TSE กางแผนโค้งหลัง ลุ้นคว้าโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 พร้อมลุย M&A-JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม ปิดจ๊อบถือหุ้นคลินิก IVF สร้าง New S-Curve ผลงานปี 68 โตติดปีก

บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) เปิดแผนโค้งสุดท้ายปี 67 ลุ้นโครงการโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส กำไรสุทธิ คาดชนะประมูลไม่น้อยกว่า โรงไฟฟ้าขยะไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่-โรงไฟฟ้าขยะ5ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ เมกะวัตต์ เติมพอร์ต ก่อนร่วมประมูลเฟส 3 ในปีหน้า พร้อมรุกทำ M&A- JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม หนุนธุรกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ส่วนแผนแตกไลน์ธุรกิจใหม่ Health Care ผ่านการเข้าถือหุ้น คลินิก IVF สร้าง New S-Curve คาดปิดจ๊อบภายในสิ้นปีนี้ หนุนผลงานปี 68 โตติดปีก เผยงบ 9 เดือนปี 67 กวาดรายได้กว่า 989 ล้านบาท โดยมี EBITDA อยู่ที่ 698 ล้านบาท และกำไรสุทธิ กำไรสุทธิ55 ล้านบาท

TSE กางแผนโค้งหลัง ลุ้นคว้าโรงไฟฟ้าสีเขียวเฟส 2 พร้อมลุย M&A-JV ธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะ-โซลาร์ฟาร์ม ปิดจ๊อบถือหุ้นคลินิก IVF สร้าง New S-Curve ผลงานปี 68 โตติดปีก

ดร.แคทลีน มาลีนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (TSE) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของไตรมาส 4/2567 กลุ่มบริษัทอยู่ในระหว่างการเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเฟส 2 ซึ่งใช้เกณฑ์การคัดเลือกโดยพิจารณาจากผู้ที่ผ่านการประเมินความพร้อมตามเกณฑ์คะแนนคุณภาพ (scoring) ในเฟสแรกแต่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจะได้สิทธิ์ในการพิจารณาก่อน โดยบริษัทคาดหวังว่าจะชนะประมูลอย่างน้อยประมาณ 100-150 เมกะวัตต์ และบริษัทยังพร้อมเข้าร่วมประมูลเฟส 3 ในปีหน้าด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าลงทุนการทำ M&A (Mergers and Acquisitions) ที่จะสามารถรับรู้กระแสเงินสดได้ทันที และจับมือกับพันธมิตรในรูปแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) ทั้งในรูปของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าขยะและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจะพิจารณาเลือกลงทุนในโครงการที่มีผลการดำเนินงาน และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าสามารถสร้างกระแสเงินสดได้อย่างมั่นคงสม่ำเสมอ รวมถึงยังมีการศึกษาและพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าขยะเองด้วยเช่นกัน ควบคู่ไปกับการเข้าลงทุนในกลุ่มธุรกิจ Private PPA (Private Power Purchase Agreement) ในรูปแบบการลงทุนใหม่ๆ เช่น Direct PPA และ ESCO Model PPA ซึ่งเป็นการขายพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจ ทั้งกับภาครัฐและเอกชนแบบครบวงจร เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ

กลุ่มบริษัทยังคงเดินหน้าขยายสายธุรกิจใหม่ด้านธุรกิจสุขภาพ โดยร่วมทุนกับนายแพทย์วิวรรธน์ ชินพิลาศ ดำเนินธุรกิจเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ IVF (In-vitro Fertilization) และจะขยายไปสู่ธุรกิจเสริมความงาม, Wellness และธุรกิจด้านเภสัชกรรม เพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ของการมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยบริษัท เวิลด์ โซล่าร์ จำกัด (World Solar) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TSE จะเข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมด (100%) ของบริษัท บางกอก อินเฟอร์ทิลิตี้ เซ็นเตอร์ จำกัด (BIC) ซึ่งประกอบกิจการสถานพยาบาล ทางด้านเวชกรรมสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, การรักษาผู้มีบุตรยาก (คลินิก บางกอก ไอวีเอฟ เซ็นเตอร์) ซึ่งหลังเข้าทำธุรกรรม World Solar จะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น "บริษัท บีทีเอช จำกัด" และบริษัทฯจะถือหุ้นในสัดส่วน 51% คาดว่าธุรกรรมจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาส 4/2567 เพื่อสร้าง New S-Curve ให้กับกลุ่มบริษัทฯ

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในไตรมาส 3/2567 มีรายได้จากการขายและการให้บริการรวมสำหรับงวดสามเดือน จำนวน 316 ล้านบาท ซึ่งใกล้เคียงกับปีก่อนหน้า

ส่วนผลการดำเนินงานในงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 (สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2567) กลุ่มบริษัทมีรายได้รวม 989 ล้านบาท มี EBITDA อยู่ที่ 698 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 255 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าลดลง เนื่องจากได้สิ้นสุดสัญญารายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

จากการดำเนินงานตามปกติของกลุ่มบริษัทฯ ปัจจุบันมีโครงการโรงไฟฟ้าทั้งหมด 41 โครงการ กำลังการผลิตเสนอขายรวม 241.86 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นโครงการที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว จำนวน 34 โครงการ และโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) อีก 7 โครงการ

แม้กลุ่มบริษัทฯอาจได้รับผลกระทบจากการลดลงของรายได้เงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บางโครงการ แต่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าชีวมวลของกลุ่มบริษัทฯยังสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีรายได้จากการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ตลอดอายุสัญญา

นอกจากนี้ ปัจจุบันบริษัทได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต (Repowering, Replacement and Upgrade Efficiency) ของกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าได้มากขึ้นถึง 15-20% ซึ่งเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนเนื่องจากต้นทุนของอุปกรณ์หลักถูกลง และมีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้สามารถชดเชยในส่วนของเงินอุดหนุนส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) ได้บางส่วน

อีกทั้งกลุ่มบริษัทฯยังมีการบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีต้นทุนทางการเงินที่ลดลงจากการชำระคืนเงินกู้ (Corporate loan) จำนวน 1,276 ล้านบาท และการไถ่ถอนหุ้นกู้คืนก่อนกำหนดกว่า 1,175 ล้านบาท ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานด้านธุรกิจ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอัตรากำไรในธุรกิจ อีกทั้งยังมีความพร้อมและพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีเป้าหมายที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนและสร้างมูลค่าเพิ่มในระยะยาวให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ต่อไป


ข่าวไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่+เอ็นเนอร์ยี่วันนี้

"TSE ติดปีก! เตรียมรับทรัพย์ขายหุ้นบ.ร่วมค้า TSR 60% มูลค่า 1.79 พันลบ. ผถห.ไฟเขียวเพิ่มทุนขาย PP 211.77 ล้านหุ้น

"TSE ติดปีก! เตรียมรับทรัพย์ขายหุ้นบ.ร่วมค้า TSR 60% มูลค่า 1.79 พันลบ. ผถห.ไฟเขียวเพิ่มทุนขาย PP 211.77 ล้านหุ้น นำเงินลงทุนขยายโครงการโรงไฟฟ้า Healthcare Wellness หนุนอนาคตโตยั่งยืน บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ (TSE) ฉลุย! ผู้ถือหุ้นอนุมัติเพิ่มทุนขาย PP จำนวน 211.77 ล้านหุ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและขยายกิจการในอนาคต พร้อมอนุมัติขายหุ้น TSR 60% รวมมูลค่า 1.79 พันล้านบาท ตามกลยุทธ์การปรับโครงสร้างบริหารจัดการโครงการลงทุนให้เกิดความเหมาะสม สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บอร์ด บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอรยี่ (TSE) อ... TSE ขายโรงไฟฟ้าญี่ปุ่น 133 MWac กำเงินสด ลุยประมูล กกพ. รอบ 2 ปักหมุดคว้างานไม่ต่ำกว่า 100 MW — บอร์ด บมจ.ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอรยี่ (TSE) อนุมัติขายโรงไฟฟ้า...

คุณอังคณีย์ ฤกษ์ศิริสุข (กลาง) ประธานเจ้า... TSE มั่นใจรายได้รวมปีนี้ All Time High — คุณอังคณีย์ ฤกษ์ศิริสุข (กลาง) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน, คุณชนากานต์ เยี่ยมวิญญะ (ที่ 3 จากซ้าย)...