ในวันที่อากาศไม่เป็นใจ อะไร ๆ ก็ดูหมองมัวเต็มไปด้วยหมอกควันและฝุ่นละออง นับเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยตรง ซึ่งในรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี 2566 เห็นได้ชัดว่าสถานการณ์คุณภาพอากาศในภาพรวมของประเทศมีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 และปริมาณฝุ่นละออง PM10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในหลายพื้นที่มีปริมาณฝุ่นละอองและก๊าซโอโซนเกินค่ามาตรฐาน เช่นที่ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง และภาคเหนือ และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น การติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศ และเฝ้าระวังสถานการณ์มลพิษทางอากาศของประเทศ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการได้มาซึ่งข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศ จำเป็นต้องมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ และน่าเชื่อถือ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้จัดตั้งเครือข่ายการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ด้วยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศแบบอัตโนมัติ โดยใช้วิธีการตรวจวัดตามมาตรฐานสากล และเป็นไปตามข้อกำหนดของประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และประกาศกรมควบคุมมลพิษ โดยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งสิ้น 96 สถานี ครอบคลุม 65 จังหวัด และกรมควบคุมมลพิษ มีเป้าหมายจะติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมทุกจังหวัดของประเทศไทย โดย 1 จังหวัด ต้องมีสถานีตรวจวัดฯ อย่างน้อย 1 สถานี เพื่อให้มีข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศให้ครอบคลุมทั่วประเทศ สำหรับการกำหนดจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ จะแบ่งออกเป็น 2 จุดหลักๆ ได้แก่ 1) จุดตรวจวัดสำหรับพื้นที่ทั่วไป ซึ่งจะอยู่ห่างจากขอบถนนหลักประมาณ 50 เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดปริมาณสารมลพิษทางอากาศที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในบริเวณชุมชน และที่พักอาศัยเป็นหลัก และ 2) จุดตรวจวัดสำหรับพื้นที่ริมถนน ซึ่งจะอยู่ห่างจากขอบถนนหลักที่มีการจราจรหนาแน่นไม่เกิน 10 เมตร มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดปริมาณของสารมลพิษทางอากาศในพื้นที่ริมถนนที่เกิดจากการจราจรเป็นหลัก สำหรับสารมลพิษทางอากาศที่ทำการตรวจวัดด้วยสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษนั้น ประกอบด้วย ฝุ่นละออง PM2.5 ฝุ่นละออง PM10 ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจวัดสภาพอากาศทางอุตุนิยมวิทยาในระดับผิวพื้น เพื่อใช้สำหรับเป็นข้อมูลประกอบการประเมินสถานการณ์คุณภาพอากาศเพิ่มเติม ได้แก่ ความเร็วลม ทิศทางลม อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความดันบรรยากาศ และปริมาณน้ำฝน
ข้อมูลผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศดังกล่าว จะแสดงข้อมูลแบบ Real Time บนเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน Air4Thai เพื่อให้ประชาชนและผู้ที่สนใจสามารถติดตามสถานการณ์คุณภาพอากาศในพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวยังถูกนำไปใช้สำหรับประเมินระดับความรุนแรงของสภาพปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น อีกทั้งใช้ประเมินการได้รับสัมผัสมลพิษทางอากาศและการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน การวิเคราะห์และการประเมินผลกระทบของการปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ รวมถึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ตลอดจนการนำไปใช้ประกอบการกำหนดมาตรการและนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศระดับประเทศ พร้อมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานแก้ปัญหามลพิษในระดับพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพต่อไป
อย่างไรก็ตาม หากเกิดเหตุมลพิษทางอากาศเกินค่ามาตรฐาน ประชาชนจะสามารถรับรู้มลพิษได้ด้วยตนเอง เช่น กลิ่นไม่พึงประสงค์ การหายใจอึดอัด ความระคายเคือง เป็นต้น สามารถแจ้งหรือร้องเรียนผ่านสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด หรือติดต่อกรมควบคุมมลพิษ ได้ที่สายด่วน 1650 เพื่อดำเนินการตรวจสอบต่อไป
อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผยหลังลงพื้นที่ประเมินความเสี่ยงด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของกลุ่มเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาสาสมัคร และญาติผู้สูญหายในอาคารที่ถล่มในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เบื้องต้นพบทุกคนยังคงมีกำลังใจที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง และสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกอาคาร มีความเสี่ยงในระดับต่ำยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพขอให้ทุกคนคลายกังวล และแนะนำสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากกันฝุ่นทุกครั้งในวันที่พบปริมาณฝุ่นละอองสูงขึ้น เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 กรมอนามัย นำโดย
กรมอนามัย นำทีม SEhRT ลงพื้นที่เยียวยาประชาชน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
—
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายให้ นายแพทย์ธิติ แสวงธรรม รอง...
กทม. พร้อมรับมือฝุ่นสูงออกหน่วยบริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ฯ - ตรวจแหล่งกำเนิดฝุ่นต่อเนื่อง
—
นายประพาส เหลืองศิรินภา ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม (สสล.) กทม....
LINE MAN Wongnai ผนึก กทม. เดินหน้าโครงการ "ร้านนี้ ไม่เทรวม" สนับสนุนงบ - ดึงร้านในแพลตฟอร์มร่วมเปลี่ยนเมือง
—
LINE MAN Wongnai ผู้นำแพลตฟอร์มออนดีมานด์แ...
มอนเดลีซ สำเร็จภารกิจ "โรงเรียนรักษ์โลก แยกขยะลุ้นโชคกับมอนเดลีซ ปี 3" ปลูกฝังวัฒนธรรมแยกขยะให้แก่เยาวชนไทยกว่า 20,000 คน เพื่อโลกสีเขียวที่ยั่งยืน
—
โครงการ "โร...
"เดชอิศม์" ยกระดับ GREEN & CLEAN Hospital สู่การเป็นโรงพยาบาลคาร์บอนต่ำ หวังลดก๊าซเรือนกระจก
—
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2568 นายเดชอิศม์ ขาวทอง รัฐมนตรีช...
"3 ทศวรรษ สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ" กระทรวงทรัพยากรฯ จับมือ ซีพี และทรูปลูกปัญญา จัดงานมอบรางวัลพร้อมเชิญสัมผัสความงดงามของสัตว์ป่าและธรรมชาติเมืองไทย
—
"3 ทศวรรษ ส...
ยูนิโคล่ ประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหา PM2.5 นำร่องกิจกรรม "สุดยอดนักสู้ฝุ่น" ส่งเสริมการตระหนักรู้แก่เยาวชน
—
ยูนิโคล่ ประเทศไทย ร่วมขับเคลื่อนการแ...
เขตวัฒนาเร่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำลำรางสาธารณะใน ซ.ปรีดีพนมยงค์ 20 ตามคำพิพากษาศาลปกครอง
—
นางสาวสุชิรา ศิลานนท์ ผู้อำนวยการเขตวัฒนา กทม. กล่าวกรณีศาล...