การปฏิรูปโลจิสติกส์ของประเทศไทยเปิดเส้นทางใหม่สู่การเติบโต

ประเทศไทยกำลังเสริมสร้างบทบาทในฐานะศูนย์กลางการค้าระดับภูมิภาค โดยในปีที่ผ่านมา มูลค่าการค้าข้ามพรมแดนของประเทศพุ่งสูงถึง1.8 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และสูงกว่าเป้าหมายเดิมของรัฐบาลที่ตั้งไว้ 4% ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยผลักดันการเติบโตนี้คือ นโยบายเชิงรุกด้านการค้าชายแดน และ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคทั้งนี้ ประเทศไทยมีแผนที่จะดำเนินการต่อเนื่องในปี 2568 โดยมีเป้าหมายให้มูลค่าการค้าประจำปีถึง 2 ล้านล้านบาทภายในปี 2570 เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว

การปฏิรูปโลจิสติกส์ของประเทศไทยเปิดเส้นทางใหม่สู่การเติบโต

ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังเสริมสร้างศักยภาพในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการใช้ประโยชน์จากที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยมหภาคและความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ แต่โอกาสทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในลำดับที่ 9 จาก 50 ประเทศ ในดัชนีโลจิสติกส์ตลาดเกิดใหม่ปี 2568[1] ซึ่งการพัฒนาที่สำคัญอย่างการเติบโตอย่างต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซ การเชื่อมต่อการค้าระดับภูมิภาคที่เพิ่มขึ้น และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของอุตสาหกรรมได้

แนวโน้มเหล่านี้กำลังพลิกโฉมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยอย่างมีนัยสำคัญ การติดตามข้อมูลข่าวสารและการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถค้นพบโอกาสใหม่ ๆ เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

การเติบโตของอีคอมเมิร์ซที่เฟื่องฟูกำลังเปลี่ยนแปลงความต้องการด้านโลจิสติกส์

อุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว จากรายงาน e-Conomy SEA 2024 โดย Google, Bain และ Temasek ระบุว่าประเทศไทยยังคงเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคาดว่ามูลค่าการซื้อขายรวม (Gross Merchandise Value) จะเพิ่มขึ้นจาก 26,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2567 เป็น 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573[2] ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเป็นดิจิทัลสูง ปัจจุบัน 91% ของประชากรไทยใช้อินเทอร์เน็ต และเกือบ 70% นิยมซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซมากกว่าร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 55.8%[3].

เมื่อมีผู้บริโภคหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้าและบริการมากขึ้น ความต้องการประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ราบรื่น ตั้งแต่ขั้นตอนการสั่งซื้อไปจนถึงการจัดส่งขั้นสุดท้าย (Last-mile delivery) จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการจัดส่งที่รวดเร็ว ระบบคืนสินค้าที่สะดวก และเครือข่ายการขนส่งที่ครอบคลุมมากขึ้นกำลังผลักดันให้การเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์กลายเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของภาคธุรกิจ เพื่อก้าวให้ทันกับแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไป องค์กรต้องเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ ตั้งแต่ ระบบอัตโนมัติในการจัดการคำสั่งซื้อ การวางแผนเส้นทางขนส่งที่ชาญฉลาด ระบบติดตามพัสดุแบบเรียลไทม์ ไปจนถึงตัวเลือกการจัดส่งที่ยืดหยุ่น ที่ เฟดเอ็กซ์ เราเห็นได้ว่าโซลูชันของเรา เช่น FedEx Ship Manager ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ และบริการ FedEx International Connect Plus ช่วยให้ผู้ค้าอีคอมเมิร์ซเพิ่มประสิทธิภาพ พัฒนาประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันในตลาดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

การเชื่อมต่อการค้าระดับภูมิภาคที่แข็งแกร่งขึ้น เปิดโอกาสใหม่ทางธุรกิจ

การมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์ของประเทศไทยในการเสริมสร้างการเชื่อมต่อไม่เพียงแต่เสริมสร้างบทบาทในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค แต่ยังปลดล็อกโอกาสใหม่ๆ ให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของประเทศอีกด้วย ประเทศกำลังดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น การขยายสนามบิน การพัฒนาท่าเรือใหม่ และโครงการแลนด์บริดจ์ ที่จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมโยงการค้าและกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว-ไทย ระยะทาง 873 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศไทยและจีนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หนึ่งในโครงการสำคัญที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยคือ แผนพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ซึ่งมุ่งเปลี่ยนแปลงพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง โดยมีการลงทุนที่สำคัญ รวมถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ตลอดจนรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อสนามบินหลักทั้งสามแห่งของประเทศ จะช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อระดับภูมิภาคและเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ โครงการเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลยังช่วยให้ธุรกิจสามารถขยายกิจการข้ามพรมแดนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เพื่อสนับสนุนความพยายามในการเสริมสร้างศักยภาพด้านโลจิสติกส์ เฟดเอ็กซ์ ได้ขยายศูนย์บริการที่แหลมฉบัง ให้มีขนาด 4,900 ตารางเมตร พร้อมทั้งติดตั้งเทคโนโลยีการจัดการวัสดุและการคัดแยกพัสดุขั้นสูง โดยภายในศูนย์ประกอบด้วยคลังสินค้าขนาด 4,560 ตารางเมตร รองรับโซลูชันการขนส่งหลายรูปแบบ รวมถึงโซลูชันบริการเสริมด้านโลจิสติกส์ (Value-Added Services) การพัฒนาเหล่านี้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถและความยืดหยุ่นของบริษัท ในการรองรับความต้องการด้านโลจิสติกส์ที่หลากหลายของธุรกิจในพื้นที่ EEC โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์

Digitalization: ปัจจัยสำคัญใหม่ในการสร้างห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น

ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่นเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับความท้าทายของห่วงโซ่อุปทาน จากการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภคไปจนถึงความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ โซลูชันโลจิสติกส์ที่มีความยืดหยุ่น เชื่อถือได้ และคุ้มค่าต่อการลงทุนจึงมีบทบาทสำคัญ

การนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน หรือกระบวนการทำงาน และระบบอัตโนมัติเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวและรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีอย่าง AI, การวิเคราะห์ข้อมูล และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) สามารถเพิ่มความสามารถในการมองเห็นและบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และระบบติดตามแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้สามารถคาดการณ์ปัญหา ลดความเสี่ยง รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว

จากข้อมูลของ McKinsey & Company องค์กรที่นำ AI มาใช้ในการบริหารห่วงโซ่อุปทานก่อนคู่แข่ง สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ลงได้ถึง 15% ปรับการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 35% และยกระดับการให้บริการได้ถึง 65%[4]นอกจากนี้ เฟดเอ็กซ์ ยังนำข้อมูลมาพัฒนาโซลูชันที่มีนวัตกรรมเพื่อให้ธุรกิจสามารถควบคุมห่วงโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น FedEx Surround Monitoring and Intervention ที่ช่วยในการจัดการการจัดส่งแบบเชิงรุกผ่านข้อมูลเรียลไทม์ ช่วยให้ธุรกิจสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ขณะที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าและโลจิสติกส์ในภูมิภาค การปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาในอุตสาหกรรมนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับธุรกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจและความเสี่ยงด้านการค้าจะยังคงเป็นปัจจัยท้าทาย แต่การพัฒนาหลักต่าง ๆ ที่กล่าวถึงข้างต้น กำลังช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของโลจิสติกส์และสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ธุรกิจที่สามารถนำเทคโนโลยีและข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง ลงทุนในห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น และใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานการค้าของประเทศไทยที่กำลังขยายตัว จะสามารถรับมือกับความท้าทายและคว้าโอกาสที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฟดเอ็กซ์ ยังคงมุ่งมั่นสนับสนุนธุรกิจในประเทศให้เติบโตไปพร้อมกับกลยุทธ์ของประเทศไทยในการเสริมสร้างบทบาทในฐานะศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค

[1] 2025 Emerging Markets Logistics Index

[2] e-Conomy SEA 2024 by Google, Bain, and Temasek

[3] Digital 2025 by Meltwater and We Are Social

[4] Succeeding in the AI supply chain revolution by McKinsey & Company


ข่าวความร่วมมือ+โลจิสติกส์วันนี้

SJWD ลุยขยายพอร์ตธุรกิจต่างประเทศ เซ็นสัญญาคว้างานใหม่ 2 รายในเวียดนาม มูลค่ารวมกว่า 450 ล้านบาท ให้บริการโลจิสติกส์ End-to-End Solution & Supply Chain Financing

"บมจ.เอสซีจี เจดับเบิ้ลยูดี โลจิสติกส์" หรือ SJWD รุกขยายพอร์ตธุรกิจต่างประเทศ ปิดดีลงานใหม่จากลูกค้า 2 รายในเวียดนาม มูลค่ารวมกว่า 450 ล้านบาท เซ็นสัญญา 'Vina Kraft Paper' ขยายบริการโลจิสติกส์ต่อเนื่องอีก 4 ปี และความร่วมมือโครงการใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้าเพื่อมุ่งสู่ Net Zero ส่วนอีกรายเซ็นสัญญา 'เอ.เจ.พลาสท์ (เวียดนาม)' ให้บริการโลจิสติกส์ครบวงจรแบบ End-to-End Supply Chain & Financial Solution ให้บริการขนย้ายเครื่องจักรจากไทยมายังเวียดนามพร้อมบริการติดตั้งรองรับการขยายโรงงานเฟส 2

คุณอภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา ผู้ช่วยประธานเจ้... คิง เพาเวอร์ ร่วมกับ SF Asia ลงนามความร่วมมือ ด้านการให้บริการโลจิสติกส์ — คุณอภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ด้านปฏิบัติการ กลุ่มบริษัท คิง...

ปลดล็อกการเติบโตสำหรับธุรกิจในภูมิทัศน์โล... การปฏิรูปโลจิสติกส์ของประเทศไทยเปิดเส้นทางใหม่สู่การเติบโต — ปลดล็อกการเติบโตสำหรับธุรกิจในภูมิทัศน์โลจิสติกส์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศไทยโดย ศศธร ภาสภิญโญ ...

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 นายเดชา พฤกษ์พั... กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก ปั้นแรงงานโลจิสติกส์ พร้อมลุยตลาดงาน — เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2568 นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนา...

เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก (Earth Day) ว... วัตสันร่วมมือกับลูกค้าลดคาร์บอน 4,000 ตัน สู้ภาวะโลกร้อน — เนื่องในโอกาสวันคุ้มครองโลก (Earth Day) วัตสัน แบรนด์สุขภาพและความงามชั้นนำของ เอเอส วัตสัน ประ...

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งปร... ไทยพีบีเอส ต้อนรับสื่อจีน เสริมความร่วมมือยุคดิจิทัล — องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือไทยพีบีเอส นำโดย รศ. ดร.วิลาสินี พิพิ...

นายพอลล์ กาญจนพาสน์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้า... IMPACT จับมือ Live Nation เดินหน้าความร่วมมือ ยกระดับ IMPACT Arena เวทีระดับโลก — นายพอลล์ กาญจนพาสน์ (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิ...

มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตรผู้นำ-นำการเปล... มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตร LFC รุ่นที่ 15 ESG in Practices ปรับธุรกิจให้โตยั่งยืน รับกติกาใหม่โลก — มูลนิธิสัมมาชีพเปิดหลักสูตรผู้นำ-นำการเปลี่ยนแปลง รุ่...