กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ

กรุงเทพ--24 ก.พ.--กรมวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตรเตรียมจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลางและศูนย์ประสานงานระหว่างกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายอนันต์ ดาโลดม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่ากรมวิชาการเกษตรได้มีนโยบายจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการกลางและศูนย์ประสานงานระหว่างกรมวิชาการเกษตรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์พร้อมที่จะดำเนินการเพื่อสนองนโยบายในการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีหน้าที่หลักในการรับผิดชอบงานเทคโนโลยีชีวภาพของพืชต่าง ๆ ได้แก่ ข้าว ส้ม ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพืชอื่น ๆ ที่เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพ โดยมีศูนย์วิจัยที่อยู่ตามภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตรเป็นเครือข่าย นอกจากนี้จะได้มีแผนงานร่วมมือกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรระหว่างประเทศแห่งประเทศฝรั่งเศส (CIRAD) เพื่อร่วมวิจัยพร้อมกับการพัฒนาบุคลากร โดยได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณจากกรมวิชาการเกษตร ซึ่งจะได้ดำเนินการในปี 2541 นี้ งานวิจัยที่ศูนย์รับผิดชอบ คือ 1. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายปริมาณ 2. การฝากถ่ายยีนเพื่อผลิตพันธุ์พืชใหม่ให้มีคุณลักษณะตามต้องการ เช่น ด้านทานโรค-แมลง และมีคุณภาพผลผลิตดี 3. การจัดทำเครื่องหมายพันธุกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้มีความรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น 4. การอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืชโดยวิธีการแช่แข็งและ 5. พันธุวิศวกรรมด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าในธรรมชาติ เช่นผลิตไรโซเบียมให้มีไนโตรเจนสูง มากกว่าที่พบในธรรมชาติเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนให้มากที่สุด รวมทั้งการหาจุลินทรีย์ตัวอื่น ๆ ที่มีศักยภาพที่มีประโยชน์ต่อวงการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตลอดจนรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืนต่อไป--จบ--

ข่าวกรมวิชาการเกษตร+เทคโนโลยีชีวภาพวันนี้

กรมวิชาการเกษตร แปรรูปวัสดุเหลือทิ้งจากส้มโอเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตั้งเป้าต่อยอดสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง สร้างมูลค่าเพิ่มเชิงพาณิชย์

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ในฐานะโฆษกกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผลไม้ที่ขนาดไม่ได้มาตรฐานหรือมีลักษณะที่ไม่สวยงามที่จะนำมาขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ทำให้เกษตรกรต้องขายผลไม้เหล่านี้ในราคาที่ถูกลง หรือนำไปทำอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย หรือปล่อยทิ้งไว้จนเน่าเปื่อยย่อยสลายเป็นขยะอาหาร ส่งผลให้เกิดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซมีเทน ซึ่งมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อน สูงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 25 เท่า สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ ได้เล็ง

มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เตรียมเปิดประชุม APEC ระ... มนัญญา เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร — มนัญญา ไทยเศรษฐ์ เตรียมเปิดประชุม APEC ระดับสูงด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เดินหน...

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการ... กรมวิชาการเกษตร ปลื้มเทคโนโลยีปลูกมะพร้าวน้ำหอมในพื้นที่ดินเค็ม ให้ผลผลิตคุณภาพรสชาติหอมหวาน — นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ก...