ชวนเปิดประสบการณ์รับเทศกาลฮาโลวีน มาทำความรู้จักกับ 30 ผีท้องถิ่น พร้อม 'เจอดี' กับเรื่องเล่าผีที่มีมากกว่าแค่ความหลอน ไปกับนิทรรศการ "The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า" ณ TCDC กรุงเทพฯ

หากเอ่ยถามถึง "ผีไทย" ในความทรงจำ ชื่อที่หลายคนนึกถึงก่อนอาจเป็น ผีแม่นาคพระโขนง ผีกระสือ หรือผีปอบ ผีไทยสุดฮอตที่โลดแล่นอยู่บนสื่อต่าง ๆ จนทำให้เกิดภาพจำที่มีทั้งความสยองขวัญ และความน่ากลัว ที่ผลัดกันเวียนมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจนถึงทุกวันนี้ แต่ทว่าประเทศไทย ยังมีขุมทรัพย์แห่งจินตนาการ จากตำนานความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องผี โดยเฉพาะเรื่องของ "ผีท้องถิ่น" ที่พร้อมให้ทุกท่านได้เข้ามาทำความรู้จักและร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ในการเปลี่ยนความกลัวเป็นพลังขับเคลื่อนจินตนาการไปด้วยกันผ่านนิทรรศการ "The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า"

ชวนเปิดประสบการณ์รับเทศกาลฮาโลวีน มาทำความรู้จักกับ 30 ผีท้องถิ่น พร้อม 'เจอดี' กับเรื่องเล่าผีที่มีมากกว่าแค่ความหลอน ไปกับนิทรรศการ "The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า" ณ TCDC กรุงเทพฯ

CEA จับ 'ผีท้องถิ่น' มาแต่งตัวใหม่ สู่คาแรกเตอร์หลอนปนคิวต์ในนิทรรศการ 'The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า' ชวนเปิดประสบการณ์รับเทศกาลฮาโลวีน มาทำความรู้จักกับ 30 ผีท้องถิ่น พร้อม 'เจอดี' กับเรื่องเล่าผีที่มีมากกว่าแค่ความหลอน ไปกับนิทรรศการ "The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า" ณ TCDC กรุงเทพฯ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์กรมหาชน) หรือ CEA นำเสนอเรื่องราวของผีท้องถิ่น ทั้ง 30 ตน จากทั่วฟ้าเมืองไทย ที่ถูกเปลี่ยนจากรายงานศึกษากระบวนการพัฒนา Local Assets to Local Stories (ใช้เผยแพร่ภายในองค์กรเท่านั้น) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านผลงานการสร้างสรรค์จากการตีความผีท้องถิ่นของ 6 ศิลปินไทย ได้แก่ Linghokkalom, Ployjaploen, Autumnberry, MarkSuttipong, Tiicha และ Twofeetcat สู่คาแรกเตอร์ผีร่วมสมัยกว่า 90 แบบ โดยใช้ความลึกลับกลายเป็นเครื่องมือแห่งการสร้างสรรค์ จินตนาการจากความกลัวในรูปแบบของ "ผี" ถูกนำมาใช้หลากหลาย จากตำนานที่สร้างขึ้นเพื่อการสั่งสอน ให้ระมัดระวัง การขู่ให้เกิดความระเบียบเรียบร้อยในสังคม หรือการจูงใจให้เกิดความร่วมมือ จนมาถึงยุคใหม่ที่ "ผี" ถูกตีความให้มีความน่ารักน่าชังมากขึ้นในภาพยนตร์และแอนิเมชัน รวมถึงการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ที่สามารถดัดแปลงเป็นสินค้าและสื่อดิจิทัลที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้า และกลายเป็นช่องทางในการสร้างรายได้ที่กำลังเติบโต

ต้นทางความคิดจาก "งานวิจัย" สู่นิทรรศการผีพื้นบ้านสไตล์ไทยที่แปลกใหม่กว่าเดิม

ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ศาสนาความเชื่อ ภูมิหลังทางวัฒนธรรมของกลุ่มชน ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการสร้างสรรค์ผีในจินตนาการแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้ผีในแต่ละภูมิภาคจึงมีความแตกต่างกัน รวมถึงผีในวัฒนธรรมหลักกับผีในวัฒนธรรมรอง คือ กลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีความพิเศษโดดเด่นออกไป หากไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้ผีที่มีคุณค่าเหล่านี้ก็อาจจะเลือนหายไปตามกาลเวลาได้ จึงเกิดเป็นงานวิจัยชิ้นสำคัญที่รวบรวมรายชื่อ และลักษณะของผีพื้นถิ่นไทยที่น่าสนใจจากทุกภูมิภาค และนี่จึงกลายเป็นวัตถุดิบชิ้นสำคัญที่ CEA เลือกหยิบมาเป็นต้นทางนิทรรศการในครั้งนี้ โดยได้แบ่งกลุ่มผีพื้นถิ่นออกเป็น 6 กลุ่มวัฒนธรรมได้แก่ผีภาคเหนือ ผีภาคอีสานเหนือ ผีภาคอีสานใต้ ผีภาคใต้ ผีภาคกลาง และผีชาติพันธุ์ ซึ่งในแต่ละกลุ่มวัฒนธรรมก็ได้เลือกผีที่มีลักษณะโดดเด่นน่าสนใจ ทั้ง 'ผีร้าย' ซึ่งเป็นผีที่มีความเชื่อว่ามีลักษณะน่ากลัว สยดสยอง และคอยหลอกหลอนให้ผู้คนเกิดความตกใจกลัวจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และ 'ผีดี' ซึ่งเป็นผีที่มีความเชื่อว่าไม่ได้มีลักษณะที่น่ากลัว และยังมีความสามารถในการปกป้อง หรือให้คุณแก่ผู้คน นอกจากนี้แล้วผีที่จะเข้าเกณฑ์ได้มาเฉิดฉายในนิทรรศการ The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่าครั้งนี้ จะต้องเป็นผีท้องถิ่นตัวจริงตามความเชื่อดั้งเดิม ไม่ใช่ผีที่ร่วมสมัยอย่างคุณยายสปีด หรือผีที่มีความปัจเจกเป็นตัวของตัวเองอย่างผีธี่หยดหรือแม่นาค จึงทำให้นิทรรศการครั้งนี้ อัดแน่นไปด้วยคาแรกเตอร์ผีที่มีความแปลกใหม่ และเชื่อว่าหลาย ๆคนน่าจะไม่เคยได้ยินชื่อผีเหล่านี้แน่นอน

3 โซนต้องเช็คอิน พร้อมฟินแบบหลอน ๆ กับกิจกรรม 'ล้อมวงฟังเรื่องผี - ร่วมครีเอตคาแรกเตอร์ - เจอผีท้องถิ่น'

ในนิทรรศการ 'The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า' จะเล่าเรื่องราวผ่านส่วนจัดแสดง 3 โซนหลักได้แก่ โซนที่ 1 'ปลุกตำนานผีท้องถิ่น' โซนที่จะบอกเล่าแนวคิดเริ่มต้นในการนำผีท้องถิ่นมาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มคุณค่า และความน่าสนใจให้ผีเหล่านั้นได้มีโอกาสโลดแล่นในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มากขึ้น โดยโซนนี้จะชวนทุกคนมาวอร์มอัพ ปลุกความรู้สึกหลอนด้วยการล้อมวงฟังเรื่องเล่าเกี่ยวกับผีท้องถิ่นจากสื่อออนไลน์ยอดฮิต โดยเรื่องผีทั้งหมดจะถูกถ่ายทอดจากวิทยุทรานซิสเตอร์ตัวจิ๋ว บนแคร่ไม้เก่า ซึ่งจะทำให้ทุกคนรู้สึกว่ากำลังได้ฟังเรื่องเล่าผี ในบรรยากาศหลอนแบบพื้นถิ่นจริง ๆ ต่อด้วยการชวนทุกคนมาร่วมปลดปล่อยไอเดีย ปลุกความเป็นนักสร้างสรรค์ในตัวเองด้วยการฟังการบรรยายคาแรกเตอร์ผีท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดลักษณะของผีผ่านการวาดภาพ ซึ่งผลงานการวาดของทุกคนก็จะได้เป็นส่วนหนึ่งที่มาช่วยเติมเต็มนิทรรศการนี้ให้สมบูรณ์มายิ่งขึ้นด้วย

ต่อด้วยโซนที่ 2 'สวัสดีผีใหม่' ที่จะพาทุกคนไปรู้จักผีพื้นบ้านตัวละครลับที่ถูกคัดสรรมาแล้วทั้ง 30 ตนจากทั้ง 6 กลุ่มวัฒนธรรมทั่วไทย ไม่ว่าจะเป็น ผีภาคเหนือ ที่จะได้เจอกับผีม้าบ้อง ผีตาวอด ผีกละหรือผีกะ ผีปกกะโหล้ง และผีสุดน่ารักอย่างผีไก่น้อย ผีภาคอีสานเหนือ ที่พาเหรดตัวแทนความเชื่อ ในฝั่งวัฒนธรรมอีสาน-ลาว ที่มีทั้งผีชื่อคุ้นหูอย่างผีปอบ และผีกองกอย มาพร้อมกับผีชื่อแปลกอย่างผีเป้า ผีพื้ม และผีสม่อยดง ที่เป็นผีที่จะปรากฏกายเฉพาะพื้นที่อีสานเหนือเท่านั้น หลอนกันต่อกับ ผีภาคอีสานใต้ สะท้อนวัฒนธรรมอีสาน - เขมร โดดเด่นด้วยชื่อที่ฟังแล้วพอจะเดาได้ว่าได้รับอิทธิพลจากภาษาเขมรมาอย่างเข้มข้น ทั้งมะเร็ญก็องเวียล (ผีหัวแสง) จแกคเมา (ผีหมาดำ) ทมบ (ปอบ) อ๊าบ (กระสือ) และมนายสโนน / มนายเดอม (ผีแม่ซื้อหรือแม่เกิด) จากผีฝั่งอีสานมาต่อกันที่ ผีภาคใต้ ที่ผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้พบกับผีหลังกลวง ผีกลิ้งกลางดง ผีกล้วยพังลา ผีไผ่ขาคีม และผีพราย ก่อนจะย้ายมาหลอนกับ ผีภาคกลาง กับเหล่าผีชื่อแปลก ที่อาจทำให้หลายคนเซอร์ไพร์สว่ามีผีเหล่านี้จริงๆหรือไม่อย่าง ผีตะมอย ผีโขมด ผีตาพุก ผียายกะลาตากะลี และผีแม่เตาไฟ นอกจากนี้แล้วยังมี ผีชาติพันธุ์จากภูมิภาคต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ทั้งผีเชอเยาะ ผีญาเงาะ หน่าโกว ด๊าปอ (นา) ส่งฮ์ และมะนะ ซึ่งเป็นผีตามความเชื่อชาติพันธุ์ต่างๆอย่างเช่นกลุ่มชาวกะเหรี่ยง หรือชาวจีน เป็นต้น

โดยผีทั้ง 30 ตน ได้ถูกพัฒนาเป็นคาแรกเตอร์ร่วมสมัยกว่า 90แบบที่ไม่ได้ถูกตีกรอบ การสร้างสรรค์ให้มีแต่ความน่ากลัวเท่านั้น แต่นี่จะเป็นครั้งแรกที่ผีท้องถิ่นจะถูกหยิบมาตีความในมุมมองใหม่ให้น่าสนใจ ถ่ายทอดคาแรกเตอร์ด้วยลายเส้นที่มีความน่ารักมากยิ่งขึ้น แต่ก็ยังเก็บรายละเอียดที่เป็นจุดเด่นของผีแต่ละตัวออกมาอย่างชัดเจน จนออกมาเป็นคาแรกเตอร์ผีตัวการ์ตูน ที่สามารถนำไปใช้งานต่อในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ได้อย่างลงตัวอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในนิทรรศการยังอธิบายทั้งลักษณะเด่น จุดน่าสนใจ รวมถึงตำนานเรื่องเล่าของผีแต่ละตัว ให้ผู้ที่สนใจได้อ่านกันแบบเพลิน ๆ อีกด้วย

และมาถึงโซนที่ 3 'เตรียมเดบิวต์' ที่จะชวนทุกคนมาสำรวจข้อมูลผีท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค พร้อมมองภาพของผี และตำนานเรื่องเล่าท้องถิ่นในมุมมองที่กว้างกว่าการเป็นเล่าเรื่อง แต่สิ่งเหล่านี้ยังมีมูลค่าในฐานะต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญที่สามารถหยิบนำไปเป็นคอนเทนต์ต่อยอดในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์ ละคร เกม หรืออาจจะไปอยู่ ในรูปแบบอาร์ตทอยที่กำลังเป็นที่นิยมได้ พร้อมยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมนิทรรศการได้แชร์ 'ผีท้องถิ่นที่ยังไม่เคยถูกเล่า' เพิ่มเติมเผื่อให้ผู้ที่สนใจอาจจะไปหาข้อมูลต่อไปได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมี ช่องทาง IG : @theuntoldstory.exhibition ให้ผู้เข้าร่วมนิทรรศการได้แชร์ผีท้องถิ่นของตนเองที่น่าสนใจ หรือจะถ่ายรูป หรือวิดีโอแล้ว tag บรรยากาศความหลอนมาหากันได้ หรือใครที่ไม่ได้มีโอกาส มาเยี่ยมชมนิทรรศการ The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่าที่ TCDC กรุงเทพฯ ก็ยังจะได้รู้จักผีใหม่ ๆ และชมบรรยากาศความหลอนผ่านทางอินสตาแกรมนี้ได้เช่นเดียวกัน

จาก 'จักรวาลผีท้องถิ่น' สู่ "จักรวาลงานสร้างสรรค์"

CEA ไม่ได้นำเสนอความหลอน หรือพาทุกคนไปรู้จักแค่เพียงผีพื้นถิ่นหน้าใหม่แต่เพียงเท่านั้น แต่จากนิทรรศการนี้ยังจะพาทุกคนไปต่อยอดสู่ 5 กิจกรรมน่าสนใจที่มีทั้งพาไป 'รู้' ลึกเรื่องผีพื้นถิ่นให้มากขึ้นในเชิงคติชนวิทยา ต่อยอดความ 'หลอน' กับการล้อมวงเล่าเรื่องผีกันแบบสดๆ พร้อมเรียนรู้เทคนิคการเล่าเรื่องผีอย่างไรให้น่าสนใจยิ่งกว่าเดิม และ 'เจาะลึก' หาความเป็นไปได้ที่จะต่อยอดเรื่องผีท้องถิ่น หยิบทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดให้เกิดเม็ดเงินในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เริ่มกันที่ กิจกรรมเสวนาและเวิร์กช็อป 'คาแรกเตอร์ผีไทยกับความเข้าใจเรื่อง IP' กิจกรรมที่จะชวนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ และการพัฒนาต่อยอดเรื่องผีท้องถิ่นสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรม จากเรื่องเล่าตำนานสยองขวัญภายในท้องถิ่นสู่ความเป็นไปได้ใหม่ในการนำเสนอผ่านการออกแบบคาแรกเตอร์ พร้อมสร้างความเข้าใจในเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา โดยได้วิทยากรร่วมพูดคุยทั้งรองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คุณภเชศ จารุมนต์ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IPAC) กรมทรัพย์สินทางปัญญา และตัวแทนครีเอเตอร์ผู้สร้างสรรค์ผลงานในนิทรรศการทั้ง Twofeetcat และ Linghokkalom ที่จัดกันไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา

แต่ถ้าใครพลาดกิจกรรมแรกไปแล้วไม่ต้องเสียใจ เพราะกิจกรรมถัดมาจะพาทุกคนไปหลอนกันมากกว่าเดิมกับ 'กิจกรรมเล่าเรื่องผี Halloween Night' ฟังเรื่องผีในนิทรรศการหลอนในวันปล่อยผี กับนักเล่าเรื่องผีคนดังทั้งครูตรีมีเรื่องเล่า และคุณมิ้น เรซูเม่ พร้อมมาแชร์เทคนิคการเล่าเรื่องหลอนให้สนุก และน่าสนใจ พร้อมพาทัวร์นิทรรศการรอบพิเศษแบบเอ็กคลูซีฟ ในวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม 2567 เปิดเพียง 2 รอบคือรอบ 18.00 น. และ 19.00 น.

สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องผีในเชิงคติชนวิทยา อยากรู้ว่าการส่งต่อเรื่องเล่าในเชิงวัฒนธรรมนั้นทำได้อย่างไร และอาจกำลังมองหาไอเดียที่จะพัฒนาเรื่องเล่าที่เป็นทุนทางวัฒนธรรม ไปสู่คอนเทนต์สร้างสรรค์ที่น่าสนใจได้ ต้องห้ามพลาดกิจกรรมเสวนาหัวข้อ "เปิดตำนานผีท้องถิ่น: จากคติชนวิทยาสู่การเล่าเรื่องร่วมสมัย" ที่ได้เชิญรองศาสตราจารย์ ดร.อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ดร.สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ผู้เขียนบทภาพยนตร์ธี่หยด มาแชร์ความรู้ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นว่าทำไมคนเราถึงสนุกกับการเสพเรื่องสยองขวัญ พร้อมนำเสนอไอเดียการต่อยอดเรื่องหลอนๆ ให้ไปต่อได้ในระดับสากลโดยไม่เสียเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ดำเนินรายการโดยคุณนทธัญ แสงไชย Station Director จาก Salmon Podcast ในวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14.00 - 16.00 น.

แล้วจากเรื่องผีที่เป็นแค่เรื่องเล่า จะต่อยอดสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์อื่นที่เป็นมากกว่าเรื่องเล่าได้อย่างไร CEA จะพาทุกคนออกจากโลกความหลอน ไปสู่โลกของเกม ที่เรื่องผีก็มีโอกาสความเป็นไปได้ที่จะโลดแล่นในโลกใบใหม่ กับกิจกรรมเวิร์กช็อปหัวข้อ 'ออกแบบเกมจากตำนานผีท้องถิ่น' ร่วมเรียนรู้กระบวนการออกแบบเกมจากตำนานผีท้องถิ่น พร้อมฝึกฝนเทคนิคการสร้าง Storyline สู่การพัฒนาตัวละครในเกมให้สมบทบาทมากยิ่งขึ้น กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร กาญจนภูมิ จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ในวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10.00 - 16.00 น. รับเพียง 15 ที่นั่งเท่านั้น

ส่งท้ายนิทรรศการ The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า กับกิจกรรมพิเศษที่จะพาไปชมนิทรรศการนี้ในยามค่ำคืน พร้อมด้วยการแสดง Contemporary Dance โดย HOUND by YUYU ในกิจกรรม GALLERIES' NIGHT 2024 ในวันสุดท้ายของนิทรรศการ วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เปิดให้ชมนิทรรศการกับการแสดงพิเศษเพียง 2 รอบคือ 19.00 น. และ 20.30 น. ไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าชม โดยทั้ง 5 กิจกรรมนี้สามารถเข้าร่วมได้ฟรี ที่ TCDC กรุงเทพฯ ห้อง Gallery, ชั้น 1 อาคารส่วนหลัง และสามารถเข้าร่วมได้ฟรีทุกกิจกรรม

"ผี" สตอรี่หลอนที่เริ่มจากความตาย แต่เป็น 'ทุนทางวัฒนธรรม' ที่ไม่มีวันตาย

เรื่องผี และความเชื่อท้องถิ่นอาจถูกมองเฉพาะในมุมของความน่ากลัว แต่ที่จริงแล้วเรื่องราวเหล่านี้ยังมีอิทธิพลมากกว่านั้นโดยเฉพาะในฐานะ 'ทุนทางวัฒนธรรม' ที่สามารถต่อยอดด้วยความคิดสร้างสรรค์ จนเกิดเป็นผลิตผลใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และยังมีโอกาสพลิกสู่การเป็นซอฟต์พาวเวอร์ได้ อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นที่สามารถเปลี่ยนตำนานภูตผีในนิทานท้องถิ่น ให้กลายเป็นสื่อร่วมสมัยอย่างการ์ตูนมังงะ หรืออนิเมะเรื่อง "อสูรน้อยคิทาโร่" และยังต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์อย่างฟิกเกอร์ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ หรืออย่างของไทยเองก็มีเกม 'Home Sweet Home' ที่ดัดแปลงเรื่องผีสู่เกมคอมพิวเตอร์แนวเอาชีวิตรอด ที่ได้รับความนิยมจากคนเล่มเกมทั่วโลก

นิทรรศการ 'The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า' จึงไม่ได้เพียงนำเสนอคาแรกเตอร์ผีใหม่ๆให้ชวนตื่นเต้น หากแต่ยังชี้ให้เห็นถึงโอกาส และความเป็นไปได้ที่จะหยิบเรื่องเล่าท้องถิ่นที่เป็นสิ่งใกล้ตัว ที่หลายคนอาจจะยังไม่ได้เห็นคุณค่าว่านี่เป็นหนึ่งในต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ที่สามารถต่อยอดให้เกิดความน่าสนใจ และจุดขายด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไปสู่ผลงานใหม่ๆที่จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วย สะท้อนจากตัวเลขข้อมูลรายงานของสมาคมลิขสิทธิ์นานาชาติ (LIMA) รายงานว่ามูลค่าของธุรกิจลิขสิทธิ์ในปี 2023 จากผลงานสร้างสรรค์รูปแบบต่าง ๆ ทั่วโลกมีมูลค่ามากถึง 11,765 พันล้านบาท ส่วนในประเทศไทยข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลรายงานว่าในปี 2022 อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ไทยมีมูลค่ามากถึง 2,025 ล้านบาท แล้วถ้าหากเราสามารถดึงทุนทางวัฒนธรรม มาตีความใหม่ในรูปแบบคาแรกเตอร์ หรือสื่อสร้างสรรค์อื่นๆที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ท้องถิ่น และประเทศได้เพิ่มเติม โอกาสที่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ด้วยวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ก็คงไม่ไกลเกินความเป็นจริงอย่างแน่นอน

ร่วมเปิดประสบการณ์ 'ผี' ในมิติใหม่ที่ไม่ได้มีแค่ความน่ากลัว แต่ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจ และต่อยอดความเป็นไปได้ใหม่ๆให้กับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทยได้ในนิทรรศการ "The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า" จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน - 22 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่เวลา 10.30 - 19.00 น. (ปิดวันจันทร์) ณ TCDC กรุงเทพฯ ห้อง Gallery ชั้น 1 (เข้าชมฟรี) ส่วนผู้ที่สนใจร่วมกิจกรรมพิเศษทั้ง 5 กิจกรรม สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนเพื่อสำรองที่นั่งได้ที่ https://www.facebook.com/tcdc.thailand


ข่าวเทศกาลฮาโลวีน+แม่นาคพระโขนงวันนี้

ชวนเปิดประสบการณ์รับเทศกาลฮาโลวีน มาทำความรู้จักกับ 30 ผีท้องถิ่น พร้อม 'เจอดี' กับเรื่องเล่าผีที่มีมากกว่าแค่ความหลอน ไปกับนิทรรศการ "The Untold Story เรื่องผีท้องถิ่นที่ไม่เคยถูกเล่า" ณ TCDC กรุงเทพฯ

หากเอ่ยถามถึง "ผีไทย" ในความทรงจำ ชื่อที่หลายคนนึกถึงก่อนอาจเป็น ผีแม่นาคพระโขนง ผีกระสือ หรือผีปอบ ผีไทยสุดฮอตที่โลดแล่นอยู่บนสื่อต่าง ๆ จนทำให้เกิดภาพจำที่มีทั้งความสยองขวัญ และความน่ากลัว ที่ผลัดกันเวียนมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจนถึงทุกวันนี้ แต่ทว่าประเทศไทย ยังมีขุมทรัพย์แห่งจินตนาการ จากตำนานความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องผี โดยเฉพาะเรื่องของ "ผีท้องถิ่น" ที่พร้อมให้ทุกท่านได้เข้ามาทำความรู้จักและร่วมสร้างความเป็นไปได้ใหม่ในการเปลี่ยนความกลัวเป็นพลังขับเคลื่อนจินตนาการไปด้วยกันผ่านนิทรรศการ "The

หลังจากปล่อยลุคสุดปังที่ทำเอาเทศกาลฮาโลวี... Lady Gaga มาเอง! โพสต์คลิปส่อง TikTok แฟนคลับไทย ลิตเติลมอนสเตอร์ไทยปลื้ม ขึ้นแท่นลูกรักชัดเจน — หลังจากปล่อยลุคสุดปังที่ทำเอาเทศกาลฮาโลวีนร้อนเป็นไฟ ใครๆ...

เทศกาลฮาโลวีนปี 2024 นี้จะไม่มีโมเมนต์อ่อ... Halloween Is Universal เพลย์ลิสต์เพลงฮาโลวีนล่าสุด 2024 ติดแกลมให้ปาร์ตี้นี้ไม่มีอ่อม — เทศกาลฮาโลวีนปี 2024 นี้จะไม่มีโมเมนต์อ่อมแม้แต่นาทีเดียว หากมีเพล...