กทพ.ว่าจ้าง ม.มหิดล ศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

กรุงเทพ--29 พ.ค.--กทพ. วานนี้ (28 พฤษภาคม 2541) เวลา 10.00 น. นายปรีชา ศรีทองสุข รองผู้ว่าการฝ่ายวิชาการ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ ผศ.นายแพทย์บุญรัตน์ เอื้อสุดกิจ รองอธิการบดี ฝ่ายการคลัง มหาวิทยาลัย ได้ร่วมลงนามในสัญญาว่างจ้าง มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของระบบทางด่วนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร 2 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ถนนพหลโยธิน โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามแนวสายทางของโครงการระบบทางด่วนภายหลังเปิดให้บริการแล้ว เพื่อนำเสนอสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และตามข้อกำหนดของสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมที่ระบุไว้ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนาและกำหนดแนวทางในการจัดให้มีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากโครงการระบบทางด่วนและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนที่พักอาศัยอยู่ริมทางด่วน การศึกษาและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะศึกษาตามแนวสายทางของทางด่วนที่เปิดให้บริการแล้ว ประกอบด้วย โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 1, โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 2 และโครงการระบบทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์ โดยตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ดังนี้ ตรวจวัดระดับเสียงรบกวน ระดับความสั่นสะเทือน คุณภาพน้ำ คุณภาพอากาศ โดยใช้ระยะเวลาศึกษา 8 เดือน งบประมาณ 2,452,800 บาท ทั้งนี้การทางพิเศษฯ จะนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางกำหนดวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อไป อนึ่ง ก่อนหน้านี้การทางพิเศษฯ ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำเนินการศึกษาและติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากโครงการระบบทางด่วน ระหว่างปี 2537-2539 ซึ่งจากผลการศึกษา การทางพิเศษฯ ได้นำมาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่มหาวิทยาลัยเสนอไปดำเนินการเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการระบบทางด่วน ทั้งในช่วงระหว่างการก่อสร้าง และภายหลังเปิดให้บริการโครงการ เช่น ได้ดำเนินการติดตั้งกำแพงกั้นเสียงเพิ่มเติมในบริเวณต่างๆ อีกหลายแห่ง รวมทั้งกำหนดแผนการตรวจวัดระดับเสียงตลอดแนวสายทางชองโครงการระบบทางด่วนกรณีที่รับเรื่องร้องเรียนและจัดเจ้าหน้าที่ด้านสิ่งแวดล้อมให้ติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านเสียงอันเกิดจากโครงระบบทางด่วนเป็นประจำและต่อเนื่องอีกด้วย--จบ--

ข่าวการทางพิเศษแห่งประเทศไทย+บุญรัตน์ เอื้อสุดกิจวันนี้

กทพ. สร้างประวัติศาสตร์! รวมพลังมวลชนเดิน-วิ่งลอยฟ้าสะพานทศมราชัน บันทึกความทรงจำโอกาสพิเศษเดียวในชีวิตนักวิ่ง

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) รวมพลังมวลชนสร้างประวัติศาสตร์! กว่า 12,000 คนในกิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า มหกรรมสุขเต็มสิบ บนสะพานทศมราชัน แสดงความสามัคคีและเฉลิมฉลองการเปิด "สะพานทศมราชัน" ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โอกาสครั้งเดียวในการสัมผัส และบันทึกความทรงจำบนสะพานแห่งความภาคภูมิใจของคนไทย ก่อนเปิดใช้งานจริงในวันที่ 29 มกราคม 2568 นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวในนามการทางพิเศษฯ "ขอขอบคุณประชาชนคนไทยทั่วประเทศ และชาวต่างชาติทุกท่าน ที่มาร่วมบันทึกความทรงจำในกิจกรรม

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเหล่าภา... 6 วันสุดท้าย โอกาสร่วมกิจกรรม เดิน-วิ่งลอยฟ้าบนสะพานทศมราชัน ในมหกรรมสุขเต็มสิบ — การทางพิเศษแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยเหล่าภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ข...

การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพร้อมพันธมิตรทั้ง... ขั้นตอนสำคัญ ก่อนขึ้นชมสะพานทศมราชัน ในงานมหกรรมสุขเต็มสิบ — การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพร้อมพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วม "มหกรรมสุขเต...

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคม... กทพ. ชวนคนไทยสร้างประวัติศาสตร์ในงาน "มหกรรมสุขเต็มสิบ" — การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เตรียมจั...

นางธัญนภัส มณีศรี ผู้อำนวยการเขตคลองสามวา... เขตคลองสามวาจัดเก็บขยะ-ทำแนวรั้วกั้นชั่วคราวบริเวณคู่ขนาน ถ.กาญจนาภิเษก ป้องกันลักลอบทิ้งขยะ — นางธัญนภัส มณีศรี ผู้อำนวยการเขตคลองสามวา กทม. กล่าวกรณีมีผ...