นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวนกว่า 200 ล้านบาท สำหรับ 6 กองทุน โดยจะจ่ายให้ผู้ถือหน่วยในวันที่ 13 ธ.ค., 18 ธ.ค และวันที่ 27 ธ.ค.2567 นี้ ได้แก่
กองทุนเปิดไทยสร้างโอกาส (TOF) (ระดับความเสี่ยง 5) โดยกองทุนมีนโยบายกระจายการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหลักทรัพย์ที่จะนำเข้าจดทะเบียนใหม่ (IPO) และที่มีแผนจะนำเข้าจดทะเบียน (Pre IPO) รวมถึงหลักทรัพย์ที่เสนอขายแบบเฉพาะเจาะจงที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต โดยกองทุนประกาศจ่ายเงินปันผลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 ต.ค. 2567 ในอัตรา 0.50 บาทต่อหน่วย โดยกำหนดจ่ายให้ผู้ถือหน่วยในวันที่ 13 ธ.ค. 2567 นี้ นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งที่33 รวมจำนวนที่จ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 30.20 บาทต่อหน่วย ดูประวัติการจ่ายปันผลทั้งหมด https://bit.ly/4iqAaS7
นอกจากนี้ ได้กำหนดจ่ายให้ผู้ถือหน่วยในวันที่ 18 ธ.ค. 2567 จำนวน 4 กองทุนพร้อมกัน ประกอบด้วย 2 กองทุน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 ก.ย. - 31 ส.ค. 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 ต.ค. 2567 ได้แก่ กองทุนเปิดกรุงไทย หุ้นไฮดิวิเดนด์ (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (KT-HiDiv-D) (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานผลการดำเนินงานที่ดี มีประวัติการจ่ายเงินปันผลที่ดีสม่ำเสมอ และ/หรือมีศักยภาพในการจ่ายเงินปันผลในอนาคต โดยกองทุนจ่ายปันผลในอัตรา 0.35 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 12 รวมจำนวนที่จ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 3.65 บาทต่อหน่วย ดูประวัติการจ่ายปันผลทั้งหมด https://bit.ly/3D1pKYZ และกองทุนเปิดกรุงไทย ออพเพอร์ทูนิตี้ (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (KT-OPP-D) (ระดับความเสี่ยง 6) เน้นกระจายลงทุนในหุ้น ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารแห่งหนี้ ตราสารการเงิน เงินฝาก โดยจะปรับสัดส่วนการลงทุนได้ตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 100 ของ NAV โดยกองทุนจ่ายปันผลในอัตรา 0.90 บาทต่อหน่วย นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งที่9 รวมจำนวนที่จ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 6.45 บาทต่อหน่วย ดูประวัติการจ่ายปันผลทั้งหมด https://bit.ly/4goJ7cL
กองทุนเปิดกรุงไทย ซีเล็คทีฟ อิควิตี้ ฟันด์ (KTSE) (ระดับความเสี่ยง 6) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 ม.ค. - 31 ธ.ค. 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 ต.ค. 2567 โดยกองทุนจ่ายปันผลในอัตรา 0.40 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 22 รวมจำนวนที่จ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 15.65 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่มีปัจจัยพื้นฐานดี รวมทั้งลงทุนในตราสารแห่งหนี้ และ/หรือเงินฝาก โดยบริษัทจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30 หลักทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ดูประวัติการจ่ายปันผลทั้งหมด https://bit.ly/3D2gxQg
และ กองทุนเปิดกรุงไทย หุ้น ซีแอลเอ็มวีที (ชนิดจ่ายเงินปันผล) (KT-CLMVT-D) (ระดับความเสี่ยง 6) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 ก.พ. - 31 ม.ค. 2568 สิ้นสุดวันที่ 31 ต.ค. 2567 กำหนดจ่ายในอัตรา 0.30 บาทต่อหน่วย นับเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งที่10 รวมจำนวนที่จ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 4.80 บาทต่อหน่วย โดยกองทุนมีนโยบายการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศ กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามและไทย (CLMVT) รวมทั้งหุ้นในประเทศอื่นใดที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้อง และ/หรือที่ได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือทรัพย์สินส่วนใหญ่มาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศดังกล่าวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ทั้งนี้ การจัดสรรน้ำหนักการลงทุนในแต่ละประเทศในกลุ่ม CLMVT จะเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนตามความเหมาะสมกับสภาวะตลาดการลงทุนในขณะนั้น ๆ หรือการคาดการณ์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในอนาคต ดูประวัติการจ่ายปันผลทั้งหมด https://bit.ly/3B5TSSB
นอกจากนี้ ยังได้เตรียมจ่ายปันผลในวันที่ 27 ธ.ค.2567 ของกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นทุนปันผล (KTSF) (ระดับความเสี่ยง 6) สำหรับรอบบัญชีวันที่ 1 ก.ค. 2567 - 30 มิ.ย. 2568 สิ้นสุดวันที่ 30 พ.ย. 2567 โดยกองทุนจ่ายปันผลในอัตรา 0.25 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นการจ่ายเงินปันผลครั้งที่ 55 รวมจำนวนที่จ่ายปันผลแล้วทั้งสิ้น 25.19 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ NAV ดูประวัติการจ่ายปันผลทั้งหมด https://bit.ly/3OV8xTG
"ภาพรวมตลาดการลงทุนยังมีแนวโน้มปรับตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก อาทิ กระแสนโยบายของ Trump รวมถึงแนวทางการลดดอกเบี้ยของ Fed พร้อมท่าที Hawkish แต่ด้วย Yield ในระดับนี้กับแนวโน้มที่ Fed ยังจะลดดอกเบี้ยในอนาคต ทำให้ตราสารหนี้ต่างประเทศยังคงมีความน่าสนใจขึ้น ทั้งนี้ อาจต้องรอดูความชัดเจนทางด้านนโยบายอีกครั้ง ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศยังคงคาดว่าจะมีการประกาศนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายเพิ่มเติมในช่วงปลายปี รวมถึงเม็ดเงินลงทุนจากกองทุนลดหย่อนภาษีที่เข้ามาในช่วงนี้ด้วย" นางชวินดา กล่าว
ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ทุกวันทำการได้ที่ บลจ.กรุงไทย โทร. 0-2686-6100 กด 9 หรือธนาคารกรุงไทยและผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุน (ถ้ามี) หรือศึกษารายละเอียดได้ที่ www.ktam.co.th สนใจเปิดบัญชีผ่านแอปพลิเคชั่น KTAM Smart Trade ได้ที่ https://bit.ly/KTSTSignIn
ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุนที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยง ความเสี่ยงที่เกิดจากการย้ายการลงทุนไปกองทุนอื่น ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะกลุ่มธุรกิจ ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ และความเสี่ยงจากการลงทุนในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (ความเสี่ยงนี้เฉพาะกอง (KT-CLMVT-D)
คำเตือน ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต / กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (ยกเว้นกองทุน TOF, KT-HiDiv-D, KTSE และ KTSF) ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ / ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ติดต่อเราได้ที่ facebook.com/newswit