กระทรวงพาณิชย์เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกาศขึ้นทะเบียน "มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว" สินค้า GI รายการใหม่ ของดีประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา ลูกใหญ่ เนื้อแน่น รสชาติหวานมัน เอกลักษณ์โดดเด่น เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า กระทรวงพาณิชย์ มอบนโยบายให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง กระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตร ผ่านการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อคุ้มครองสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า อีกทั้งยังเป็นการควบคุมคุณภาพสินค้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียน "มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว" เป็นสินค้า GI ลำดับ 3 ของจังหวัดฉะเชิงเทราต่อจากสินค้ามะม่วงน้ำดอกไม้ สีทองบางคล้า และมะพร้าวน้ำหอมบางคล้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไป
ก่อนหน้านี้"มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว" คือมะม่วงพันธุ์เขียวเสวย มีลักษณะผลทรงรี เปลือกสีเขียวนวล เนื้อมีสีเขียวอมเหลืองหรือสีเหลืองอ่อน รสชาติหวานมัน เมล็ดลีบแบนและยาวตามลักษณะทรงผลปลูกครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอคลองเขื่อน อำเภอราชสาส์น อำเภอพนมสารคาม อำเภอแปลงยาว อำเภอสนามชัยเขต และอำเภอท่าตะเกียบ มีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบและที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำสายหลักไหลผ่านออกสู่ ทะเลอ่าวไทย แม่น้ำบางปะกงจึงได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน ในฤดูน้ำหลากจะพัดเอาตะกอนดินเหนียว ซากพืช ซากสัตว์ และแร่ธาตุต่างๆ มารวมกัน อีกทั้งยังมีน้ำเค็มซึมผ่านเข้าไปในแม่น้ำ เกิดการกระจายความเค็ม ในพื้นที่ผ่านคลองสายต่างๆ เมื่อตะกอนน้ำจืดและตะกอนน้ำกร่อยผสมกัน จะส่งผลให้พื้นที่ตลอดเส้นทางน้ำ มีความอุดมสมบูรณ์ ดินมีธาตุอาหารที่เหมาะกับการปลูกมะม่วงเขียวเสวย ประกอบกับจังหวัดฉะเชิงเทรา มีภูมิอากาศแบบเขตเมืองร้อน ส่งผลให้มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้ว ผลใหญ่ เนื้อหนาละเอียด กรอบ อร่อย รสชาติหวานมัน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น จนได้รับรางวัลจากการประกวดงานเกษตรแฟร์ประจำปี พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2544 ที่จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรางวัลชนะเลิศพระราชทานรางวัลเทพทองในปี พ.ศ. 2553 สร้างชื่อเสียงให้มะม่วงเขียวเสวยแปดริ้วเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และสร้างรายได้ให้กับ จังหวัดฉะเชิงเทรากว่า 61 ล้านบาทต่อปี
ปัจจุบันมีสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด จำนวน 216 รายการ สร้างมูลค่ากว่า 77,000 ล้านบาท ทำให้สินค้าท้องถิ่นได้รับการยกระดับมูลค่าสร้างรายได้สู่ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้า GI ได้ที่ Facebook Page : GI Thailand หรือโทรสายด่วน 1368
อย่างยิ่งใหญ่ ยกขบวนสินค้า GI ไทย สุดยอดสินค้าอัตลักษณ์ชุมชนส่งตรงถึงมือผู้บริโภค ชวนทุกท่านร่วมช้อปฟิน กินฉ่ำกับสินค้าพรีเมี่ยมกว่า 60 ร้านค้าจากทั่วประเทศ ตั้งแต่วันนี้ 1 เมษายน 2568 ณ ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัล เวสต์เกต นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมทรัพย์สินทางปัญญามีนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนด้วยสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งนับเป็น Soft Power ที่สำคัญของประเทศไทย ที่จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์ชุมชน อัน
"นุสรา" นำทีมลงพื้นที่แหล่งผลิตสินค้า GI สมุทรสงครามเดินหน้ายกระดับสินค้า GI ปลาทูแม่กลอง ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม สู่ตลาดพรีเมี่ยม
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญาน...
กรมทรัพย์สินทางปัญญา พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อย ดึงจุดแข็ง เพิ่มจุดขาย สร้างมูลค่าสินค้าชุมชนด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
—
กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิ...
กรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเวทีรับฟังความเห็นภาคเอกชน 5 ประเทศ พัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทย สร้างความเชื่อมั่นประเทศคู่ค้าและนักลงทุน
—
กรมทรัพย์สินทางป...