เชิดชู "ครูดีเด่น" 3 คนแรกของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กรุงเทพ--23 ธ.ค.--ม.ธรรมศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยศาสตร์ ได้พิจารณาอนุมัติยกย่องครูดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปีนี้ 3 ท่าน จาก 3 สาขา คือ สาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จากคณะรัฐศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ศรีสุข ทวิชาประสิทธิ์ จากคณะศิลปศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดา แม้นมินทร์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ให้สัมภาษณ์ว่า การพิจารณาคัดเลือกครูดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปีนี้จัดทำขี้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการเชิดชูยกย่องอาจารย์ที่มีคุณสมบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดีสมฐานะความเป็นครู มีความเสียสละ อุทิศตนในการสั่งสอนศิษย์และมีความเชี่ยวชาญงานด้านการสอนเป็นอย่างดี ซึ่งโครงการของธรรมศาสตร์ในลักษณะเช่นนี้ปัจจุบัน มี 3 รูปแบบ คือ 1. คัดเลือกครูดีเด่น หมายถึง ผู้ที่ดีเด่นในด้านการสอน การให้คำปรึกษาและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์ 2. คัดเลือกนักวิจัยดีเด่น หมายถึง ผู้ที่มีผลงานวิจัยเป็นที่ประจักษ์ในระดับชาติ หรือนานาชาติ ซึ่งนักวิจัยดีเด่นอาจจะเป็นอาจารย์หรือไม่เป็นอาจารย์ก็ได้ 3. คัดเลือกกีรตยาจารย์ หมายถึง ผู้มีชื่อเสียงด้านการสอน การวิจัย การบริหาร และการบริการสังคม การคัดเลือกครูดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะมีการคัดเลือกและประกาศเชิดชูเกียรติครูดีเด่นทุกปีการศึกษาใน 3 สาขา ๆ ละ 1 คน คือ สาขาสังคมศาสตร์ สาขามนุษยศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในปีนี้มี 3 ท่าน ที่ได้รับยกย่องเป็นครูดีเด่น คือ 1. สาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ จากคณะรัฐศาสตร์ เข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 รวมระยะเวลา 19 ปี ทำหน้าที่อาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างดี มีผลงานมากมายเหลือเชื่อ ทั้งงานสอน งานวิจัย และวิชาการ งานให้คำปรึกษาแนะนำนักศึกษา เป็นผู้ที่ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าคิด กล้าวิพากษ์วิจารณ์ และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น เอาใจใส่ลูกศิษย์ในทางความคิดสติปัญญา ส่งเสริมให้ลูกศิษย์เจริญก้าวหน้าทางวิชาการ สนใจแก้ไขปัญหาให้ลูกศิษย์ทั้งในเรื่องส่วนตัวหรือวิชาการ แนะนำให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยแนะนำหนังสือให้อ่าน สนใจการประชุม การอภิปรายต่าง ๆ มิใช่เพียงแต่ฟังคำบรรยายในห้องเรียนเท่านั้น นอกจากนี้ ดร.ชัยวัฒน์ ยังทำงานบริการสังคมทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย โดยมีผลงานดีเด่นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง 2. สาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ศรีสุข ทวิชาประสิทธิ์ จากคณะศิลปศาสตร์ เข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2507 รวมระยะเวลา 33 ปี เป็นผู้ที่อุทิศตัวเพื่อการสอน เอาใจใส่และรับผิดชอบเตรียมการสอนเป็นอย่างดีและเป็นระบบ ถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดวิพากษ์วิจารณ์ด้วยเหตุด้วยผล มีความเที่ยงตรง ไม่มีอคติ เขียนตำราที่เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาหลายเล่ม ในด้านปริญญาโท ได้ทุ่มเทการสอนและรับเป็นที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยตรวจแก้และให้คำแนะนำอย่างละเอียด ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เป็นผู้ที่มีจิตใจงาม ผู้ใดอยู่ใกล้จะรู้สึกมีความสุขและมักจะได้รับกำลังใจเสมอ เป็นตัวอย่างที่ดีในความมีระเบียบวินัย รักษาเวลาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของนักศึกษา เช่นการตรวจสอบ การเข้าสอบ การให้คำปรึกษา เป็นต้น 3. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดา แม้นมินทร์ จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ารับราชการที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2509 รวมระยะเวลา 31 ปี เป็นผู้สร้างหลักสูตรปริญญาโทสถิติประยุกต์ อุทิศตนเองให้กับงานทางด้านวิชาการให้กับนักศึกษาทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการอย่างสม่ำเสมอ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาสาระนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ของ นักศึกษาปริญญาโทมาตลอดเป็นเวลา 11 ปี ควมคุมดูแลมาตรฐานของการศึกษาในภาควิชาการ ให้มีความแข็งแกร่งร่วมผลิตบัณฑิต ทั้งในระดับปริญญาตรี-โท มาตั้งแต่เริ่มบรรจุเข้ารับราชการ และสิ่งที่ชอบที่สุดในชีวิตการเป็นอาจารย์ก็คือการสอนหนังสือ แม้ว่าจะมีหน้าที่การงานต่าง ๆ มากมายทั้งจากภายในและภายนอก แต่ก็ทุ่มเทให้กับงานสอนจนเป็นที่รู้จักกันทั่ว หลายครั้งที่ปฎิเสธการรับตำแหน่งบริหารด้วยเหตุผลเพียงว่าเป็นห่วงนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลในฐานะที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ กล่าวเรียกร้องในตอนท้ายว่า อยากให้อาจารย์ทั้งหลายสนใจและตั้งใจที่จะเป็นครูที่ดี เพราะคำว่าครูเป็นคำที่สูงสุดและมีเกียรติ แม้การเข้ามาเป็นอาจารย์เพราะมีนักศึกษาที่ต้องการความรู้ ต้องการแบบอย่างที่ดีและต้องการขวัญและกำลังใจ แต่ก็ไม่ควรลืมหน้าที่ที่เป็นพื้นฐานที่สุดของการเป็นอาจารย์ คือต้องเป็นครูด้วย ต้องสนใจพัฒนาให้นักศึกษาเป็นคนที่สมบูรณ์ อาจารย์ที่มีความสามารถมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของบุคคลภายนอกทั่วไป ควรใช้ประสบการณ์ ใช้ความรู้ บารมี จาการไปทำงานภายนอกกลับมาสอนนักศึกษาให้เป็นคนดีด้วย นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้อาจารย์ทั้งหลายช่วยดูแลว่าเพื่อน ๆ อาจารย์คนใดที่เหมาะสมเป็นครูดีเด่น ก็ให้เสนอชื่อผ่านคณบดีด้วย เพราะโดยนิสัยคนไทย จะมีความถ่อมตัวทั้งนี้เพื่อปีต่อ ๆ ไป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะได้มีครูดีเด่นมาสู่การพิจารณาให้มาก ๆ--จบ--

ข่าวคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี+วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวันนี้

มทร.กรุงเทพ จับมือ เกียร์เฮด ผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า มทร.กรุงเทพ มุ่งมั่นผลิตบัณฑิตที่มีทักษะการปฏิบัติและความคิดสร้างสรรค์ เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมบันเทิง โดยความร่วมมือกับบริษัท เกียร์เฮด จำกัด เพื่อช่วยให้นักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้เรียนรู้เทคโนโลยีและกระบวนการผลิตภาพยนตร์อย่างครบวงจร ซึ่งจะส่งผลดีต่อคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัย ด้าน ผศ.ดร.ครรชิต กำลังกล้า คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโน

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ เปิด 3,280 ที่นั่งรับนักศึกษาปริญญาตรี ปี 68 — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)กรุงเทพ เปิดเผยว่า ขณะนี้ มทร.ก...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรี ลงนามภาคเอกชนพัฒนาศักยภาพนวัตกรรมดิจิทัล — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ลงน...

ดร.มานะชัย? โต๊ะชูดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ... พิธีมอบเสื้อกาวน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 256 — ดร.มานะชัย? โต๊ะชูดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคุณกรด โรจนเสถีย...

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอก... คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.หอการค้าไทย จัดพิธีประดับเข็มหลักสูตรสหวิทยาการ (ผู้ช่วยฟื้นฟู) — คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดกิจกรร...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร... มรภ.สงขลา เยือน "ม. UPNVJT" อินโดนีเซีย ร่วมสัมมนาด้านเทคโนโลยีอาหาร — อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร-คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา เยือน Universitas Pembangunan...