การลงทุนใน "งานศิลปะ" อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ
การลงทุนในยุคปัจจุบันไม่ได้ถูกจำกัดเพียงหุ้น กองทุน พันธบัตร อสังหาริมทรัพย์ คริปโท หรือทองคำเท่านั้น แต่ยังมีสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ไวน์ ของสะสมหายาก หรือแม้กระทั่ง "งานศิลปะ" ซึ่งในบริบทนี้จะพูดถึง Fine Art ซึ่งถือเป็นการลงทุนในรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการถือ Fiat Currency ได้ อีกทั้งยังนำมาใช้ ประดับบ้าน และมีราคาผันผวนต่ำกว่า สินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆอีกด้วย
จุดเด่นของการลงทุนในงานศิลปะ
- กระจายความเสี่ยง: ราคาของงานศิลปะในยุคนี้ คนส่วนมากใช้เป็นทางเลือกในการ Diversify ออกจาก Fiat currency ซึ่งนับวันยิ่งด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ
- ราคาเติบโตในระยะยาว: เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่สะสมงานศิลปะ มักจะเป็นคนที่มีฐานะ ทำให้ในสภาวะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ ก็มักจะไม่กระทบกับกำลังซื้อ เพราะคนมีฐานะจะมีเงินออม และแหล่งรายได้ที่หลากหลาย โดย Fine Art นั้นให้ผลตอบแทนเฉลี่ยราว11%ต่อปีในช่วง 10ปีที่ผ่านมา
- เพิ่มคุณค่าให้ชีวิต: นอกจากจะสามารถสร้างมูลค่าได้แล้ว งานศิลปะยังเป็นสิ่งที่สามารถชื่นชมความงดงามได้ในระหว่างการถือครอง
- ในแต่ละผลงานมีความ Unique ผลิตซ้ำไม่ได้: ต่างจาก นาฬิกาหรู ที่สามารถผลิตเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ (ยกเว้นในบางรุ่นที่ limited จริงๆ) งานศิลปะมีความเป็นเอกลักษณ์สูง ไม่สามารถทำซ้ำได้ และมีเพียง หนึ่งเดียว
- การเติบโตของตลาดศิลปะในประเทศไทย: ในปัจจุบัน ประเทศไทยยังถือว่ามีคนสนใจลงทุนในงานศิลปะค่อนข้างน้อยมาก และผลงานของศิลปิน ดังๆหลายๆท่าน ยังถือว่ามีมูลค่าที่ถูกกว่าเพื่อนบ้านเราในหลายๆประเทศอย่างมาก เช่น เวียดนาม
- ความนิยมในศิลปะไทยที่เพิ่มขึ้นในระดับนานาชาติ: หากคุณสนใจลงทุนในงานศิลป์จริงๆ ควรเน้นลงทุนในกลุ่มศิลปินที่มีสไตล์งานวาด ที่ได้การยอมรับในนานาชาติ เพราะบางสไตล์ อาจซื้อขายได้แค่ใน กลุ่มคนไทยเท่านั้น
ปัจจัยในการประเมินมูลค่างานศิลปะ
- ชื่อเสียงของศิลปิน: ศิลปินที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมักมีมูลค่าสูง (มีผลงานจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ ระดับโลก) เช่น ถวัลย์ ดัชนี, ประเทือง เอมเจริญ, นที อุตฤทธิ์
- ประวัติการจัดแสดง: ผลงานที่เคยจัดแสดงในสถานที่สำคัญเพิ่มมูลค่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Musee du Louvre, Museum of Modern Art (MoMA), The Metropolitan Museum of Art (The Met)
- สภาพของผลงาน: งานที่ดูแลรักษาอย่างดีจะมีมูลค่าสูง ควรจะเก็บในที่ อุณหภูมิไม่แกว่ง ความชื้นต่ำ และเลี่ยงแสงแดด ก็จะทำให้ผลงานมีสภาพที่ดีในระยะยาว
- ความเป็นเอกลักษณ์: ผลงานที่ไม่ซ้ำใคร มักจะดึงดูดความสนใจของนักสะสมอย่างมาก เช่น งานของ ถวัลย์ ดัชนี ในชุด "พุทธศิลป์" หรือ ประเทือง เอมเจริญ ในชุด "Universe"
แนวโน้มในอนาคต
- การเติบโตของตลาดออนไลน์: การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ช่วยเพิ่มความสะดวกอีกทั้งยังเข้าถึงสื่อได้ง่ายขึ้น ซึ่งช่วยในการโฆษณาและนำเสนอผลงานให้กับศิลปินอย่างมาก
- การสนับสนุนจากภาครัฐ: เช่น การจัดงานแสดงศิลปะและการส่งเสริมศิลปินไทย โดยนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ได้แสดงการสนับสนุนงานศิลปะไทยอย่างชัดเจน โดยมีนโยบายส่งเสริม Soft Power ของประเทศผ่านการยกระดับทุนวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย
- นักสะสมรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น: ทำให้ตลาดศิลปะมีความคึกคักและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ช่องทางการลงทุนในงานศิลปะ
- การซื้อผลงานจากศิลปินโดยตรง ในนิทรรศการ
- การซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (
- การประมูลผ่านผู้จัดที่ได้รับงานยอมรับในระดับสากล
- ซื้อกันเองผ่านเครือข่ายนักสะสมด้วยกัน
ข้อควรระวังในการลงทุน
แม้การลงทุนในงานศิลปะจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น แต่ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผลงานอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ หรือขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการปลอมแปลงผลงานศิลปะ จึงควรเลือกผู้จัดการประมูลที่ได้ มาตรฐานระดับโลก เอาทิ Christies's หรือ Sotheby's ทั้งนี้ ผลตอบแทนในอดีตไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต ดังนั้น การศึกษาและความรอบคอบถือเป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนในงานศิลปะ
สรุป การลงทุนในงานศิลปะไม่เพียงแต่สร้างมูลค่าในด้านการเงิน แต่ยังเป็นการสร้างความสุขและเพิ่มคุณค่าในด้านศิลปวัฒนธรรมอีกด้วย ถือเป็นการลงทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มองหาสินทรัพย์ทางเลือกในปัจจุบัน หากมีการศึกษาข้อมูลและวางแผนอย่างรอบคอบ การลงทุนในงานศิลปะมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว