ในระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จัดงาน อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์ อววน. เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน ด้วยพลังสหวิทยาการ หรือ “อว.แฟร์” ขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
งาน “อว.แฟร์” นับเป็นมหกรรมสุดยิ่งใหญ่ที่รวมสหวิทยาการทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีกิจกรรมที่เต็มไปด้วยสาระมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนวัตกรรมเทคโนโลยีของไทยและนานาชาติ บูธแสดงผลงานจากผู้ประกอบการและสตาร์ตอัป บูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฐานงานวิจัยการันตีรางวัลจากหลายเวที และที่กำลังอยู่ในกระแสสังคมทั่วโลกเห็นจะหนีไม่พ้นเรื่อง Soft Power โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ Soft Power ที่มีอยู่ในสถาบันการศึกษา
แน่นอนว่า Soft Power ของไทยที่ทรงพลังที่สุดก็ได้แก่เรื่องอาหารการกิน หากแท้ที่จริงแล้วไทยเรายังมี Soft Power รูปแบบอื่นๆ อีก ยกตัวอย่างเช่นศิลปะการแกะสลักที่พูดได้ว่า งานแกะสลักผักผลไม้ของไทยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ประเทศอื่นลอกเลียนได้ยาก และเมื่อนึกถึงความเป็นไทยในสายงานบริการและการท่องเที่ยว เชื่อว่าโรงแรมดุสิตธานีต้องถูกนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาในเครืออย่างวิทยาลัยดุสิตธานี ก็มักได้รับการกล่าวถึงหากใครต้องการทักษะและความรู้ความเชี่ยวชาญที่สะท้อนความเป็นไทยอย่างเช่นงานแกะสลักผักผลไม้ดังกล่าว
ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา วิทยาลัยดุสิตธานีจึงได้รับเชิญให้เข้าร่วมจัดแสดงกิจกรรมพื้นที่เวทีย่อย (Mini Stage) ภายในงาน “อว.แฟร์” โดยมี อาจารย์ภาวนา จันมาลา อาจารย์ผู้สอนด้านการแกะสลักผักผลไม้ของวิทยาลัย เป็นวิทยากรนำเสนอผลงานภายใต้หัวข้อ “การต่อยอดผลลัพธ์จากการเรียนรู้จากวิชาแกะสลักผักและผลไม้” ด้วยการหมัก ดอง และเชื่อม
การแกะสลักผักและผลไม้นั้นเป็นวิชาที่นักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี ทั้งสาขาศิลปะการประกอบอาหารและสาขาการจัดการโรงแรมสามารถเลือกเรียนได้ การได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้จึงแสดงให้ทุกคนเห็นว่า จะเรียนการโรงแรมหรือการทำอาหารก็สามารถติดอาวุธเสริมให้กับตนเองได้ อีกทั้งอาวุธเสริมนั้นยังอาจกลายมาเป็นอาชีพเสริมหรือแม้แต่อาชีพหลักได้ด้วย
และยิ่ง Soft Power กำลังเป็นดังเครื่องมืออันทรงพลังสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวทั่วโลกด้วยแล้ว การได้เรียนทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้องย่อมจะทำให้ผู้เรียนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่หลากหลายกว่าอย่างแน่นอน
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานหารือถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างบริษัท ALBA Group Asia และวงษ์พาณิชย์ในการจัดการขยะพลาสติกและมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอาหาร โอกาสนี้ ดร. พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมด้วยคณะนักวิจัยจาก ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ (ศนว.) และศูนย์เชี่ยวชาญพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม (ศนพ.) ร่วมให้การต้อนรับ ในการนี้ ดร. เรวดี
วว. / PCAARRD ประเทศฟิลิปปินส์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พัฒนาเทคโนโลยีการเกษตร
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง...
วช.สนับสนุนการนำเทคโนโลยีควบคุมสภาพอากาศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตกาแฟในโครงการพัฒนาดอยตุง จ.เชียงราย
—
เมื่อวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568 สำนักงานการ...
วว. ร่วมกับ มรภ. เพชรบูรณ์ นำเสนอผลงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดเพชรบูรณ์ด้านสิ่งแวดล้อม
—
กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร...
วว.ร่วมประชุมวุฒิสภา เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. … ในวาระ 2 และวาระ 3
—
นายศุภชัย ใจสมุทร ผู...
สกสว. ปิดฉากความสำเร็จ "TRIUP FAIR 2024"
—
งาน "มหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม ประจำปี 2567 (TRIUP FAIR 2024)" จัดโดย สำนั...
บพข. ร่วมเวทีเสวนา ท่องเที่ยวยุคใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในงาน TRIUP Fair 2024
—
แผนงานท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการ...
ม.พะเยา ร่วมใจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม รองปลัด อว. ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจ
—
รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยาพร้อมด้วยคณ...
อาจารย์วิทยาลัยดุสิตธานีโชว์สกิลด้าน Soft Power ในงานอว.แฟร์
—
ในระหว่างวันที่ 22-28 กรกฎาคม 2567 กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได...