โรช ไทยแลนด์ ตอกย้ำการเดินทางแห่งนวัตกรรมการรักษาและวัฒนธรมองค์กร ภายใต้ผู้บริหารคนใหม่ แมทธิว ไซมอน โคตส์ (Matthew Simon Coates - Matt Coates) ประจำประเทศไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว ด้วยพื้นฐานความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์กว่ายี่สิบปีในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยาและค้นคว้าและวิจัย ทำให้ แมทธิว พร้อมก้าวเข้าสู่บทบาทใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เพื่อขับเคลื่อนการเข้าถึงนวัตกรรมทางการรักษา พร้อมทั้งส่งเสริมความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
ภายใต้แนวคิด "การเดินทางแห่งนวัตกรรมการรักษา และวัฒนธรรมของ โรช ไทยแลนด์ เพื่อสังคมไทย" โรช ไทยแลนด์จัดงานแถลงข่าว เพื่อแนะนำ แมทธิว ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของ โรช ที่มีต่อการวิจัยและพัฒนาผ่านการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความคล่องตัวขององค์กร (Agile Organisation) และการผลักดันความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางนวัตกรรมและวิวัฒนาการของอุตสาหกรรมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยเข้าถึงยานวัตกรรมมากยิ่งขึ้น
เบื้องหลังการพัฒนายาแต่ละตัว กับความทุ่มเทของโรช
การพัฒนายาเพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วยต้องอาศัยความทุ่มเทและการทำงานร่วมกันในระบบเครือข่ายทั่วโลกของโรช โดย โรช มีแผนเพิ่มทุนลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ปีละ 5% โดยปี 2569 จะใช้เงินลงทุนถึง 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ที่เปลี่ยนชีวิตคนไข้ไปในทางที่ดีขึ้น โดยโรช ไทยแลนด์ ได้นำการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ,2 หรือ 3 เข้ามาลงทุนในประเทศไทย มากกว่า 6 ร้อยล้านบาทในช่วง 22 ปีที่ผ่านมา (786 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2562 ถึง 2567)
กว่ายา 1 ตัวจะได้รับการอนุมัติ ต้องอาศัยความทุ่มเทมหาศาล โดยเฉลี่ยใช้เวลามากกว่า 7 ล้านชั่วโมง ในการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา ผ่านมากกว่า 6 พัน การทดลอง ใช้นักวิจัยมากถึง 400 กว่าคน เพื่อให้แน่ใจถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยา โดยทั่วไป มียาน้อยกว่า 12% ที่เข้าสู่การวิจัยในมนุษย์ แล้วสามารถพัฒนาจนได้รับการอนุมัติจาก FDA เพื่อพร้อมให้บริการแก่ผู้ป่วย ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โรชได้ให้การรักษาผู้ป่วยชาวไทยไปแล้วมามากกว่า 3 ล้านคน อีกทั้งยังมียากว่า 13 รายการ ที่อยู่ในรายชื่อบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งยืนยันถึงบทบาทของโรชในฐานะพันธมิตรที่น่าเชื่อถือในระบบการดูแลสุขภาพของประเทศไทย
บทบาทสำคัญของประเทศไทยในวิสัยทัศน์ระดับโลกของโรช
ประเทศไทยเป็นส่วนสำคัญในภารกิจของโรชที่มุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยในประเทศไทย โดยโรชสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ให้เข้าร่วมงานวิจัยทางคลินิกระยะที่ 1 ที่ 2 และ ที่ 3 ทำให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการรักษาโรคด้วยยานวัตกรรมใหม่ๆ และ นำเทคโนโลยีที่ใช้ร่วมการดูแลผู้ป่วยในการวิจัยมาให้แพทย์ได้ทำงานวิจัยพร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงยานวัตกรรมให้คนไข้ไทยในทางหนึ่งด้วย
จากข้อมูลที่ศึกษาโดย Deloitte การลงทุนทำงานวิจัยคลินิกทุก 1 บาทที่ลงทุน ประเทศไทยได้รับประโยชน์ 3 บาท
นอกจากนี้ การทำวิจัยในประเทศไทยช่วยเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ของนักวิจัยและแพทย์ผู้ดูแล เพื่อพัฒนาแนวทางการรักษาที่ตอบโจทย์ความท้าทายด้านสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น โรชยังทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้บุคลากรทางการแพทย์ ในการเผชิญกับปัญหาสุขภาพในอนาคต
พลังแห่งความร่วมมือ: วัฒนธรรมของการทำงานที่คล่องตัว ในแบบ Agile Way of Working
หัวใจสำคัญของความสำเร็จของโรช คือแนวทางที่ให้ความสำคัญกับบุคลากรเป็นอันดับแรก จากผลสำรวจของพนักงานปี 2567 ที่ ไรช ไทยแลนด์ พนักงานมีความภูมิใจอย่างมากในการทำงานในองค์กรสูงถึง 92% ในปีนี้ ด้วยโครงสร้างและการทำงานแบบ Agile หรือ การทำงานที่สามารถปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างคล่องตัว เป็นแนวทางการทำงานแบบคล่องตัว ซึ่งมุ่งเน้นการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว ความสามารถในการปรับตัว และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้กลายเป็นรากฐานสำคัญของการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มีความใส่ใจตั้งแต่พนักงานไปจนถึงครอบครัวพนักงาน
แมทธิวกล่าวว่า "จากประสบการณ์ในการทำงานระดับ Global ด้วยการวางวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและการให้อำนาจในการตัดสินใจ จะนำพาไปสู่การทำงานที่มีเป้าหมายเดียวกัน และสำหรับ โรช ไทยแลนด์ เรามีการทำงานแบบ Outcome Based Planning เป็นการทำงานโดยมุ่งที่ผลลัพธ์ในทุกๆ 90 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าเป้าหมายในระยะสั้นนี้ มีการวิเคราะห์ และสามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนให้ทันกับเหตุการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ เพื่อให้ผลลัพธ์ของเป้าหมายองค์กรระยะยาวสำเร็จได้"
การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม ความเท่าเทียม และความร่วมมืออย่างเปิดกว้าง ช่วยให้พนักงานสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และปรับตัวเข้ากับความท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความร่วมมือและความรับผิดชอบต่อสังคมไทย โรชทำงานร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วนทั่วประเทศไทย เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสามารถในการเข้าถึงการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้และส่งเสริมความรู้ด้านการดูแลสุขภาพการอยู่ร่วมกันในสังคมผ่านโครงการต่างๆ
ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ: โรชร่วมมือกับโรงพยาบาลชั้นนำ มหาวิทยาลัย และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในการพัฒนาการเข้าถึงยานวัตกรรมและการวินิจฉัยที่ล้ำสมัยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น การร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาแนวความรู้เกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีทางสุขภาพแก่ชมรมผู้ป่วยกว่า 20 ชมรม และ การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข เพื่อพัฒนาระบบสุขภาพในประเทศผ่านงานวิจัยและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ความรับผิดชอบต่อสังคมไทย: โรชตอบแทนสังคมผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและการศึกษาของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น กิจกรรม โรช ชิลเดรนส์วอล์คซึ่งจัดขึ้นทุกปีแสดงถึงความมุ่งมั่นในการสนับสนุนเด็กในชุมชน
อิทธิพลเชิงบวกต่อสังคมไทย:
ในเยาวชนไทย โรชส่งเสริมในการให้ความรู้เรื่องความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการมีส่วนร่วม DE&I (Diversity, Equity and Inclusion) ในโรงเรียนต่างๆ ในกลุ่มคนวัยทำงาน โรชมีโครงการ Cancer Care Connect: ตรวจเร็ว รักษาไว ห่างไกลมะเร็ง ที่ช่วยเชื่อมโยงข้อมูลแลความรู้เมื่อเผชิญกับโรคมะเร็ง ในกลุ่มนักเรียนและนักศึกษามหาลัย โรชเปิดโอกาสให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ 35-40 คน ต่อปี เข้ามามีประสบการณ์ทำงานที่โรช
มุ่งสู่อนาคต: วิสัยทัศน์สำหรับวันข้างหน้า
แมทธิวเน้นย้ำถึงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับบทบาทของโรชในของการดูแลสุขภาพของคนไทย โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ด้วยคำกล่าวที่สร้างแรงบันดาลใจว่า "ถ้าอยากไปเร็ว ให้ไปคนเดียว แต่ถ้าอยากไปไกล ให้ไปด้วยกัน" (When you run alone, you run fast. When you run together, you run far) แมทธิวอธิบายว่า "ระบบการดูแลสุขภาพเป็นระบบที่ต้องพึ่งพาการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ความคิดที่สร้างขึ้นในโรชเพียงลำพังนั้นอาจพัฒนาได้เร็วกว่า แต่อาจเอื้อประโยชน์แก่ผู้ป่วยอย่างจำกัด ในทางกลับกัน ความคิดที่ถูกพัฒนาร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ อาจใช้เวลานานและซับซ้อนกว่า แต่ท้ายสุดจะสามารถส่งมอบผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแก่ผู้ป่วย และสร้างระบบการดูแลสุขภาพที่ยั่งยืนในประเทศไทยได้"
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit