สธ.เตือนภัยประชาชนที่อายุก้าวขึ้นเลข 6 ระวังปัญหา "อัมพาต"

กรุงเทพ--11 ส.ค.--กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข เตือนภัยประชาชนที่มีอายุก้าวขึ้นเลข 6 ให้ระวัง โรคสมองขาดเลือด ต้นเหตุของการเกิดอัมพาต สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่าสมองขาดเลือดต้องรีบพบแพทย์ด่วนคือ อาการชาที่ใบหน้า แขนขาเป็นพัก ๆ และอาการวิงเวียนศรีษะ โดยไม่มีสาเหตุ ช่วง 2 ปีที่ผ่านมามีคนป่วยจากโรคนี้แล้วกว่า 1 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 6 พันราย เช้าวันนี้ ที่สถาบันประสาทวิทยา กทม.พลเรือตรีนายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวเกี่ยวกับโรคทางระบบปราสาทว่า ที่เป็นปัญหาอันดับหนึ่งทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้ก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคอัมพาต ความพิการ ทำให้สูญเสียความจำ แต่ประชาชนยังรู้จักโรคนี้น้อย ทั้งนี้ที่ผ่านมาโรคดังกล่าวมักเป็นปัญหาในกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมีอายุต่ำกว่า 65 ปี ลงมา เป็นวัยรุ่นและเด็กก็เคยพบ โดยอัมพาตที่เกิดขึ้น ร้อยละ 80 เกิดมาจากเส้นเลือดแดงในสมองอุดตัน 1 ใน 5 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้เสียชีวิต ส่วนอัมพาตชนิดที่ 2 เกิดมาจากเส้นเลือดแดงในสมองแตก พบได้ร้อยละ 20 ชนิดนี้จะรุนแรง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตได้ร้อยละ 50 จากการสำรวจในประเทศไทยล่าสุด โดยเฉพาะเขตกทม. พบว่ามีความชุก 690 คน ในประชากรทุก 1 แสนคน ในปี 2538 ทั่วประเทศมีรายงานผู้ป่วยโรคนี้ 1,660,948 ราย เสียชีวิต 6,195 ราย ในส่วนของสถาบันประสาทวิทยา กทม.พบว่าแนวโน้มของผู้ป่วยโรคนี้ประเภทผู้ป่วยนอก มีเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 ในปี 2533 เพิ่มเป็นร้อยละ 13 ในปี 2538 ส่วนผู้ป่วยใน ก็เพิ่มจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 32 ในปีเดียวกันเช่นกัน สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดได้จากการมีอายุมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญได้แก่ 1. โรคความดันโลหิตสูง จะเสี่ยงเป็นอัมพาตกว่าคนปกติถึง 3 เท่า 2. โรคเบาหวาน จะมีความเสี่ยงเป็นอัมพาตถึง 3 เท่า เนื่องจากโรคเบาหวานจะทำให้เส้นเลือดแข็งตัวได้เร็ว 3. การสูบบุหรี่ จะเสี่ยงกว่าคนที่ไม่สูบ 1 เท่าตัว โดยเฉพาะกลุ่มสตรีพบว่าหากสูบบุหรี่วันละมากกว่า 25 มวน จะเสียงต่อเส้นเลือดในสมองแตกกว่าสตรีในวัยเดียวกันที่ไม่สูบเกือบ 10 เท่าตัว เนื่องจากสารนิโคติน จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง และทำให้เลือดข้นกว่าคนทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงสุดท้ายคือภาวะไขมันในเลือดสูง จะเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า ดังนั้นในการป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นอัมพาตตามมา สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จะต้องยอมลดน้ำหนัก งดอาหารรสเค็ม ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมด้วยยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอและการออกกำลังกาย ส่วนโรคเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดน้ำหนัก นอกจากนี้ในการป้องกันไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดไขมันในเส้นเลือดสูง เช่นอาหารทะเลจำพวกหอย ปลาหมึก เครื่องในสัตว์ ไข่แดง หนังสัตว์ น้ำมันสัตว์และกะทิ เป็นต้น นอกจากนี้ในกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปควรตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สำหรับอาการที่เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าสมองขาดเลือดไปเลี้ยง คืออาการวิงเวียนศรีษะเป็นพัก ๆ อาการตามืดไปชั่วขณะ อาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าหรือที่แขนขาเป็นพัก ๆ โดยไม่มีสาเหตุ พูดไม่ได้หรือพูดผิดปกติเป็นพัก ๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาอย่างรีบด่วน ซึ่งจะลดความพิการและการเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ในต่างประเทศอาทิ สหรัฐอเมริกา มีรายงานโรคนี้ปีละ 5 แสนราย มีอัตราตายร้อยละ 30 ผู้ที่รอดชีวิตส่วนใหญ่จะพิการ เดินไม่ได้ ร้อยละ 70 มีปัญหาด้านการพูด ในปีหนึ่ง ๆ สหรัฐฯ ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งทางตรงและทางอ้อมในการดูแลผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 24,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนประเทศไทยพบว่าเฉพาะค่าตรวจและค่ารักษาโรคนี้มีมูลค่าสูงถึง 1,500 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงค่าดูแลผู้ป่วยไปตลอดชีวิต โดยหากเป็นผู้ป่วยนอกจะเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,400 บาท ต่อคนส่วนผู้ป่วยในจะเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 34,000 บาทต่อคน--จบ--

ข่าวสถาบันประสาทวิทยา+กระทรวงสาธารณสุขวันนี้

NL เดินหน้าคว้างานโครงการอาคารบริการจอดรถ ระบบบำบัดน้ำเสียระบบปิดและพักเจ้าหน้าที่ 12 ชั้น สถาบันประสาทวิทยา ส่งสัญญาณบวก ปักธงปี 68 ดันเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 40%

บริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ "NL" ประกาศเดินหน้าธุรกิจก่อสร้างครบวงจร ครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน โดยได้ลงนามสัญญางานก่อสร้างอาคารบริการจอดรถระบบบำบัดน้ำเสียระบบปิดและพักเจ้าหน้าที่ 12 ชั้น สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ มูลค่าโครงการรวม 372 ล้านบาท พร้อมลุยธุรกิจก่อสร้างท่ามกลางความท้าทาย ชูจุดเด่นสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง ส่งสัญญาณบวก ปักธงปี 68 ดันเป้ารายได้เติบโตมากกว่า 40% นายศรันย์ โรจน์เลิศจรรยา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็นแอล ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ NL เปิดเผยว่า

เมื่อเร็ว ๆ นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษ... ม.ราชภัฏจันทรเกษม ร่วมสถาบันประสาทวิทยา จัดอบรมการดูแลผู้สูงอายุให้ อสม. ชัยนาท — เมื่อเร็ว ๆ นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ร่วมกับสถาบันประสาทวิทยา กรมก...

ผลการศึกษาใหม่เผยผู้ป่วยโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อการเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท

ผลการศึกษาใหม่ที่นำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป (European Academy of Neurology หรือ EAN) ครั้งที่ 8 ระบุว่า ผู้ป่วยนอกที่มีผลโควิด-19 เป็นบวก มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่จะเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาท ...

มูลนิธิเอสซีจี นำโดยนายเชาวลิต เอกบุตร กร... มูลนิธิเอสซีจี ส่งมอบเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง แก่สถาบันประสาทวิทยา มูลค่า 2 ล้านบาท — มูลนิธิเอสซีจี นำโดยนายเชาวลิต เอกบุตร กรรมการบริหารมูลน...