หลายคนมักมองข้ามอาการเช่น นอนละเมอ ท้องผูกเรื้อรัง มือสั่น แต่รู้หรือไม่ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณร้ายของ "โรคพาร์กินสัน" หนึ่งในกลุ่ม "โรคสมองเสื่อม" ที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์ และที่น่าตกใจกว่านั้นคือ โรคนี้ไม่ได้เป็นแค่โรคของผู้สูงอายุอีกต่อไป เพราะหลายคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อยโดยไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่ากำลังป่วยอยู่
นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและโรคพาร์กินสันจากโรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงการเกิดโรคพาร์กินสันว่า "โรคนี้เกิดจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทในก้านสมอง ทำให้การผลิตสารโดปามีนลดลง ส่งผลให้การเคลื่อนไหวเริ่มช้าลง และอาจมีอาการอย่างมือสั่นปรากฏออกมา หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา อาการจะยิ่งรุนแรงจนไม่สามารถทำกิจกรรมประจำวันได้"
แม้ว่าโรคพาร์กินสันจะถูกค้นพบมานานกว่า 200 ปีแล้ว แต่ในประเทศไทยผู้คนส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มรู้จักโรคนี้จริงจังในช่วง 10-20 ปีมานี้ หลายคนยังเข้าใจผิดว่าเป็นแค่ "โรคมือสั่น" ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมอง ทั้งที่ในความจริงแล้ว โรคพาร์กินสันคือหนึ่งในกลุ่ม "โรคสมองเสื่อม" ที่พบบ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์ และสิ่งที่น่าตกใจกว่านั้นคือ โรคนี้ไม่ได้เป็นเพียงโรคของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่คนทุกวัยสามารถเป็นได้ โดยหลายคนเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุยังน้อยโดยที่ไม่รู้ตัว
จากสถิติพบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคพาร์กินสันประมาณ 150-250 คน ต่อประชากร 100,000 คนในทุกช่วงวัย และจำนวนผู้ป่วยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นทุกปี อันเป็นผลจากการพัฒนาด้านการวินิจฉัยและการให้ความรู้แก่ประชาชน
สำหรับสัญญาณเตือนของ "โรคพาร์กินสัน" ที่หลายคนมักมองข้าม เช่น การนอนละเมอ ท้องผูกเรื้อรัง ภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวลที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน ทุกอาการเหล่านี้อาจเป็น "เสียงเตือน" จากสมองว่าระบบกำลังมีปัญหา และที่น่าตกใจคือ อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นก่อนที่อาการสั่นจะเริ่มขึ้นถึง 10-20 ปี หมายความว่าเมื่อร่างกายเริ่มมีอาการทางการเคลื่อนไหว เช่น เคลื่อนไหวช้าลง มือสั่น หรือเดินสะดุด นั่นคือช่วงที่เซลล์สมองตายไปแล้วกว่า 60%
นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า "การนอนละเมอ" โดยเฉพาะการละเมอที่มีท่าทางเคลื่อนไหวหรือออกเสียง มักจะเชื่อมโยงกับการเสื่อมของสมองในระยะเริ่มต้น โดยมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคพาร์กินสันได้สูงกว่าคนทั่วไปถึง 30 เท่า หากเกิดร่วมกับอาการท้องผูกที่หาสาเหตุไม่ได้และการรับกลิ่นที่แย่ลงจนแทบไม่รู้ตัว ควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงทันที
นอกจากนี้สาเหตุสำคัญของการเกิด "โรคพาร์กินสัน" คือ การเกิดภาวะย่อยโปรตีน Alpha-Synuclein โดยส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรม เมื่อร่างกายไม่สามารถย่อยโปรตีนชนิดนี้ได้ โปรตีนเหล่านี้ก็สะสมในร่างกาย จนกลายเป็น "โปรตีนขยะ" จุดเริ่มต้นของโปรตีนขยะเหล่านี้อาจเริ่มจาก "ลำไส้" ก่อน แล้วค่อยๆ เดินทางผ่านเส้นประสาทเข้าสู่ก้านสมองและสมองส่วนอื่นๆ ทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากเริ่มมีอาการทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก แน่นท้อง หรือเรอ ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นแค่อาการของระบบย่อยอาหาร แต่จริงๆ อาจเป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมระยะเริ่มต้นได้
สำหรับอาการของ "โรคพาร์กินสัน" แบ่งออกเป็น 5 ระยะ โดยเริ่มจากอาการเล็กน้อย เช่น การเคลื่อนไหวช้า หรือเดินลำบาก และในระยะรุนแรง ผู้ป่วยจะต้องพึ่งพาผู้อื่นในทุกการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การเดิน หรือแม้แต่กิจกรรมง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน หลายคนมักไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้ตั้งแต่แรก เพราะอาการเริ่มต้นมักไม่ชัดเจน และเข้าใจผิดว่าเป็นอาการของวัยหรือความเหนื่อยล้าจากการทำงานหนัก โดยผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี, เพศชายที่มีโอกาสเป็นมากกว่าหญิงถึง 1.5 เท่า, ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน, เกษตรกรที่สัมผัสสารเคมีบ่อย ๆ รวมถึงนักกีฬาที่เคยบาดเจ็บที่สมอง เช่น นักมวย และนักฟุตบอล
นพ.สิทธิ กล่าวให้ข้อมูลต่อว่า "แม้ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษา "โรคพาร์กินสัน" ให้หายขาด แต่การรักษาอย่างรวดเร็วสามารถช่วยบรรเทาอาการและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น การใช้ยาเพิ่มระดับสารโดปามีนในสมอง และในปัจจุบันมีนวัตกรรมการรักษาที่ก้าวหน้าขึ้น เช่น เทคโนโลยี Deep Brain Stimulation (DBS) หรือการผ่าตัดฝังอิเล็กโทรดในสมอง ช่วยลดอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า และลดการพึ่งพายาได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีอัลตราซาวด์ความเข้มสูง (Focused Ultrasound) ซึ่งเป็นการรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด โดยใช้คลื่นเสียงยิงเข้าไปในสมองเฉพาะจุดเพื่อหยุดวงจรที่ผิดปกติ และแนวโน้มว่าเทคโนโลยีนี้จะขยายผลได้ดีในกลุ่มผู้ป่วยระยะแรก
นอกจากนี้ การรับประทานอาหารแบบ Mediterranean Diet ที่เน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา ไขมันดีจากน้ำมันมะกอก ช่วยลดความเสี่ยงของโรคพาร์กินสันได้อย่างมีนัยสำคัญ และการเปลี่ยนแปลงแบคทีเรียในลำไส้ยังมีบทบาทช่วยชะลอการดำเนินของโรคในอนาคต
นพ.สิทธิ กล่าวทิ้งท้ายว่า "โรคพาร์กินสัน" ไม่ใช่แค่โรคของผู้สูงวัยอีกต่อไป เพราะสามารถเกิดได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยกลางคนหรือแม้แต่วัยรุ่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีอันตราย เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันและลดความเสี่ยง"
เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับ "โรคพาร์กินสัน" โรงพยาบาลพระรามเก้าได้จัดกิจกรรม "วันพาร์กินสันโลก" ณ ลานกิจกรรม ชั้น 2 อาคาร A เพื่อส่งต่อความรู้และช่วยเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคนี้ ซึ่งภายในงานจะมีกิจกรรมให้ความรู้หลากหลาย เช่น บูธข้อมูลเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน, อาการ, สาเหตุ, แนวทางการดูแล, บูธโภชนาการแนะนำอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วย และสัมมนาพิเศษ "พาร์กินสัน รู้เร็ว ป้องกันได้"
หากท่านต้องการดูแลสุขภาพของตนเองและคนที่รัก สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 1270 หรือเว็บไซต์: www.praram9.com / Line: lin.ee/vR9xrQs หรือ @praram9hospital และ Facebook: Praram9 Hospital เรื่องสุขภาพ…ไว้ใจเรา #Praram9Hospitalอย่าลืมชวนคนที่คุณรักมาร่วม "โอบกอดสุขภาพดีไปด้วยกัน" เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน
นพ.เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า เป็นประธานเปิดกิจกรรม "วันพาร์กินสันโลก 2025" เพื่อส่งต่อความรู้และช่วยเพิ่มการตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน ภัยเงียบโรคสมองเสื่อมที่ต้องระวัง โดยมี นพ.วิทยา วันเพ็ญ รองกรรมการผู้อำนวยการ และ นพ.สิทธิ เพชรรัชตะชาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและโรคพาร์กินสันและการเคลื่อนไหวผิดปกติ ร่วมงาน โดยภายในงานจะมีกิจกรรมให้ความรู้ที่หลากหลาย เช่น บูธข้อมูลเกี่ยวกับโรคพาร์กินสัน, แนวทางการดูแลรักษา, บูธโภชนาการแนะนำอาหารที่
นอนละเมอ ท้องผูกเรื้อรัง มือสั่น ภัยเงียบ "โรคพาร์กินสัน" หนึ่งในกลุ่ม "โรคสมองเสื่อม" ที่พบผู้ป่วยอันดับ 2 รองจาก "โรคอัลไซเมอร์"
—
หลายคนมักมองข้ามอาการ...
โรงพยาบาลพระรามเก้า ชวนร่วมกิจกรรม "วันพาร์กินสันโลก" รู้เร็ว ป้องกันได้
—
โรงพยาบาลพระรามเก้า ขอเชิญทุกท่านร่วมกิจกรรม "วันพาร์กินสันโลก" ในวันที่ 9 เมษา...
"ไตเสื่อม" ไม่แสดงอาการ... แต่ผลลัพธ์ร้ายแรง แพทย์เตือน!!! คนไทยควรดูแล "ไต" ให้แข็งแรง ก่อนสายเกินไป
—
"ไต" อวัยวะเล็กๆ ที่มักถูกมองข้าม แต่มีความสำคัญอย...
โรงพยาบาลพระรามเก้ารับมอบเหรียญพระราชทาน โครงการผ่าตัดปลูกถ่ายไตถวายเป็นพระราชกุศล ตอกย้ำภารกิจแห่งการให้เพื่อผู้ป่วยโรคไต
—
โรงพยาบาลพระรามเก้าตอกย้ำความ...
โรงพยาบาลพระรามเก้า จัดกิจกรรม World Kidney Day 2025 ภายใต้แคมเปญ "Are you Kidney OK?"
—
โรงพยาบาลพระรามเก้า ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์เนื่องในวันไตโลก ...
โรงพยาบาลพระรามเก้า คว้ารางวัลระดับโลก THE STAR OF EXCELLENCE FOR ULTHERAPY TRANSDUCER 2024 สะท้อนความสำเร็จการดูแลผิวพรรณอย่างเหนือระดับ
—
ปรบมือดัง ๆ ให...
ไตดี ชีวีมีสุข.... โรงพยาบาลพระรามเก้า ชวนร่วมกิจกรรมวันไตโลก 2025
—
รู้หรือไม่ ...คนไทยกว่า 17.6% ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง โดยไม่รู้ตัว! และในแต่ละปีมีผู้ป่...
มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบที่ผู้หญิงต้องระวัง!! ปกป้องตัวเองจากมะเร็งก่อนจะสายเกินไป
—
มะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก… โรคฮิตที่พบมากที่สุดในผู...
PR9 ทุบสถิติรายได้ปี 67 All Time High 4.6 พันล้านบาท กำไรพุ่ง 27.8% โชว์ศักยภาพผู้นำการแพทย์พรีเมียม พร้อมรุกตลาดต่างชาติ
—
PR9 รายงานผลประกอบการปี 67 ทำน...