ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป

บทความโดย ซาชิน มัลลิค, ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์, เร้ดแฮท

ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป

เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าทุกสิบปีจะมีคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานจากความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าที่ยังไม่เติมเต็ม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในยุค 1990 เกิดการเปลี่ยนผ่านข้อมูลสู่การเป็นข้อมูลดิจิทัลที่ทำให้ World Wide Web (www) เป็นที่นิยม ต่อมาเราเริ่มต้นปี 2000 ด้วยการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบเวอร์ชวลที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไฮเปอร์ไวเซอร์ ทำให้แอปพลิเคชันไม่ต้องพึ่งพาฮาร์ดแวร์อีกต่อไป ในอีกสิบปีถัดมา (2010) มีการนำโครงสร้างพื้นฐานแบบออนดีมานด์มาใช้ พร้อมกับการเกิดขึ้นของ DevOps และ Kubernetes ที่เข้ามาทำให้สามารถสร้างและปรับใช้แอปพลิเคชันได้เร็วขึ้น จากเดิมที่เคยใช้เวลาเป็นปีเหลือเพียงหลักชั่วโมง และในยุค 2020 เรากำลังเห็นการเติบโตของ Generative AI (Gen AI) รวมถึงการที่ลูกค้าหลายรายเริ่มทบทวนแนวทางการทำเวอร์ชวลไลเซชันแบบดั้งเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม

อย่างน้อยสองในสามของแอปพลิเคชันสำคัญขององค์กรรันอยู่บนเวอร์ชวลแมชชีน และลูกค้าส่วนใหญ่เริ่มทบทวนแนวทางการใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชันดั้งเดิมของตนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงด้านนี้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เร้ดแฮทนำเสนอข้อมูลทิศทางของตลาดด้านเวอร์ชวลไลเซชัน ความสำคัญของความร่วมมือกับระบบนิเวศพันธมิตร และแนวทางที่องค์กรสามารถใช้เพื่อให้การลงทุนด้านเวอร์ชวลแมชชีนคุ้มค่า รวมถึงเส้นทางการปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม

ทิศทางในอนาคต

ในปี 2025 และจากนี้ไป จะมีการให้คำนิยามคำว่าเวอร์ชวลไลเซชันอย่างหลากหลาย ลูกค้าจำนวนมากหลีกเลี่ยงการถูกผูกขาดจากผู้ให้บริการรายเดียว (vendor lock-in) ด้วยการเลือกใช้ไฮเปอร์ไวเซอร์จากผู้ให้บริการหลายราย ในขณะเดียวกัน ผู้พัฒนาและจำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (ISVs) โดยเฉพาะในด้านการจัดเก็บข้อมูล การสำรองข้อมูล และการกู้คืนระบบจากภัยพิบัติ ก็กำลังเผชิญกับกระแสความหลากหลายนี้เช่นกัน ทำให้ ISVs ต่างขยายให้บริการของตนรองรับการใช้งานกับไฮเปอร์ไวเซอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การดำเนินงานง่ายขึ้นและลดความซับซ้อนในการเรียนรู้ โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI จะมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างราบรื่นในระดับภาษาคำสั่งปฏิบัติการ (Operational Syntax) โดยไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในระบบที่ซับซ้อน โซลูชันที่ใช้ AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความยุ่งยากในการดำเนินงาน และหลีกเลี่ยงการต้องเรียนรู้ระบบที่ซับซ้อนและเฉพาะทางมากมาย ช่วยให้ทีมงานทำงานได้อย่างราบรื่นโดยใช้คำสั่งในระดับปฏิบัติการทั่วไปที่ไม่ซับซ้อนสื่อสารกับคอมพิวเตอร์

เราจะได้เห็นว่ามีการนำหลักการการพัฒนาแอปพลิเคชันสมัยใหม่มาใช้มากขึ้น ความคุ้นเคยของลูกค้ากับวิธีการพัฒนาและปรับใช้แอปพลิเคชันสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จากการที่นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถให้บริการแอปพลิเคชันได้อย่างคล่องตัว จะกระตุ้นให้องค์กรประเมินเวิร์กโหลดเวอร์ชวลแมชชีนที่ใช้งานอยู่ และพิจารณาว่าเวิร์กโหลดใดเหมาะสมกับการนำแนวทางสมัยใหม่มาใช้ ดังนั้น แพลตฟอร์มที่สามารถรันเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ร่วมกันได้อย่างราบรื่น และมอบความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน จะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การใช้งานไฮบริดคลาวด์จะต้องเรียบง่าย แม้ว่าลูกค้าจะใช้กลยุทธ์มัลติคลาวด์สำหรับเวิร์กโหลดเวอร์ชวลไลเซชัน แต่ก็มีแนวโน้มที่จะย้ายเวิร์กโหลดบางส่วนกลับมาไว้ในระบบภายในองค์กร (on-premises) ปัจจัยที่ขับเคลื่อนการตัดสินใจนี้ ได้แก่ ความพร้อมใช้งานในแต่ละภูมิภาค ความกังวลเกี่ยวกับอำนาจในการควบคุมข้อมูล และการปรับค่าใช้จ่ายให้เหมาะสม การพึ่งพาผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น ตอกย้ำให้เห็นความจำเป็นที่ต้องใช้โซลูชันไฮบริดคลาวด์ ซึ่งสามารถมอบการทำงานที่เป็นมาตรฐานไม่ว่าจะใช้บนคลาวด์ใดก็ตาม และมาพร้อมความสามารถในการสลับไปยังระบบสำรอง (failover) ที่เชื่อถือได้โดยอัตโนมัติและไม่ติดขัด ช่วยให้บริหารจัดการระบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนง่ายขึ้น

จากที่กล่าวมา เราจะเห็นได้ว่าจำเป็นต้องใช้โซลูชันเวอร์ชวลไลเซชันที่ทันสมัยที่สามารถปรับตัวและทำงานได้กับทุกสภาพแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถเตรียมรับนวัตกรรมและการเติบโตในอนาคต การใช้กลยุทธ์ที่ถูกต้องจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับโครงสร้างพื้นฐานแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปได้

ความต้องการโซลูชันเวอร์ชวลไลเซชันแบบโอเพ่นและไฮบริด

ต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นและการจำกัดงบประมาณด้านไอที ไม่ได้เป็นเพียงเหตุผลเดียวที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรทบทวนการใช้โซลูชันเวอร์ชวลไลเซชันของตนใหม่ ทางเลือกในการใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สที่ทันสมัยกำลังเข้ามามีบทบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสามารถตอบโจทย์ความต้องการที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของเวอร์ชวลไลเซชันในอนาคตได้

แม้การเดินสู่ความทันสมัยต้องใช้เวลาอีกหลายปี และเวอร์ชวลแมชชีนยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในกลยุทธ์ด้านไอทีขององค์กร แต่มีแนวโน้มว่าแผนงานในอนาคตจะเกี่ยวกับเรื่องของคอนเทนเนอร์, การใช้งานที่ edge, Generative AI (gen AI) และเทคโนโลยีอื่น ๆ อีกมาก การใช้ AI ในองค์กร ต้องการแพลตฟอร์มที่แก้ความท้าทายที่เหมือนกันได้ด้านความยืดหยุ่น เวิร์กโฟลว์การทำงานร่วมกัน และการสเกลไปได้ทุกที่บนไฮบริดคลาวด์ การจะใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ โดยไม่ทำให้การลงทุนด้านเวอร์ชวลแมชชีนที่ลงทุนไปแล้วสูญเปล่าได้นั้น องค์กรต้องใช้โซลูชันที่ไม่ผูกขาดอยู่กับเวนเดอร์ใดเวนเดอร์หนึ่ง และมอบแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถบริหารจัดการได้ทั้งแอปพลิเคชันรุ่นใหม่และรุ่นเก่าทั้งหมด และต้องเป็นโซลูชันที่รองรับการใช้แพลตฟอร์ม AI ขององค์กร

จุดนี้เองที่โซลูชันโอเพ่นซอร์สแสดงให้เห็นถึงศักยภาพอย่างชัดเจน ด้วยการนำเสนอวิธีผสานรวมเทคโนโลยีคลาวด์เนทีฟโดยไม่จำเป็นต้องละทิ้งโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ เวอร์ชวลไลเซชันแบบโอเพ่นซอร์สเป็นทางเลือกที่เปิดโอกาสให้องค์กรสามารถเข้าถึงระบบนิเวศทั้งหมดของเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรอง ได้รับความยืดหยุ่น และที่สำคัญที่สุดคือมอบอำนาจการควบคุมที่ผู้บริหารไอทีกำลังแสวงหาในสภาวะตลาดที่มีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น โซลูชัน Red Hat OpenShift พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว อาทิ Kubernetes, KubeVirt และ KVM เพื่อมอบประสบการณ์การบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพทั้งในสภาพแวดล้อมคลาวด์ ระบบภายในองค์กร (on-premises) และเอดจ์ (edge)

การทำงานร่วมกันของเวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์

องค์กรหลายแห่งพบว่า ตนเองต้องเผชิญกับความท้าทายเฉพาะหน้าด้านเวอร์ชวลไลเซชันซึ่งเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด และยังคงต้องการวางรากฐานเพื่อการปรับปรุงแอปพลิเคชันให้ทันสมัยในอนาคต แต่ความท้าทายนี้อาจเป็นโอกาสหนึ่งขององค์กรได้ องค์กรหลายแห่งยังไม่พร้อมทุ่มเทไปกับเรื่องการปรับให้ทันสมัยทั้งหมด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านข้อจำกัดด้านงบประมาณ ช่องว่างทางทักษะ การจัดลำดับความสำคัญ หรือเหตุผลใด ๆ ก็ตาม บ่อยครั้งที่องค์กรเหล่านี้เน้นให้การทำธุรกิจและระบบต่าง ๆ ดำเนินไปได้ก่อน และทำการเปลี่ยนแปลงด้านไอทีเพิ่มทีละน้อย แทนทางเลือกในการยกเครื่องโครงสร้างพื้นฐานไอทีทั้งหมดครั้งใหญ่ที่ใฝ่ฝันอยากจะทำ แต่อย่างไรก็ตาม การทำเวอร์ชวลไลเซชันให้ทันสมัยนั้น ไม่ได้อยู่ในข้อจำกัดที่ว่า จำเป็นต้องทำครั้งเดียวทั้งหมดหรือไม่เช่นนั้นก็ไม่ต้องทำเลย

เร้ดแฮท ทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุง Red Hat OpenShift ให้ตอบสนองความต้องการของโครงสร้างพื้นฐานแบบเวอร์ชวลไลซ์ได้อย่างดีที่สุด พร้อมทั้งช่วยให้องค์กรสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมไอทีล่าสุด เช่น Generative AI ทั้งนี้ Red Hat OpenShift พร้อม OpenShift Virtualization ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมเชิงกลยุทธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมเวอร์ชวลไลเซชันแบบดั้งเดิมและแอปพลิเคชันสมัยใหม่แบบคลาวด์-เนทีฟ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ในขณะที่ยังคงรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน

นอกจากนี้เร้ดแฮทยังได้ขยายผลิตภัณฑ์ด้านเวอร์ชวลไลเซชันเพื่อรองรับผู้ใช้ในทุกขั้นตอนของการใช้งานเทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน ด้วย Red Hat OpenShift รุ่นล่าสุด Red Hat OpenShift Virtualization Engine องค์กรจะได้รับโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ ที่รวมถึงคุณสมบัติและส่วนประกอบหลักของ OpenShift ที่จำเป็นสำหรับการใช้เวอร์ชวลไลเซชัน พร้อมเส้นทางการอัปเกรดที่ราบรื่น และง่ายดาย เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพ และความทันสมัยในอนาคต

Red Hat OpenShift Virtualization ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ เช่น Reist Telecom AG สามารถผสานให้เวอร์ชวลแมชชีนและคอนเทนเนอร์ทำงานร่วมกันได้ ทำให้สามารถลดต้นทุนค่าลิขสิทธิ์ลงครึ่งหนึ่ง เพิ่มความโปร่งใสและความสอดคล้องให้กับนโยบายความปลอดภัยด้านไอที รวมถึงเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทีมผ่านแนวทาง DevOps และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

เส้นทางข้างหน้าที่ยืดหยุ่น

ภาพรวมของเวอร์ชวลไลเซชันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงพอสมควร และในปี 2025 ทิศทางบางอย่างจะเริ่มชัดเจนขึ้น การตัดสินใจครั้งสำคัญ ๆ เกิดขึ้นเมื่อต้องพิจารณาถึงการปกป้องไม่ให้การลงทุนด้านเวอร์ชวลแมชชีนที่ทำไปแล้วเสียเปล่า ในขณะเดียวกันก็จับตาดูอนาคตด้วย ทั้งนี้ แม้การรักษาสถานะเดิมอาจดูเป็นทางเลือกที่ง่ายกว่า แต่ Red Hat OpenShift Virtualization Engine สามารถช่วยให้องค์กรโยกย้ายเวิร์กโหลดไปยังสภาพแวดล้อมที่มั่นคงก่อน แล้วทยอยปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม


ข่าวเซิร์ฟเวอร์+ฮาร์ดแวร์วันนี้

ส่อง! เวอร์ชวลไลเซชันปี 2025 และจากนี้ไป

บทความโดย ซาชิน มัลลิค, ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์, เร้ดแฮท เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นได้ว่าทุกสิบปีจะมีคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมเกิดขึ้น โดยมีพื้นฐานจากความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าที่ยังไม่เติมเต็ม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในยุค 1990 เกิดการเปลี่ยนผ่านข้อมูลสู่การเป็นข้อมูลดิจิทัลที่ทำให้ World Wide Web (www) เป็นที่นิยม ต่อมาเราเริ่มต้นปี 2000 ด้วยการใช้เซิร์ฟเวอร์แบบเวอร์ชวลที่เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไฮเปอร์ไวเซอร์ ทำให้แอปพลิเคชันไม่ต้องพึ่งพาฮาร์ดแวร์อีกต่อไป

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เหว่ยเสิ้ง พรีซิชั่... เหว่ยเสิ้ง พรีซิชั่น ฮาร์ดแวร์ (ไทยแลนด์) ลงนามในสัญญาซื้อขายที่ดินในนิคมฯ ของดับบลิวเอชเอ — เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เหว่ยเสิ้ง พรีซิชั่น ฮาร์ดแวร์ (ไทยแลนด...

ปัจจุบันธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างเดิน... การวางแนวทางการป้องกัน และสร้างความปลอดภัย ด้วย SAP S/4HANA Cloud (Public Cloud) — ปัจจุบันธุรกิจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ต่างเดินหน้าเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานภาย...

แนวคิดการรวมทรัพยากรไอทีเพื่อบริหารจัดการ... ยกเครื่องไอทียุคเปลี่ยนผ่านด้วยโครงสร้างพื้นฐานแบบ Hyper Converged — แนวคิดการรวมทรัพยากรไอทีเพื่อบริหารจัดการและแชร์การใช้งานร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพสูง...

เดลล์ เทคโนโลยีส์ เปิดตัว PowerScale สตอเรจ สร้างมาตรฐานใหม่ ปลดล็อคศักยภาพใหม่ทางข้อมูล

ระบบ PowerScale สตอเรจ นำสิ่งที่ดีที่สุดของฮาร์ดแวร์ เดลล์ อีเอ็มซี เซิร์ฟเวอร์ และซอฟต์แวร์ สตอเรจ มาเพื่อช่วยลูกค้าในการจัดการไฟล์ และข้อมูลต่างๆ ในดาต้าเซ็นเตอร์หลัก ที่พื้นที่ปลายทาง (edge) และที่พับลิคคลาวด์...

HPE Networking Instant On 1960 Switch นำเ... HPE Networking Instant On 1960 Switch เพิ่มศักยภาพเครือข่ายสำหรับธุรกิจ SMB — HPE Networking Instant On 1960 Switch นำเสนอโซลูชันเครือข่ายประสิทธิภาพสูงที...

ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโ... Kaspersky เผยเซิร์ฟเวอร์ไทยถูกละเมิดและใช้โจมตีมากกว่าครึ่งล้าน สวนทางดัชนีปลอดภัยไซเบอร์ — ตามรายงานดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก 2024 หรือ GCI (Glo...