มทร.ล้านนา ผลักดันงานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล ยกระดับผู้ประกอบการ-ผลิตภัณฑ์

นายอัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เปิดเผยว่า มทร.ล้านนา ได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาผู้ประกอบการและนักศึกษาในการเพิ่มมูลค่างานคราฟต์ชุมชน พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ทั้งในส่วนของ Food Craft (อาหารและเครื่องดื่ม ) , Folk Craft & Art Craft (เสื้อผ้า ศิลปะ หัตถกรรม งามแกะสลัก จิวเวลรี่) และ Recycle & Upcycling (ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากวัสดุเหลือใช้ อาทิ จากธรรมชาติ หรือพลาสติก) ซึ่งได้ดำเนินการร่วมกับผู้ประกอบการและชุมชนต่างๆ อาทิ ชุมชนวัวลายที่มีการทำจิวเวลรี่ เครื่องเงิน หรือการทำคราฟต์เบียร์ คราฟต์เหล้าของชุมชนที่ผลิตมาจากอ้อย ให้มีการทำโมเดลธุรกิจงานคราฟต์ชุมชนท้องถิ่นออกไปสู่ตลาดสากลมากขึ้น

มทร.ล้านนา ผลักดันงานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล ยกระดับผู้ประกอบการ-ผลิตภัณฑ์

"เมื่อเร็วๆ นี้ ผมและคณะอาจารย์ได้เดินทางไปประเทศเดนมาร์กและสวีเดน เป็นระยะเวลา 5 วัน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามทุนโครงการวิจัยเกี่ยวกับงานคราฟต์ชุมชน ที่มทร.ล้านนาได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมทั้งได้มีการนำผู้ประกอบการในชุมชนประมาณ 5 รายเดินทางเพื่อไปศึกษาดูงาน สร้างความร่วมมือกันเป็นพันธมิตรในต่างประเทศ เพื่อนำเสนอสินค้างานคราฟต์ของไทยไปสู่ตลาดในประเทศเดนมาร์กและสวีเดนมากขึ้น ซึ่งภาพรวมได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการและหน่วยงานจากประเทศเดนมาร์กและสวีเดนอย่างมาก" นายอัคค์สัจจา กล่าว มทร.ล้านนา ผลักดันงานคราฟต์ไทยสู่ตลาดสากล ยกระดับผู้ประกอบการ-ผลิตภัณฑ์

นายอัคค์สัจจา กล่าวต่อว่า งานคราฟต์ของไทยได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ และที่ผ่านมาผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งได้มีการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์งานคราฟต์ตอบโจทย์ความต้องการทั้งคนไทยและต่างชาติมากขึ้น แต่การนำเสนอผลิตภัณฑ์งานคราฟต์นั้นเมื่อถึงจุดหนึ่ง จะพบว่าตลาดตันไม่สามารถไปต่อได้ เพราะไม่มีความร่วมมือหรือแมชชิ่งกับผู้ประกอบการหรือองค์กรในต่างประเทศ ทั้งที่งานคราฟต์หลายๆ ส่วน อาทิ งานคราฟต์กลุ่ม Recycle & Upcycling เป็นการลดเศษวัสดุทางธรรมชาติ การทำจิวเวลรี่ เครื่องเงิน เป็นงานหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น งานฝีมือของคนไทยภายใต้วัฒนธรรมความเป็นไทย

"การขายสินค้ากับต่างประเทศ จำเป็นจะต้องมีคู่ค้า หรือแมชชิ่งกับผู้ประกอบการในต่างประเทศด้วย และต้องสำรวจตลาดแต่ละประเทศนั้นๆ เพราะอย่างเสื้อผ้าชาติพันธุ์ คนต่างชาติมองว่าสวย เขาอาจจะซื้อเมื่อมาเที่ยวที่ประเทศไทยและสวมใส่ แต่ไม่สามารถใส่ในชีวิตประจำวันได้ทุกวัน ซึ่งในประเทศเดนมาร์ก ไม่สามารถขายเสื้อผ้าของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ แต่หากนำกลุ่มเสื้อผ้ามาผนวกับรองเท้าหนัง จะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น ฉะนั้น การแมชชิ่งกับผู้ประกอบการในต่างประเทศ จะทำให้ได้ตลาด การดีไซต์ การเลือกโทนสีที่ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศนั้นๆ" นายอัคค์สัจจา กล่าว

รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มทร.ล้านนา กล่าวด้วยว่ามหาวิทยาลัยได้หารือร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และสร้างเครือข่ายกับกลุ่มธุรกิจ บริษัท ผู้ประกอบการจากเดนมาร์กและสวีเดน โดยนำเสนองานคราฟต์ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ พบว่า บริษัทในประเทศเดนมาร์ก และสวีเดน อาทิ บริษัทของราชวงศ์เดนมาร์ก มีการสั่งผลิตแก้วเซรามิกของไทยอยู่แล้ว เพียงแต่ทางบริษัทในต่างประเทศจะเป็นผู้ออกแบบ ดีไซต์ เลือกเฉดสีให้เหมาะกับความต้องการของผู้บริโภค และขณะนี้ได้มีการแมชชิ่งผู้ประกอบการไทยและผู้ประกอบการเดนมาร์กในการผลิตตุ๊กตาไม้ 1,500 ชิ้น ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้น เพราะหากขยายตลาดได้มากขึ้น เป็นที่ต้องการมากขึ้น สามารถขายได้ประมาณ 100 กว่าประเทศจะทำให้สินค้า งานคราฟต์ของไทยเป็นที่รู้จักมากขึ้น และเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าชุมชนได้

อย่างไรก็ตาม "งานคราฟต์" เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ที่สำคัญของไทย ซึ่งมทร.ล้านนา ตั้งเป้าความร่วมมือกับประเทศเดนมารก์และสวีเดนในรูปแบบการส่งเสริมงานคราฟต์ของไทยไปสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งในปีนี้แรกอาจจะมีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการวิจัย 5 กลุ่มผู้ประกอบการงานคราฟต์ และจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการงานคราฟต์ไปร่วมงานแฟร์ หรือนิทรรศการงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีการส่งเสริม สนับสนุนงานคราฟต์เป็นหลัก


ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชวันนี้

inFASH มทร.กรุงเทพ ระดมสมองวิเคราะห์แนวโน้มสีและวัสดุไลฟ์สไตล์ ปี 2027

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล( มทร.)กรุงเทพ เปิดเผยว่า วันที่ 2 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยแฟชั่นแห่งประเทศไทย (inFASH) ภายใต้คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มทร.กรุงเทพได้จัดการประชุมระดมสมองเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ "แนวโน้มสีและวัสดุไลฟ์สไตล์ 2027/1" เพื่อวิเคราะห์และกำหนดทิศทางของแนวโน้มสีและวัสดุไลฟ์สไตล์ เพื่อสามารถแข่งขันในเวทีระดับโลก โดยสถาบันวิจัยแฟชั่นฯ เป็นตัวแทนประเทศไทย ที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนระดมสมองร่วมกับนานาชาติ ในเวที Intercolor ซึ่งเป็นองค์กรวิเคราะห์แนว

ผศ.ดร.กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ คณบดีคณะบริหา... มทร.กรุงเทพ จับมือ efinanceThai สร้างอินฟลูรุ่นใหม่สายการเงิน การลงทุน รู้ลึก รู้จริง มีจรรยาบรรณ — ผศ.ดร.กิตติพงษ์ โสภณธรรมภาณ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิ...

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิ... มทร.ธัญบุรีตรวจสอบทุกอาคารปลอดภัยหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว — รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเ...

รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธ... มทร.ล้านนา ปรับ 8 หลักสูตร รองรับนักศึกษาต่างชาติ รับมือเด็กเกิดน้อย — รศ.วิเชษฐ ทิพย์ประเสริฐ รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (...

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 รศ.ดร.พิชัย จั... คณะวิศวะ มทร.กรุงเทพ ตรวจสอบอาคารสูงในมหาวิทยาลัยประเมินความมั่นคงและปลอดภัยหลังแผ่นดินไหว — เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหา...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ จับมือ เกียร์เฮด ผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)กรุงเทพ กล่าวว่า...