของบีเอสเอประกอบด้วยการให้ความรู้ในด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ การสนับสนุนนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมนวัตกรรมและช่วยขยายโอกาสทางการค้าและการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศต่างๆ กว่า 60 ประเทศ สมาชิกระดับโลกของบีเอสเอประกอบด้วยอะโดบี, ออโต้เดสก์, เบนท์เลย์ ซิสเต็มส์, โลตัส ดีเวลลอปเมนท์, ไมโครซอฟท์,โนเวลล์, ไซแมนเท็ค และวิสซิโอ เป็นต้น สมาชิกระดับภูมิภาคเอเชียของบีเอสเอประกอบด้วยอินไพรส์ และมาโครมีเดีย ส่วนที่ปรึกษาทางด้านนโยบายของบีเอสเอประกอบด้วยบริษัทต่างๆ ซึ่งได้แก่ แอปเปิล คอมพิวเตอร์, คอมแพค, ไอบีเอ็ม,อินเทล, อินทูว์ และไซเบส ท่านสามารถติดต่อกับบีเอสเอได้ที่เว็บไซต์ http://www.bsa.org หรือ http://www.nopiracy.com ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปราณี เฉลิมธนศักดิ์ บริษัทคอมมิวนิเคชั่นส์ คอนซัลติ้ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โทร. 619-5971-4 แฟ็กซ์. 278-5340 อีเมล์: [email protected] จบ--

ข่าวการค้าระหว่างประเทศ+สัมมนาระหว่างประเทศวันนี้

อลิอันซ์ เปิดบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ทุกประเทศยังคงเผชิญแรงสั่นสะเทือน คาดไทยได้รับผลกระทบปานกลาง

กลุ่มอลิอันซ์ เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์ ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เข้มข้นขึ้น หลังจากสหรัฐฯ ภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในวาระที่สอง ประกาศใช้มาตรการภาษีแบบตอบโต้ (reciprocal tariffs) โดยตั้งเป้าเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนสูงสุดถึง 130% ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1890 ความเคลื่อนไหวดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการค้าระหว่างประเทศพุ่งสูงขึ้นทันที โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิต และอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระ... DITP ประชุมผู้จัดแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมสู่เวที "THAIFEX - ANUGA ASIA 2025" — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหอการค้าไทย แ...

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัด... "พาณิชย์" จัดงาน Thai Night ส่งเสริมภาพยนตร์-บันเทิงไทยสู่สายตาชาวโลก — กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) จัดงาน Hong Kong Thai Night 2025 งานสร้างเคร...

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่... สสว. จัดงาน "ปลดล็อคความสำเร็จ SME" ปี 2568 — สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จะจัดงานเผยแพร่นโยบาย/โครงการ ภายใต้แผนปฏิบัติการส่ง...