สธ.ยันอีก 4 ปี เมืองไทยจะมีวัคซีนเอดซ์ใช้แล้ว

กรุงเทพ--29 ส.ค.--กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ร่วมลงนามกับประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือวิจัยวัคซีนเอดส์ เพื่อใช้กับสายพันธุ์อี จะทราบผลในปี 2544 การวิจัยครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีผู้ติดเชื้อเอดส์ประมาณ 10-15% ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก โดยใช้งบวิจัยกว่า 200 ล้านบาท เริ่มลงมือในเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้าเป็นต้นไป ที่กระทรวงสาธารณสุข เช้าวันนี้ พลเรือตรีนายแพทย์วิทุร แสงสิงแก้ว ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการลงนามในบันทึกข้อตกลงกับนายโตชิโอะ โอกาซากิ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศญี่ปุ่น เพื่อร่วมมือกันศึกษาวิจัยในการผลิตวัคซีนเอดส์ ที่ใช้สำหรับป้องกันการติดเชื้อเอดส์ชนิดอี ซึ่งพบในประเทศไทยได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 85 และพบในประเทศญี่ปุ่นและแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า โครงการที่ประเทศไทยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ นับเป็นการวิจัยเพื่อผลิตวัคซีนเพื่อใช้สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์สายพันธ์อีเป็นครั้งแรกในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีผู้ติดเชื้อเอดส์มากถึง 10-15% ของผู้ติดเชื้อเอดส์ทุกภูมิภาคของโลก โดยจะทำการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 4 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2541-2544 ใช้เงินทุนไม่น้อยกว่า 220 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นงบที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนรวม 175 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะเป็นงบของประเทศไทย ซึ่งการทำวิจัยดังกล่าวจะเป็นขั้นเริ่มต้น ส่วนใหญ่อยู่ในขั้นของการทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และกระทรวงสาธารณสุขจะได้นำโครงการนี้เข้าชี้แจงในคณะกรรมการเอดส์แห่งชาติ เพื่อให้งานนี้สำเร็จเป็นไปตามเป้าหมาย และให้ประเทศไทยและทั่วโลกสามารถควบคุมโรคเอดส์ได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้ขั้นตอนของการทำวิจัยดังกล่าว จะใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรม โดยการคัดเลือกยีนส์หรือสารพันธุกรรม จากเชื้อไวรัสเอชไอวีที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เลี้ยงไว้ ซึ่งจากการทดลองที่ผ่านมาพบว่าวัคซีนที่ผลิตด้วยกรรมวิธีนี้ในสัตว์ทดลอง สามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานในระดับที่ป้องกันการติดเชื้อได้ดี โดยภูมิต้านทานนี้เกิดได้ดีทั้งชนิดผ่านของเหลว (Human Immunity) และชนิดผ่านเซล (Cellular Meddiated Immunity) ในขณะที่วัคซีนที่ไทยนำมาใช้ทดลองในช่วงที่ผ่านมา สามารถกระตุ้นได้เพียงภูมิต้านทานชนิดผ่านของเหลวได้เป็นส่วนใหญ่ จึงมีผลในการป้องกันการติดเชื้อได้น้อย โดยจะเริ่มลงมือวิจัยได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2541 เป็นต้นไป ทางด้านนายแพทย์มงคล ณ สงขลา อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้จะใช้ทีมนักวิจัยไทยจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับทีมวิจัยญี่ปุ่นจากสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติ โดยจะทำวิจัยในสัตว์ทดลองก่อน ถ้าได้ผลดีก็จะนำมาใช้ทดลองในคนต่อไป--จบ--

ข่าวกระทรวงสาธารณสุข+วิทุร แสงสิงแก้ววันนี้

สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่

วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่มดี รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย พลโทณัฐพงษ์ เพราแก้ว เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย ดร.นายแพทย์นิธิรัตน์ บุญตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่ และหน่วยงานในพื้นที่ เฝ้าระวังสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้ดำเนินการเฝ้าระวังประเด็นการปนเปื้อนสารหนูในแหล่งน้ำ

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... 'เดชอิศม์' ระดมทันตแพทย์ มอบฟันเทียม 45,000 รายทั่วประเทศ เป็นของขวัญวันผู้สูงอายุ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากกระ...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคั... กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...

นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระท... สธ. แนะ 4 วิธี 'ปลอดโรค ปลอดภัย สุขอนามัยดี' เตรียมพร้อมก่อนเที่ยวสงกรานต์ — นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เทศกาลสงกรานต์...