SET9: ตลาดหลักทรัพย์แถลงมติคณะกรรมการฯ ฉบับที่ 18/2540

กรุงเทพ--20 มี.ค.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายสุวิชา มิ่งขวัญ โฆษกตลาดหลักทรัพย์ แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรม การตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2540 โดยที่ประชุมได้มีมติใน เรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาถอนหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซีย จำกัด (มหาชน) จากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณาคำขอให้เพิกถอนหลักทรัพย์จดทะเบียน โดยสมัครใจของบริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซีย จำกัด (มหาชน) (FAS) แล้วเห็นควรอนุมัติ การขอเพิกถอนหลักทรัพย์ของ FAS ได้ตามที่บริษัทขอมา โดยมีเงื่อนไขให้ FAS และผู้จัด ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหุ้นทั่วไปคือบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด (มหาชน) (S-ONE) ต้องปฎิบัติก่อนที่ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดวันเพิกถอนหลักทรัพย์ ดังนี้ 1. S-ONE ต้องได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ให้ทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ได้อีกครั้งภายในรอบระยะเวลา 1 ปี นับแต่วัน ที่พ้นกำหนดการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ FAS ครั้งก่อน (24 กรกฎาคม - 30 สิงหา คม 2539) ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามความใน ม.255 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 2. ให้ S-ONE ซึ่งจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหุ้นทั่วไปของ FAS ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต.กำหนด โดยมีระยะเวลารับซื้อหลักทรัพย์สูงสุดคือ 45 วันทำการ 3. ให้ FAS รายงานผลการเสนอซื้อหลักทรัพย์จากผู้ถือหุ้นทั่วไปของ FAS ภายใน 14 วันนับแต่วันปิดรับซื้อหุ้น 2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ เพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์รับบริษัทที่มี ขนาดใหญ่ มีฐานะการเงินและผลการดำเนินงานดี มีสภาพคล่องในการซื้อขายเพียงพอ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้ 1. เกณฑ์ด้านขนาด ทุนชำระแล้ว มูลค่าตลาด หลักเกณฑ์เดิม 100 ลบ. 750 ลบ. หลักเกณฑ์ใหม่ - 3,000 ลบ. 2. เกณฑ์ด้านผลการดำเนินงาน 2.1 ด้านกำไรสุทธิ (ลบ.) ปีที่1 ปีที่2 ปีที่3 รวม หลักเกณฑ์เดิม >_5 >_20 >_30 >_80 หรือ + ---เฉลี่ย 40--- >_110 หรือ + + >_40 >_110 หลักเกณฑ์ใหม่ >_20 >_30 >_40 >_110 หรือ >_10 >_10 >_10 >_150 2.2 ความต่อเนื่องของการดำเนินงาน หลักเกณฑ์เดิม : บริษัทต้องมีการดำเนินงานภายใต้การจัดการของ ผู้บริหารส่วนใหญ่ชุดเดียวกันต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 ปี หลักเกณฑ์ใหม่ : บริษัทต้องมีผลการดำเนินงานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5 ปี ภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่เป็น ชุดเดียวกันต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 3 ปี 3. ยกเลิกหลักเกณฑ์การรับบริษัทจดทะเบียนภูมิภาคและบริษัทที่ยังไม่มี ผลการดำเนินงาน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายพัฒนาตลาดทุนของภาครัฐที่มุ่งให้ตลาด หลักทรัพย์รับบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีผลการดำเนินงานมาระยะหนึ่งแล้ว สำหรับบริษัทขนาด เล็กและบริษัทที่ไม่มีผลการดำเนินงานก็สามารถเข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ ได้ 4. กำหนดแนวทางการรับหลักทรัพย์ ให้ตลาดหลักทรัพย์สามารถผ่อนผัน หลักเกณฑ์การรับหลักทรัพย์ บางประการได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์มี ความยืดหยุ่นในการรับบริษัทจดทะเบียนที่มีขนาดใหญ่ คุณภาพดีในอุตสาหกรรมที่เป็น อุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศและเป็นที่สนใจของผู้ลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามา จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้นซึ่งจะเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในด้านการแข่งขัน ของตลาดหลักทรัพย์เทียบกับตลาดหลักทรัพย์อื่นในภูมิภาค และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ ลงทุน ทั้งนี้ ให้ข้อบังคับมีผลบังคับใช้ภายใน 60 วันนับแต่วันประกาศ โดย ตลาดหลักทรัพย์อยู่ระหว่างการจัดทำร่างแก้ไขข้อบังคับ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนประกาศใช้ต่อไป 3. กำหนดแนวทางดำเนินการสำหรับบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ระหว่างการปรับ ปรุงแก้ไขฐานะการเงินและผลการดำเนินงานเพื่อให้พ้นเกณฑ์อาจถูกเพิกถอนจากการเป็น หลักทรัพย์จดทะเบียน คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ ได้พิจารณาแนวทางดำเนินการสำหรับบริษัทจด ทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนแล้วเห็นว่า เพื่อให้บริษัท จดทะเบียนที่เข้าข่ายอาจถูกเพิกถอนหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นของบริษัทตลอดจนผู้ลงทุนทั่วไปได้ ทราบถึงแนวทางปฎิบัติที่ชัดเจนในการพิจารณาของตลาดหลักทรัพย์ และขั้นตอนดำเนินการ เพื่อขอพ้นเหตุแห่งการเพิกถอนหรือปลดเครื่องหมาย C หรือ SP แล้วแต่กรณีดังนี้ 1. เกณฑ์ที่ใช้พิจารณาการพ้นเหตุแห่งการเพิกถอน 1.1 เกณฑ์เชิงปริมาณ ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานจะต้องมีตัวเลขไม่เข้าข่าย ตามเกณฑ์เพิกถอนหลักทรัพย์ทุกข้อ กล่าวคือ ก. ไม่ขาดทุนสุทธิ 2 ใน 3 ปีท้าย หรือมีสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA) มากกว่า 60 ล้านบาท และ ข. ไม่ขาดทุนสุทธิ 3 ใน 4 ปีท้าย หรือมีสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA) มากกว่า 120 ล้านบาท และ ค. มีสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA) มากกว่า 50% ของทุนชำระแล้ว และ ง. ไม่ขาดทุนสุทธิต่อเนื่องกัน 5 ปี และ จ. ไม่มีผลขาดทุนสุทธิเป็นจำนวนที่มีนัยสำคัญจนไม่อาจดำรงอยู่ได้ 1.2 เกณฑ์เชิงคุณภาพ ก. ผลการดำเนินงานสอดคล้องกับแผนดำเนินงานตามที่เคยเสนอต่อ ตลาดหลักทรัพย์ หรือต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น กำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงเป็นไปตามประมาณการที่ แถลงไว้ โดยกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละไตรมาสต่ำกว่าประมาณการไม่เกิน 20% เว้น แต่จะมีเหตุที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ข. มีกำไรที่เกิดจากการดำเนินงานในธุรกิจหลัก และสามารถแสดง ได้ว่าจะมีแนวโน้มการดำเนินงานที่ดีในอนาคต ค. ต้องสามารถแสดงได้ว่ามีฐานะการเงินมั่นคงและมีเงินทุนหมุน เวียนเพียงพอ ง. มีผู้บริหารที่มีความตั้งใจจริงในการปรับปรุงการดำเนินงานและ ฐานะการเงินเพื่อให้พ้นเหตุแห่งการเพิกถอนและมีการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง จ. ต้องเป็นที่มั่นใจว่าบริษัทจะไม่เข้าเกณฑ์อาจถูกเพิกถอนในระยะ เวลาอันสั้น โดยพิจารณาจากผลการดำเนินหลังจากบริษัทพ้นเกณฑ์เพิกถอนแล้ว 2 ไตรมาส ซึ่งบริษัทต้องแสดงกำไรจากการดำเนินงานที่มีเสถียรภาพมีแนวโน้มในการเติบโต และไม่มี ปัจจัยที่แสดงความถดถอยของผลการดำเนินงาน 1.3 เหตุการณ์ดังต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการดำเนินการเพื่อให้พ้นเหตุแห่งการ เพิกถอน ก. การตีราคาทรัพย์สินเพิ่ม ข. การลดทุนเพื่อลดขาดทุนสะสม ค. วิธีการอื่นใดที่ส่งผลให้ยอดขาดทุนสะสมลดลงหรือ NTA (Net Tangible Assets) เพิ่มขึ้นในเชิงตัวเลขที่ปรากฎในงบการเงิน แต่มิได้เป็นการแก้ไข เหตุที่ทำให้ธุรกิจหลักของบริษัทประสบผลขาดทุน 2. ขั้นตอนและวิธีการพิจารณาและการกำหนดเงื่อนไข 2.1 ให้บริษัทจดทะเบียนทั้งที่ขึ้นเครื่องหมาย "C" หรือ "SP" มีหนังสือ ชี้แจง โดยแสดงเหตุผลหรือข้อมูลสนับสนุนที่บริษัทจดทะเบียนเห็นว่าฐานะการเงินและผลการ ดำเนินงานของบริษัทพ้นเกณฑ์อาจถูกเพิกถอน พร้อมนำส่งเอกสารที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ได้แก่ แบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบ 69-1) ความเห็นผู้สอบบัญชี เกี่ยวกับการประเมินผลระบบการควบคุมภายในบริษัท 2.2 ในการพิจารณาพ้นเกณฑ์แห่งการเพิกถอนให้ตลาดหลักทรัพย์เสนอต่อ คณะอนุกรรมการพิจารณารับและเพิกถอนหลักทรัพย์ และนำเสนอความเห็นให้คณะกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์พิจารณาต่อไป โดยให้นำองค์ประกอบคุณสมบัติการลงคะแนนเสียง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้โดยอนุโลม (ยังมีต่อ)

ข่าวตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย+ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศวันนี้

"เงินติดล้อ" ผนึกตลาดหลักทรัพย์ฯ แบ่งปันไอเดีย การสร้างสุขภาพทางการเงินที่ดีในองค์กร

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR โดย คุณมิ่งขวัญ ประเสริฐศิวพร (ที่ 2 จากขวา) ผู้จัดการ งานส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการเงิน ร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม "Happy Money Sharing: Financial Well-Being Journey 2025" จัดโดย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ส่งเสริมความรู้ทางการเงินในองค์กร แก่ผู้แทนองค์กรพันธมิตร ทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ทั้งหมด 28 องค์กร ให้สามารถไปปรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความรู้ทางการเงินให้กับพนักงานในองค์กร สมาชิกในชุมชน หรือประชาชนทั่ว

มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิ... THNIC จับมือ SET และ ICANN จัดงาน UA Day 2025 ใช้โดเมนและอีเมลภาษาไทย ปูทางธุรกิจไทยก้าวสู่สากล — มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ร่วมกับตลาดห...

นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ... RBF โชว์ศักยภาพธุรกิจ-แผนขยายตลาด ตปท. งาน "Thailand Earning Call" ปังธง ปี 68 รายได้รวม โต 10-15% — นายสุรนาถ กิตติรัตนเดช ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชีและก...

นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที... "MEDEZE" โชว์ศักยภาพธุรกิจ ในงาน Opp Day Year End 2024 — นางสาวสุภากาญจน์ กิจโกศล ประธานเจ้าหน้าที่สายบัญชีและการเงิน บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรื...

นพ.วิวัฒน์ กว้างคณานุรักษ์ (ซ้าย) ประธานเ... SAFE โชว์กำไรฯปี 67 แตะ 167.09 ลบ. จ่ายปันผล 0.62 บ./หุ้น — นพ.วิวัฒน์ กว้างคณานุรักษ์ (ซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ นางสาวชนิดา พัธโนทัย (ขวา) ประธา...

ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหา... "SNPS" ฉายภาพธุรกิจ งาน Opp Day โชว์กำไรปี 67 โตแรง 169% — ดร.ธีรญา กฤษฎาพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พร้อมด้วย นายอชิตเดช อาชาไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่...