ไทย-ไต้หวันร่วมยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสริมแกร่งกำลังคนทักษะสูง สู่ฮับการผลิต PCB แห่งอาเซียน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมแผงวงจรไต้หวัน (TPCA) พัฒนากำลังคนและยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCB) ของไทย พร้อมร่วมงาน TPCA Show อิเล็กทรอนิกส์กระทรวงการอุดมศึกษาอิเล็กทรอนิกส์4 แสดงศักยภาพความพร้อมของไทยในการเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของภูมิภาค นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงของประเทศไทย

ไทย-ไต้หวันร่วมยกระดับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เสริมแกร่งกำลังคนทักษะสูง สู่ฮับการผลิต PCB แห่งอาเซียน

ผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ นักยุทธศาสตร์ระดับสูง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการ สอวช. พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และผู้บริหารจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้เดินทางเยือนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ระหว่างวันที่ 22-25 ตุลาคม 2567 เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนและเทคโนโลยีกับภาคอุตสาหกรรม PCB ของไต้หวัน ซึ่งเป็นผู้นำด้านการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก

คณะผู้แทนไทยได้เยี่ยมชมโรงงานผลิต PCB ชั้นนำของไต้หวัน เพื่อศึกษาเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและแนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชมภาควิชา Semiconductor Engineering คณะวิศวกรรมศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหลงหัว ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการผลิตบุคลากรให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม

เป้าหมายของการเยือนครั้งนี้คือการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง TPCA กับหน่วยงานไทย ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือในหลายมิติ ได้แก่ การพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมเฉพาะทางด้าน PCB สำหรับนักศึกษาและบุคลากรไทย การจับคู่การฝึกงานระหว่างนักศึกษาไทยกับบริษัทผู้ผลิต PCB ชั้นนำ การส่งเสริมการจ้างงานบัณฑิตไทยในอุตสาหกรรม PCB และการจัดการศึกษาแบบบูรณาการระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา

ผศ.ดร.พูลศักดิ์ ได้กล่าวถึงความสำคัญของความร่วมมือครั้งนี้ว่าเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ไทย-ไต้หวัน โดยที่ผ่านมา กระทรวง อว. ได้ร่วมกับ BOI และ TPCA จัดโครงการ Online Job Matching เชื่อมโยงบัณฑิตไทยกับบริษัท PCB ชั้นนำจากไต้หวันที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี การมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยจากทุกภูมิภาคในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศในการพัฒนากำลังคนทักษะสูงเพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม PCB ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญของประเทศ

ในส่วนของการร่วมงาน TPCA Show 2024 ซึ่งเป็นงานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้าน PCB ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย สอวช. และมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ได้เข้าร่วมการจัดแสดงนิทรรศการในโซน "Thai Pavilion" เพื่อนำเสนอ STEMPlus แพลตฟอร์มการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาคอุตสาหกรรม อุดมศึกษา และภาครัฐ โดย นางสาวภาณิศา หาญพัฒนนันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมอุดมศึกษาและการพัฒนาทักษะแห่งอนาคต สอวช. ได้นำเสนอบทบาทของ สอวช. และ STEMPlus แพลตฟอร์ม ในการเป็นกลไกกลางเชื่อมโยงความต้องการกำลังคนของภาคอุตสาหกรรมกับการผลิตบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษา เพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนในด้านความพร้อมของกำลังคนคุณภาพสูง

นอกจากนี้ ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยยังได้นำเสนอศักยภาพในการผลิตบุคลากรคุณภาพสูงป้อนสู่อุตสาหกรรม ทั้งในด้านหลักสูตรการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนา และความพร้อมของห้องปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างมาก

ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม PCB ไทย ผ่านการพัฒนากำลังคนทักษะสูง การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการยกระดับมาตรฐานการศึกษา อันจะนำไปสู่การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การสร้างงานคุณภาพสูงสำหรับกำลังแรงงานไทย และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี


ข่าวกระทรวงการอุดมศึกษา+วิจัยและนวัตกรรมวันนี้

มทร.ธัญบุรี คว้า 7 รางวัลนวัตกรรมระดับโลก

รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด รักษาการในตำแหน่งอธิการบดี มทร.ธัญบุรี เผยว่า ผลงานจาก มทร.ธัญบุรี ผ่านการคัดเลือกจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นหนึ่งในตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมงาน และสามารถคว้ารางวัลรวมทั้งสิ้น 7 รางวัล จากผลงานของคณะนักวิจัยในสถาบันจำนวน 5 ผลงาน และอีก 1 ผลงานที่ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ "ผ้าซัพพอร์ทเข่าและข้อต่อจากเส้นใยกล้วย" โดย ผศ.ดร.ชนากานต์ เรืองณรงค์ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ได้รับรางวัล Gold Medal with Jury "ระบบตรวจวัดด้วยภาพ

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... วช. จับมือ สอศ. ดันสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา พลิกโฉมการศึกษาไทย ด้วยกิจกรรม TVET Smart Idea2Innovation — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา ว...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...