กรมวิชาการเกษตรเร่งวิจัยสารโซเดียมคลอเรท หากได้ผลจะเป็นมิติใหม่ต่อวงการเกษตรไทย

กรุงเทพ--24 มี.ค.--กรมวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เร่งวิจัยการใช้สารโซเดียมคลอเรทบังคับลำไยออกนอกฤดู หากได้ผลผลิตตลอดปี นับเป็นลู่ทางใหม่ต่อเศรษฐกิจและวงการเกษตรไทย นายอนันต์ ดาโลดม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันได้มีการใช้สารโฟแตสเซียมคอลเรท และโซเดียมคลอเรท บังคับให้ลำไยออกดอกนอกฤดูในเขตภาคเหนือ แต่เนื่องจากสารโฟแตสเซียมคลอเรทเป็นสารที่ใช้ในการผลิตวัตถุระเบิด ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมอุตสาหกรรมทหาร กระทรวงกลาโหม ส่วนสารโซเดียมคลอเรทเป็นสารที่ใช้กำจัดวัชพืช ใช้ฆ่าตอไผ่ในสวนยางพารา และได้ถูกยกเลิกใบอนุญาตไปแล้ว ทำให้มีการลักลอบจำหนายและใช้สารดังกล่าวอย่างผิดกฎหมาย จำหน่ายในราคาที่แพงมาก และการปลอมปน ซึ่งอาจมีผลเสียหายต่อชาวสวนลำไยและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อความชัดเจนในเรื่องนี้ กรมวิชาการเกษตร จึงได้หาแนวทางการใช้สารเคมีในการบังคับให้ลำไยออกนอกฤดูอย่างเหมาะสมและใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในราคาพอสมควร โดยร่วมมือกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ในส่วนของกรมวิชาการเกษตรได้มอบให้สถาบันวิจัยพืชสวน เป็นหน่วยงานหลัก ดำเนินการศึกษาวิจัยการใช้สารโซเดียมคลอเรทกับลำไยทุกขั้นตอน ในศูนย์วิจัยต่างๆ ในจังหวัดเชียงราย สุโขทัย อำเภอพบพระ จังหวัดตาก และจังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาทดสอบวิธีการใช้ อัตราการใช้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม คุณภาพของผลผลิต ผลกระทบต่อระบบรากต่อการเจริญเติบโต และต่อสภาพแวดล้อม นอกจากนี้ยังได้เน้นถึงการนำเข้าสารเคมีชนิดนี้ว่า กรมฯ จะเป็นผู้นำเข้า ควบคุม และจำหน่ายเอง โดยร่วมมือกับสถาบันวิจัยพืชสวน ประโยชน์ที่จะได้รับคือ จะได้สารเคมีที่มีคุณภาพ ควบคุมราคาได้โดยไม่ก่อให้เกิดการหาผลประโยชน์ และป้องกันการลักลอกนำเข้าด้วย ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรได้งบประมาณ 7 ล้านบาท ในการดำเนินการวิจัยตามโครงการดังกล่าว--จบ--

ข่าวกรมวิชาการเกษตร+กระทรวงกลาโหมวันนี้

กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานหรือมีลักษณะที่ไม่สวยงามที่จะนำมาขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรต้องขายผลไม้เหล่านี้ในราคาที่ถูกลง หรือนำไปทำอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย หรือปล่อยทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นขยะอาหาร ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทน ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เล็ง

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ... กรมวิชาการเกษตร ปลื้มเทคโนโลยีปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ดินเค็ม ให้ผลผลิตคุณภาพรสชาติหอมหวาน — นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ก...

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ... กรมวิชาการเกษตรเดินสายถ่ายทอดเทคโนโลยี ยกระดับเพาะเลี้ยงไข่ผำ อาหารแห่งอนาคต ด้วยมาตรฐาน GAP — นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ป...