มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยผลการสำรวจภาวะการมีงานทำของบัณฑิตระดับปริญญาตรี ม.ธรรมศาสตร์ พบว่า อัตราการมีงานทำสูงถึง 92.62% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรุ่นก่อนหน้า สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของหลักสูตรและความพร้อมของบัณฑิตในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทั้งนี้ บัณฑิตส่วนใหญ่ทำงานในภาคเอกชนถึง 64.77% รองลงมาคือข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ดำเนินธุรกิจ5.83% และดำเนินธุรกิจอิสระ ดำเนินธุรกิจ2.45% โดยมีผลมาจากทักษะพิเศษสำคัญที่ทางมหาวิทยาลัยมีให้กับนักศึกษามาตลอดหลักสูตร อาทิ หลักสูตรที่เน้นการบูรณาการทักษะวิชาชีพจริง การฝึกงานกับองค์กรชั้นนำในประเทศและต่างประเทศ ศูนย์สหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพที่ช่วยวางแผนเส้นทางอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเสริมสร้างนักศึกษาให้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพรอบด้าน
ศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า เมื่อพิจารณาตามกลุ่มสาขาวิชาจากการสำรวจข้อมูลบัณฑิตกว่า 6,366 คน พบว่า บัณฑิตในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพมีอัตราการมีงานทำสูงที่สุดถึง 95.67% รองลงมาคือสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ 92.46% และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ 91.32% สะท้อนถึงความต้องการแรงงานในภาคสุขภาพที่ยังคงมีสูงต่อเนื่องในยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และศักยภาพการพัฒนาของหลักสูตรและการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบัณฑิต ยังเพิ่มขึ้นจากรุ่นปีที่ผ่านมาประมาณ 2.78% อีกด้วย
นอกจากนี้ กลุ่มบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะ วิทยาลัย สถาบัน ด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พบว่ามีอัตราการได้งานทำสูงไม่แพ้กัน มากกว่า 90% อาทิ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ 98.33% คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี 96.56% คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา 94.64% คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน 93.36% คณะนิติศาสตร์ 92.04% คณะศิลปศาสตร์ 91.39% และคณะศิลปกรรมศาสตร์ 91.18% เป็นต้น
ศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สถิติดังกล่าวข้างต้นเกิดจากการดำเนินงานอย่างเป็นระบบในการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานของ ม.ธรรมศาสตร์ ซึ่งในแง่ของความรู้และทักษะสำคัญที่ส่งผลต่อการได้งานทำจะมาจากทักษะการคิดวิเคราะห์ การใช้ภาษาต่างประเทศ และการสื่อสาร เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมโอกาสในการหางาน ดังนั้น นอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ทักษะด้าน Soft Skills ก็มีความสำคัญไม่น้อยในการสร้างความแตกต่างในตลาดแรงงาน
"อัตราการได้งานสูงนี้ ไม่เพียงตอกย้ำถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยในการผลิตบัณฑิตที่เต็มไปด้วยทักษะแห่งอนาคต แต่คือสัญญาณที่ชัดเจนว่าผู้ศึกษาที่ ม.ธรรมศาสตร์ มีความพร้อมทำงานจริง สร้างผลลัพธ์จริง และความรู้ที่ได้จากรั้วมหาวิทยาลัยจะเป็นเครื่องมือที่บัณฑิตนำไปต่อยอดให้กับทุกองค์กรที่ก้าวเข้าไปด้วย" ศ. ดร.ศุภสวัสดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน มุก - อาทิตยาธรณ์ พละสูนย์ บัณฑิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เผยว่า หลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถือเป็นหลักสูตรที่มีความแข็งแกร่งครบถ้วนตรงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษา โดยมีการบูรณาการทักษะวิชาชีพจริง ช่วยให้นักศึกษาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในการทำงาน เสริมสร้างความมั่นใจเมื่อต้องก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บัณฑิตธรรมศาสตร์เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน มีความพร้อมทั้งด้านทักษะวิชาชีพและการปรับตัวในโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
"หลักสูตรคณะพยาบาลศาสตร์ มธ. เป็นหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล โดยมีการฝึกปฏิบัติทั้งในห้องปฏิบัติการเสมือนจริงและในโรงพยาบาลตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ทำให้นักศึกษาได้สัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงในทุกภาคการศึกษา เช่นเดียวกับทุกคณะ/วิทยาลัย/สถาบัน ที่มีการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์ตรงกับสาขาวิชาที่เรียน นอกจากนี้ บัณฑิตธรรมศาสตร์ยังมีทักษะ Soft Skills ที่โดดเด่น สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น ปรับตัวได้ดี กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ และมีความคิดสร้างสรรค์"
ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังคงยืนหยัดในฐานะ "มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบชั้นนำเพื่อสังคมแห่งอนาคต" โดยมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ มีความสามารถในการปรับตัวในโลกแห่งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมทั้งสนับสนุนโอกาสการทำงานผ่านโครงการฝึกงาน การแนะแนวอาชีพ และการพัฒนาทักษะที่สำคัญ เพื่อให้บัณฑิตสามารถปรับตัวและแข่งขันในตลาดงานได้อย่างมั่นใจ
นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แว่นท็อปเจริญ บริษัท ร่วมเจริญพัฒนา จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ ศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วย รศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต ผลักดันการศึกษาด้านธุรกิจ เพื่อมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพด้านการศึกษาสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง โดยยินดีให้การต้อนรับนักศึกษาฝึกงาน เรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน
สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP
—
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...
AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน
—
นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ
—
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม
—
อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...
นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์
—
ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...
เบเยอร์ร่วมแสดงเจตนารมณ์สู่ Net Zero มุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน
—
กลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ นำโดย ดร.จารุรัตน์ ชัยยศบูรณะ ผู้บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เป็นตัวแทนอ...
พิพัฒน์' แก้ขาดแคลนแรงงาน ส่งกรมพัฒฯ ร่วม ธรรมศาสตร์ เปิดฝึก 100,000 คน ป้อนงานภาคท่องเที่ยวและบริการ
—
ตามนโยบาย นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกร...