สธ.เตรียมวิจัยระบบยารักษาวัณโรคแบบใหม่ ช่วยประหยัดค่ายาได้มากกว่าครึ่งของระบบเดิม

กรุงเทพ--19 มี.ค--กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเตรียมศึกษาวิจัยระบบยารักษาวัณโรคแบบใหม่ที่จะช่วยประหยัดค่ายาได้มากกว่าครึ่งของค่ายาในระบบยาเดิมที่ใช้ในโครงการ DOTS ซึ่งผู้ป่วยต้องรับประทานยาทุกวันแต่ระบบยาแบบใหม่นี้เป็นแบบเว้นระยะรับประทานยาเพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้งเท่านั้นคาดว่าจะประเมินผลได้ในอีก 1 ปีข้างหน้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่กระทรวงสาธารณสุขนายแพทย์ปรากรม วุฒิพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะประกอบด้วย นายแพทย์ยุทธ โพธารามิกอธิบดีกรมควบคุมโรคติดต่อ , นายแพทย์นัดดา ศรียาภัย ที่ปรึกษาด้านวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ, Dr.E.B.Doberstyn ผู้แทนองค์การอนามัยโลก , Dr. Holges Sawert ที่ปรึกษาองค์การอนามัยโลกด้านวัณโรค , นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒนผู้ทรงคุณวุฒิด้านเวชกรรมป้องกัน และ นายแพทย์วัลลภ ปายะนันทน์ ผู้อำนวยการกองวัณโรคได้ร่วมกันแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง "การควบคุมวัณโรคในยุค IMF " ว่า หลังจากที่กระทรวงสาธารณศุขได้นำระบบยารักษาวัณโรคแบบ DOTS คือการให้ผู้ป่วยรับประทานยาวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 เดือน มาใช้และพบว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจไปแล้วนั้น ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขกำลังจะดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อหาระบบยารักษาวัณโรคที่ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าเดิมโดยจะทดลองให้ผู้ป่วยรับประทานยาในขนาดเดิม แต่รับประทานเพียงสัปดาห์ละ 3 วัน คือ จันทร์ พุธศุกร์ เท่านั้น ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก จากระบบยาเดิมมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 บาทเหลือเพียง 1,000 บาท ต่อผู้ป่วย 1 ราย เท่านั้นโดยจะเริ่มศึกษาวิจัยประมาณเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ใช้เวลาประมาณ 1 ปีก็สามารถประเมินผลได้ หากพบว่าได้ผลดีเท่าเทียมกับระบบยาแบบเดิมก็จะช่วยให้ประหยัดงบประมาณค่ายาลงได้มาก ซึ่งจะสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง โครงการรักษาวัณโรคแแบบ DOTS ( Directly Observed Treatment , Shortcourse )หรือการรักษาผู้ป่วยวัณโรคแบบมีพี่เลี้ยงคอยดูแลการรับประทานยาของผู้ป่วยให้ครบถ้วนทุกมื้อได้เริ่มดำเนินการใน 8 อำเภอนำร่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2539พบว่าเมื่อรักษาครบระยะเข้มข้น 2-3 เดือนแรกผู้ป่วยมีผลการตรวจเสมหะหาเชื้อวัณโรคเปลี่ยนจากบวกเป็นลบถึงร้อยละ 86 และเมื่อรักษาครบ 6เดือนปรากฎว่าผู้ป่วยมีอัตราการรักษาหายขาดสูงถึงร้อยละ 80นับเป็นการตัดวงจรการแพร่เชื้อที่แหล่งแพร่เชื้อโดยตรง และช่วยลดปัญหาเชื้อดิ้อยาซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าผู้ป่วยทั่วไปเนื่องจากการรักษาผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาต้องเสียค่าใช้จ่ายหลายหมื่นบาทต่อรายจึงอาจกล่าวได้ว่า โครงการ DOTS นั้นประสบความสำเร็จทั้งในแง่ผลการรักษาและช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศซึ่งในขณะนี้ได้ขยายพื้นที่ดำเนินการโครงการดังกล่าวจนครบทุกจังหวัดแล้ว จังหวัดละ 2 อำเภอและจะดำเนินการให้ครบทุกอำเภออย่างช้าที่สุดภายในปี พ.ศ.2544 นี้ สำหรับสถานการณ์วัณโรคของประเทศต่างๆทั่วโลก พบว่า วัณโรคเคยเป็นโรคที่เกือบจะถูกลืมแต่ ผลกระทบจากโรคเอดส์ทำให้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคกลับเพิ่มขึ้นในหลายๆประเทศจนกระทั่งในเดือนเมษายน พ.ศ.2536 องค์การอนามัยโลกต้องประกาศว่าวัณโรคเป็นเรื่องฉุกเฉินระดับสากล สำหรับในประเทศไทยจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเริ่มสูงขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2535 หลังจากที่ลดลงไปมากแล้ว และถึงแม้ว่าโดยภาพรวมของประเทศจะสูงขึ้นไม่มาก แต่ในพื้นที่ที่มีปัญหาเอดส์สูง เช่นภาคเหนือตอนบน การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยวัณโรคปรากฎชัดเจนกว่าภาคอื่นๆแต่ยังนับว่าโชคดีที่ฐานจำนวนผู้ป่วยวัณโรคเดิมในพื้นที่นี้มีไม่มากนักจึงมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 400-500 คนเท่านั้นส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีผู้ป่วยวัณโรคหนาแน่นที่สุดปีละ 8,000-9,000 คน นั้นยังได้รับผลกระทบน้อยกว่า เนื่องจากสถานการณ์เอดส์ไม่รุนแรงเหมือนภาคเหนือตอนบน เมื่อสถานการณ์เอดส์ชะลอตัวลงในระยะ2-3ปีที่ผ่านมาทำให้สามารถตรึงจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ไม่ให้เพิ่มขึ้นมากนักในปัจจุบันนี้จำนวนผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้โครงการ DOTS เป็นโครงการหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 72 พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี2542 อีกด้วย คาดว่าหากโครงการ DOTS สำเร็จตามเป้าหมาย ปัญหาวัณโรคจะเริ่มลดลงในปี พ.ศ.2544 เป็นต้นไป และในอีก 17 ปี ข้างหน้าวัณโรคจะลดลงมากจนไม่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของประเทศอีกต่อไป และหากการศึกษาวิจัยระบบยาแบบเว้นระยะประสบความสำเร็จก็จะช่วยให้การควบคุมวัณโรคได้ผลดียิ่งขึึ้้น ขณะเดียวกันยังสามารถประหยัดงบประมาณค่ายาไปพร้อมๆกันอีกด้วย --จบ--

ข่าวอธิบดีกรมควบคุมโรค+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

ทีม SEhRT ผลัด 2 รับไม้ต่อร่วมจัดการสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อมในประเทศเมียนมาเหตุแผ่นดินไหวเสี่ยงสุขภาพประชาชน

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีม SEhRT ผลัด 2 ปฏิบัติภารกิจด้านสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมกับทีมปฏิบัติการฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข (Thailand EMT) ผลัด 2 เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว ณ เมืองมัณฑะเลย์ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมาย นายแพทย์อุดม อัศวุตมางกุร สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 4 พร้อมด้วย นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สุทัศน์ โชตนพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นายภิญญาพัชญ์ จุลสุข

แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอ... กรมอนามัย ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย รณรงค์ป้องกัน “4 เน้น 4 เดือน” ลดผู้ป่วยไข้เลือดออก — แพทย์หญิงอัจฉรา นิธิอภิญญาสกุล อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายแพทย์หญิงนงนุช...

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนต... รองนายกฯ บรรยายการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ — อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง ...

คุณสุพร วัธนเวคิน (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานก... มูลนิธิอิออนประเทศไทย ร่วมบริจาคสิ่งของให้กรมควบคุมโรค เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม — คุณสุพร วัธนเวคิน (ที่ 2 จากซ้าย) ประธานกรรมการมูลนิธิอิออน ประ...