มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน และสามารถคว้ารางวัลรวมทั้งสิ้น 7 รางวัล จากผลงานของคณะนักวิจัยในสถาบันจำนวน 5 ผลงาน และอีก การวิจัยแห่งชาติ ผลงานที่ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ "ผ้าซัพพอร์ทเข่าและข้อต่อจากเส้นใยกล้วย" โดย ผศ.ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Gold Medal with Jury "ระบบตรวจวัดด้วยภาพโดยใช้ AI และพารามิเตอร์ของทางรถไฟสำหรับรถอัตโนมัติในระบบราง" โดย นายอภิสิทธิ์ เหมือนเมือง ผศ.ดร.มนูศักดิ์ จานทอง และผศ.ดร.สุรศักดิ์ ทิมพิทักษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Silver Medal และ NRCT Special Award "แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์สำหรับจดจำคุณสมบัติวัสดุเพื่อการใช้งานในหุ่นยนต์และแขนเทียมอัจฉริยะ" โดย นายทศพล แก้วรากมุข และรศ.ดร.จักรี ศรีนนท์ฉัตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Silver Medal "นวัตกรรมระบบโซล่าเซลล์อัดอากาศขนาด สมหมาย ผิวสอาด กิโลวัตต์เพื่อการบำบัดน้ำ" โดย รศ.ดร.วิรชัย โรยนรินทร์ และนายสิริศักดิ์ ปางวุฒิวณิชย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Silver Medal และ "นวัตกรรมสื่อการเรียนรู้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนส่วนประกอบของผิวหนัง" โดย ผศ.ดร.ปิยนันท์ ปานนิ่ม วิภาหัสน์ และดร.กิติภูมิ วิภาหัสน์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ได้รับรางวัล Special Award for Outstanding Innovation จาก Hong Kong International Exhibition of Inventions of Geneva

มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก

รศ.ดร.สมหมาย ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า อีกหนึ่งผลงานที่นักวิจัยของ มทร.ธัญบุรี ร่วมกับภาคเอกชน ในนามบริษัท ดีเอ็มดี แมทแอนด์รีเสริช จำกัด คือผลงาน "PolypThrive: settlement substrate for coral polyp with growth acceleration" โดย รศ.ดร.วารุณี อริยวิริยะนันท์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล Silver Medal โดยผลงานนี้มีเป้าหมายในการฟื้นฟูแนวปะการังอย่างยั่งยืนและใช้เทคโนโลยีวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม มทร.ธัญบุรี มีเป้าหมายสำคัญในการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรม และจะเดินหน้าสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้วยความต่อเนื่อง สร้างระบบนิเวศทางนวัตกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา เชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม และสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม

ด้าน ศ.ดร.กฤษณ์ชนม์ ภูมิกิตติพิชญ์ รองอธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวเสริมว่า มหาวิทยาลัยยังมุ่งเน้นการบ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ พัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริง และสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การได้รับรางวัลระดับโลกในครั้งนี้คือแรงขับเคลื่อนสำคัญ ที่สะท้อนบทบาทของมหาวิทยาลัยในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรม และกำลังหลักในการพัฒนาประเทศด้วยองค์ความรู้และพลังคนรุ่นใหม่.


ข่าวกระทรวงการอุดมศึกษา+การวิจัยแห่งชาติวันนี้

มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน และสามารถคว้ารางวัลรวมทั้งสิ้น 7 รางวัล จากผลงานของคณะนักวิจัยในสถาบันจำนวน 5 ผลงาน และอีก 1 ผลงานที่ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ "ผ้าซัพพอร์ทเข่าและข้อต่อจากเส้นใยกล้วย" โดย ผศ.ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Gold Medal with Jury "ระบบตรวจวัดด้วยภาพ

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. จับมือ สอศ. ดันสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา พลิกโฉมการศึกษาไทย ด้วยกิจกรรม TVET Smart Idea2Innovation — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา ว...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... "ศุภมาส" นำทีมเสวนา วิจัยไขคำตอบ ลดตระหนก สร้างตระหนัก สู่ทางรอดภัยแผ่นดินไหว — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย สำนักงานการวิจัยแห่งช...