กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานกินองุ่นอย่างระมัดระวัง เนื่องจากองุ่นมีน้ำตาลธรรมชาติสูง การกินในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ จึงแนะนำให้กินองุ่นไม่เกิน กระทรวงสาธารณสุข5-2ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผลต่อครั้ง หรือประมาณครึ่งถ้วยตวง เพื่อให้ได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตเหมาะสม และลดผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า องุ่นถือเป็นแหล่งวิตามินซี วิตามินเค และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เรสเวอราทรอล (Resveratrol) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและส่งเสริมสุขภาพหัวใจในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรระมัดระวังการกินองุ่นเพราะมีน้ำตาลธรรมชาติสูง แนะนำควรกินร่วมกับอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักใบเขียวหรือถั่ว เพื่อชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด กรมอนามัยยังแนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานเลือกรับประทานผลไม้ตามฤดูกาลที่หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักโภชนาการเพื่อวางแผนการกินอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพแต่ละบุคคล จะช่วยให้การควบคุมระดับน้ำตาลมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรติดตามระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ และปรับปริมาณการกินผลไม้ให้เหมาะสมตามสภาวะสุขภาพ โดยแนะนำให้เลือกผลไม้ที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง แก้วมังกร เพื่อช่วยให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อีกทั้งควรเพิ่มการบริโภคผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า และบรอกโคลี ซึ่งอุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่ช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการรักษาสุขภาพจิตให้แจ่มใส เลือกทำกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม เช่น การเดินเร็ว โยคะ หรือการออกกำลังกายเบาๆ เพื่อช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินและเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานกินองุ่นอย่างระมัดระวัง เนื่องจากองุ่นมีน้ำตาลธรรมชาติสูง การกินในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ จึงแนะนำให้กินองุ่นไม่เกิน 15-20 ผลต่อครั้ง หรือประมาณครึ่งถ้วยตวง เพื่อให้ได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตเหมาะสม และลดผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือด แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า องุ่นถือเป็นแหล่งวิตามินซี วิตามินเค และสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เรสเวอราทรอล (Resveratrol) ที่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและส่งเสริมสุขภาพหัวใจ
สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่
—
วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่ม...
ผลตรวจฝุ่นในพื้นที่อาคาร สตง. พบโลหะหนัก แร่ใยหินในเกณฑ์ปกติ แต่มีฝุ่นละออง PM10 เกินมาตรฐาน แนะ สวมหน้ากากป้องกันการระคายทางเดินหายใจ
—
กรมอนามัย ลงพื้นท...
กรมอนามัย สุ่มตรวจคุณภาพน้ำประปาพื้นที่แม่อาย เชียงใหม่ ไม่พบการปนเปื้อนสารหนู และตะกั่วเกินมาตรฐาน
—
จากกรณีลำน้ำกกมีสีขุ่น และได้เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินจา...
กรมอนามัย ย้ำ น้ำประปาที่ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตอกย้ำความสำคัญของน้ำประปาที่มีคุณภาพต่อสุขภาพของประ...
'ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย กรมสนับ...
' ถอดบทเรียน' พลิกวิกฤต สู่โอกาส เรียนรู้แผ่นดินไหว สู่การจัดการอย่างยั่งยืน กรมอนามัย-สบส.มหิดล-อุบลราชธานี
—
#ANAMAINEWS วันนี้ (10 เมษายน 2568) แพทย์หญ...
กรมอนามัย มอบหน้ากากป้องกันฝุ่น สนับสนุนทีมช่วยเหลือ ตึกถล่ม
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย และนายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รองอธิบดีกรมอนามัย มอ...
เหนือ-อีสาน ยังอ่วมฝุ่น กรมอนามัย เร่งลงพื้นที่ แนะวิธีทำห้องปลอดฝุ่น-มุ้งสู้ฝุ่น
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สัปดาห์ที่ผ่านสถ...