นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องเผชิญ โดยอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 3กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์,กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คนต่อปี และมีผู้ป่วยสะสมกว่า 3.4 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยถึงร้อยละ 7กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
การวินิจฉัยและรักษาโรคเบาหวานจำเป็นต้องใช้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะการตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดเฉลี่ยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา หรือที่รู้จักกันในชื่อการตรวจฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1c) ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่แพทย์ใช้ในการวางแผนการรักษา อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีชุดตรวจ HbA1c หลากหลายถึง 58 ชุดตรวจ เพื่อให้การตรวจ HbA1c ของห้องปฏิบัติการทุกแห่งได้มาตรฐานเดียวกัน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ดำเนินการทดสอบความชำนาญการตรวจ HbA1c แก่ห้องปฏิบัติการทั่วประเทศ โดยเปรียบเทียบผลกับค่ากำหนดอ้างอิงจากห้องปฏิบัติการระดับนานาชาติ International Federation of Clinical Chemistry (IFCC) ประเทศเนเธอร์แลนด์
นายแพทย์ยงยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า "การควบคุมคุณภาพการตรวจ HbA1c โดยเปรียบเทียบกับค่ากำหนดอ้างอิง ช่วยให้ห้องปฏิบัติการสามารถปรับปรุงคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ให้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้น ผลการตรวจจึงมีความน่าเชื่อถือ ส่งผลดีต่อการวินิจฉัย การรักษา และการติดตามภาวะความเสี่ยงของโรคเบาหวานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานในประเทศไทย"
ห้องปฏิบัติการภาครัฐและเอกชนที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบความชำนาญการตรวจน้ำตาลสะสมในเลือด สามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายประกันคุณภาพการตรวจเชื้อถ่ายทอดทางการให้เลือดและฮีโมโกลบินเอวันซี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข โทร. 0 2951 0000 ต่อ 98091 หรือ 99190
นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องเผชิญ โดยอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Center) กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 พบว่ามีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 300,000 คนต่อปี และมีผู้ป่วยสะสมกว่า 3.4 ล้านคน โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วยถึงร้อยละ 70 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง นำไปสู่ความพิการและการ
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดบ้านให้นักเรียน ชมห้องแล็บ เรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจ
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดบ้านให้คณะครูและนักเรีย...
นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในงาน 30 บาทรักษาทุกที่
—
นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เยี่ยมชมนิทรรศการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ใ...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ผู้ประกอบการโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต กระบี่ และพังงา เฝ้าระวังตัวเรือด เชื้อลีจิโอเนลลา และเชื้อไวรัสโนโร ด้วย 3C
—
กรมวิทยาศาส...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เสริมความรู้ความเข้าใจ ระบบคุณภาพ OECD GLP สร้างความเข้มแข็งหน่วยตรวจสอบขึ้นทะเบียนแห่งชาติ
—
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศา...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV
—
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมเครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส hMPV ทางห้องปฏิบัติการ ...
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยโควิด 19 สายพันธุ์ JN.1* ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในไทย แนะกลุ่มเสี่ยงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้ออย่างสม่ำเสมอ
—
นายแพทย์ยงย...