โครงการท่อก๊าซฯ โรงแยกก๊าซฯ ไทย-มาเลเซีย เริ่มศึกษา EIA แล้ว

กรุงเทพ--18 มี.ค.--ปตท. ปตท. ขอให้ประชาชนตามแนวท่อ และบริเวณใกล้เคียงร่วมแสดงความคิดเห็นในระหว่างที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กำลังดำเนินการศึกษา และจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อจักได้นำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงการศึกษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งหากโครงการนี้แล้วเสร็จจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งชุมชน และเศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ นายสุพล ทับทิมจรูญ ผู้จัดการฝ่ายรับผิดชอบงานกรรมสิทธิ์ที่ดิน และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมโครงการร่วมทุนท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และโรงแยกก๊าซฯ ไทย-มาเลเซียเปิดเผยถึงรายละเอียดและความก้าวหน้าโครงการว่า โครงการร่วมทุนฯนี้เป็นการนำก๊าซฯ จากพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย หรือ JDA มาใช้ประโยชน์ทั้งในประเทศไทย และมาเลเซีย ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessmenty : EIA) เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปตท. ได้นำรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ตั้งแต่เริ่มการศึกษา โดยตลอดระยะเวลาของการศึกษา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 10 เดือน (ธันวาคม 2541-กันยายน 2542) นอกจากจะมีการเก็บตัวอย่างทางด้านกายภาพ ชีวภาพ แล้วจะมีการศึกษาสภาพแวดล้อมและผลประทบด้านสังคมด้วย ทั้งนี้ ในการศึกษาฯ ดังกล่าว ทีมงานที่ศึกษาฯ จะจัดให้มีเวทีเสวนาย่อยระดับตำบลทุกตำบลรวม 15 ครั้ง และระดับอำเภอ อีก 4 ครั้ง เพื่อนำข้อเสนอแนะของชุมชนไปประกอบการศึกษา ปรับปรุงป้องกันและแก้ไขผลประทบต่างๆ อนึ่ง ก่อนหน้า การศึกษา EIA ได้มีการศึกษารายละเอียดขอบเขตของ EIA ไปแล้ว โดยเน้นหลักเกณฑ์ที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมเช่นกัน เริ่มจากการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์อย่างโปร่งใส และมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง โดยการเข้าชี้แจงกับส่วนราชการระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โรงเรียน สถาบันการศึกษา กลุ่มผู้นำชุมชน นักวิชาการ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน และเวทีสาธารณะต่างๆ กว่า 100 ครั้ง โครงการท่อก๊าซฯ และโรงแยกก๊าซฯ ไทยเลเซีย เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง ปตท. และเปโตรนาส (บริษัทน้ำมันแห่งชาติ มาเลเซีย) ในอัตราส่วน 50:50 เพื่อพัฒนาการใช้ประโยชน์ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซียหรือ JDA ประกอบด้วยการวางท่อส่งก๊าซฯ ในทะเลจากแหล่งผลิตมาขึ้นฝั่งที่บริเวณ อ.จะนะ จ.สงขลา และไปเชื่อมต่อกับระบบในประเทศมาเลเซีย โดยผ่านชายแดนอำเภอสะเดา จ.สงขลา รวมระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ส่วนโรงแยกก๊าซฯ ซึ่งจากการศึกษาความเหมาะสม คาดว่าจะตั้งที่ อ.จะนะ เป็นโรงแยกขนาดกำลังแยกก๊าซฯ 425 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน ทั้งนี้ตามแผนงานคาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จสามารถรับก๊าซฯ ได้ประมาณปลายปี 2541 หรือ ต้นปี 2545 ซึ่งจะเป็นโครงการพื้นฐานที่ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในภาคใต้ตอนล่างได้ เกิดจากสร้างงานในหลายระดับ และส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศด้วย--จบ--

ข่าวมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์+ท่อส่งก๊าซธรรมชาติวันนี้

ฟอร์ติเน็ต จับมือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยกระดับทักษะไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อส่งมอบนักศึกษาสาขาวิศวกรรมศาสตร์ระดับคุณภาพ ป้อนตลาด ฟอร์

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ขับเคลื่อนการผสานรวมของระบบเครือข่ายและระบบรักษาความปลอดภัยเข้าด้วยกัน ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ผ่านหลักสูตร Network Security Expert (NSE) มุ่งพัฒนาทักษะความรู้และเสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งในภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ในระดับปริญญาตรี โท และเอก เพื่อเตรียมบุคลากร

ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ช... จับตาไทย! ลุยพัฒนา ATMPs-สเต็มเซลล์ พลิกโฉมการแพทย์ เพิ่มโอกาสรักษาโรคร้ายแรง — ไม่ใช่แค่ฝัน! สาธารณสุขจับมือสถาบันแพทย์ชั้นนำ เร่งเครื่องพัฒนา ATMPs-สเต็...

เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทอ... เครือ รพ.พญาไท - เปาโล จับมือ อุทยานวิทยาศาสตร์ ม.อ. พัฒนานวัตกรรมสุขภาพและการแพทย์ — เครือโรงพยาบาลพญาไท เปาโล นำโดย นายอัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหา...

สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineeri... AI Engineering & Innovation Summit 2024 ขับเคลื่อนนวัตกรรม AI ของประเทศไทยสู่ระดับโลก — สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute; AIEI) ร...