วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ รศ.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย "การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์" เพื่อยกระดับงานวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรมูลค่าสูง ผ่านการดำเนินงานของ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) วว. และความเชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในวันที่ 2สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องประชุม กวท. ชั้น 8 อาคาร RD มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วว. เทคโนธานี คลองห้า จ.ปทุมธานี

วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ

โอกาสนี้ ดร.พงศธร ประภักรางกูล รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. และ ผช.รศ.วัชรินทร์ สิทธิเจริญ รักษาราชการแทนคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล. ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมี ผช.ศ.ดร.อาทิตย์ ยาวุฑฒิ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.ศุภเกียรติ สุภสินธุ์ มทร.ล้านนา ดร.อนันต์ พิริยะภัทรกิจ และดร.รุจิรา ดีวัฒนวงศ์ นักวิจัยอาวุโส ศนก.วว. พร้อมด้วยคณะนักวิจัย และบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดี ในการนี้ คณะผู้บริหารจาก มทร.ล. ได้เยี่ยมชมโครงสร้างพื้นฐานของ วว. ด้วย ได้แก่ โรงงานนวัตกรรมบริการอาหาร (FISP) ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม (ICPIM) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย (ALEC) วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ

ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า วว. มีพันธกิจหลัก ในการวิจัยและพัฒนาด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) เพื่อสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งมุ่งเน้นการพัฒนาต้นน้ำด้านการเกษตรในพื้นที่ area based เพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรให้มีความสามารถในการผลิตวัตถุดิบได้เพียงพอต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยการนำองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้นมาถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้ผลิตสินค้ามีคุณภาพมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ

"...วว. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาในครั้งนี้ ซึ่งเป็นเครือข่ายพันธมิตรที่ดีในการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อยกระดับภาคการเกษตรในพื้นที่ 6 จังหวัด รวมถึงจังหวัดต่างๆ ให้ครอบคลุมทุกมิติ นอกจากนี้ วว. ยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น โรงงานนวัตกรรมบริการอาหาร ศูนย์นวัตกรรมผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์เพื่ออุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย และศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเสริมแกร่งทั้งภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้นด้วยมาตรฐานสากล นอกจากนี้ วว. ยังให้ความสำคัญในเการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ทำการเกษตร และการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน เช่น "ไมคอร์เทค" ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีไมคอร์ไรซ่าที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการเจริญเติบโตของพืช และทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงขึ้น เป็นต้น ความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงานครั้งนี้ จะเป็นการสร้าง Empowerment ที่จะทำให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างรากฐานที่เข้มแข็งของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป..." ผศ.ดร. วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ วว. กล่าว

รักษาราชการแทน อธิการบดี มทร.ล. กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาให้บริการวิชาการทั้งภาคการศึกษากับนักเรียนนักศึกษา ผู้ประกอบการ และพัฒนาพื้นที่ ในเขตภาคเหนือตอนบน ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology-Based) มหาวิทยาลัยฯ ยินดีอย่างยิ่งในความร่วมมือกับ วว. ครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนด้านการเกษตร รวมทั้งการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจากผลกระทบต่างๆ ที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่ และเป็นการสร้างพันธมิตรที่ดีกับหน่วยงานระดับประเทศซึ่งมีความเชี่ยวชาญอย่างมากทั้งด้านงานวิจัยและพัฒนา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่และการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศในพื้นที่ภาคเหนือ 6 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย ตาก น่าน พิษณุโลก เชียงใหม่ และลำปาง โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด ทั้งด้าน ข้อมูล บุคลากร เทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ งานบริการต่างๆ รวมถึงการขยายผลของงานวิจัย เพื่อช่วยให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ และร่วมกันพัฒนาผลงานวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์สู่สาธารณชน


ข่าวสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาวันนี้

วว. จับมือ มทร.ล้านนา เสริมแกร่งภาคการเกษตร "ไม้ดอกไม้ประดับ-พืชอัตลักษณ์" ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคเหนือ

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ รศ.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (มทร.ล.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย "การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์" เพื่อยกระดับงานวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยีทางการเกษตรมูลค่าสูง ผ่านการดำเนินงานของ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรม

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว.รับมอบประกาศนียบัตรร่วมจัดแสดงผลงานในงานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาส...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว.คว้ารางวัลชนะเลิศเหรียญทอง (Gold Medal) @ งานสิ่งประดิษฐ์ระดับนานาชาติเจนีวา ครั้งที่ 50 — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช วว. ชวนร่วมกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศ — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกร...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. พัฒนาสารเสริมสุขภาพสัตว์ปีกจากจิ้งหรีดทองดำ ช่วยลดปริมาณเชื้อก่อโรค/กระตุ้นการเจริญเติบโต — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย...

นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระท... วว. ร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เนื่องในงาน "สงกรานต์ อว." — นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... วว. จัดอบรมฟรี ! เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจ...

วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร... วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition — วว. คว้ารางวัลชนะเลิศนวัตกรรมการสื่อสารสร้างสรรค์ Commu Max Competition จากผลงาน...

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและน... สถานีวิจัยลำตะคอง วว. บริการ จุดพักรถ…พักผ่อน เติมพลัง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ "8 - 15 เมษายน 2568" — กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)...