ถึงแม้จะอยู่ในเมืองร้อนอย่างประเทศไทย แต่มีใครปลายมือปลายเท้าเย็นกันเป็นประจำกันบ้างมั้ยคะ ทุกท่านเชื่อกันมั้ยคะว่า ช่วงที่อากาศร้อนสลับกับฝนตกแบบนี้ ยังมีหลาย ๆ ท่านที่ขี้หนาว แบบที่เปิดแอร์ 30 องศา แล้วบอกว่าอากาศนั่นกำลังสบายดี!!! โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝนกันมาสักพักแล้ว หนึ่งในกลุ่มอาการที่หลาย ๆ ท่านอาจจะรู้สึกได้มากในวันฝนตก หรือช่วงที่อากาศเริ่มชื้นมากขึ้น คือ อาการ "ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น" ซึ่งบทความให้ความรู้โดย พจ.ณัฐธยาน์ เฮงอุดมสวัสดิ์ แผนกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลนวเวช ได้ตอบคำถามคลายข้อสงสัยต่าง ๆ สำหรับนำไปสังเกตตนเองและคนรอบข้าง หากมีอาการดังกล่าวจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
อาการปลายมือปลายเท้าเย็น
มักเป็นอาการที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ตั้งแต่ในวัยเด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ และคนชรา
และในฤดูฝนเป็นฤดูที่มีความชื้นค่อนข้างสูง ซึ่งมาพร้อมกับความเย็นลักษณะเด่นของความเย็นและความชื้น คือทำให้อัตราการไหลเวียนเลือดและพลังงานในร่างกายลดต่ำลง ช้าลง เกิดความหนืดความหน่วงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปลายรยางค์ หรือปลายมือปลายเท้า ซึ่งเป็นจุดที่อยู่ห่างไกลจากหัวใจ จึงเป็นจุดที่มีปัญหามากกว่าส่วนอื่น ๆ หากเป็นผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการ หนาวง่าย เหนื่อยง่าย หายใจได้ไม่ค่อยลึก ร่วมด้วย จะยิ่งทวีความรุนแรงของอาการปลายมือปลายเท้าเย็นให้มากยิ่งขึ้น ในบางรายอาจมีอาการ ปลายมือปลายเท้าชา เกิดตะคริวบ่อย ๆ ช่วงกลางคืน เล็บซีดหรือม่วง ซึ่งในกลุ่มนี้ทางแพทย์แผนจีนจะเรียกว่า กลุ่มอาการที่เกิดจาก "หยางพร่อง" หรือกลุ่มอาการที่ร่างกายขาดพลังงานความร้อนนั่นเอง
อาการขี้หนาว หรือหนาวง่ายกว่าปกติ
มักเป็นอาการที่มาควบคู่กับอาการ "ปลายมือ- ปลายเท้าเย็น" อาจสังเกตได้ว่าในสถานที่หรือห้องที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส บางท่านอาจรู้สึกกำลังเย็นสบาย แต่บางท่านอาจรู้สึกร้อน และบางท่านอาจรู้สึกหนาวสั่น รู้สึกหนาวกว่าคนรอบ ๆ ข้าง ซี่งบางครั้งรู้สึกหนาวเข้าไปถึงกลางอก ต้องสวมเสื้อหนา ๆ หรือปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้น จึงจะรู้สึกดี หรืออีกกลุ่มหนึ่งที่อาจมีอาการปลายมือปลายเท้าเย็นร่วมด้วย แต่ลักษณะอาการบางอย่างจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น ไม่รู้สึกเหนื่อยง่าย หรือขี้หนาว แต่กลับมีอาการขี้ร้อน รู้สึกร้อนบริเวณกลางอก แกนกลางลำตัวร้อน แต่กลับรู้สึกเย็นเฉพาะปลายมือ-ปลายเท้า ร่วมกับพื้นฐานเป็นคนที่โมโหง่าย โกรธง่าย หรือขี้กังวล วิตกกังวลเป็นประจำ อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปลายมือปลายเท้าเย็นได้ กลุ่มอาการลักษณะนี้จะเกิดจาก "ลมปราณติดขัด"
รวมถึงในกลุ่มคนที่มีภาวะเลือดจาง หรือเลือดอยู่ในระดับที่น้อยกว่าเกณฑ์ปกติ ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปลายมือปลายเท้าเย็นได้เช่นเดียวกัน
ข่าวดี!!! อาการเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ วันนี้หมอมีวิธีบรรเทาอาการปลายมือปลายเท้าเย็นแบบง่าย ๆ ในเบื้องต้น มาให้ทุกท่านได้นำกลับไปดูแลตัวเอง มีดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ดีวิธีที่แนะนำในวันนี้ เป็นวิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นเท่านั้น หากต้องการรักษาแบบเฉพาะเจาะจง ถูกต้องตามสภาพร่างกายของแต่ละท่านจริง ๆ แนะนำให้มาตรวจกับแพทย์แผนจีน เพื่อเช็คสภาพร่างกายในปัจจุบันอีกครั้ง
ดังนั้นอาการ "ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น" แม้จะเป็นโรคที่ไม่มีอันตรายเฉียบพลัน แต่กลับสร้างความทุกข์ทรมานให้กับหลาย ๆ คน บางท่านอาจจะเป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่ง แต่บางคนเป็นตลอดชั่วชีวิต หากมีคนรู้จักมีอาการ "ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น" อยู่ อย่าลืมแชร์และส่งบทความนี้ไปให้คนที่คุณรักได้อ่านทำความเข้าใจ หรือหากท่านเกิดข้อสงสัยว่าจะเป็นโรค"ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น" สามารถสอบถามรายละเอียดและขอรับคำปรึกษาได้ที่ แผนกแพทย์แผนจีน โรงพยาบาลนวเวช โทร. 1507 I Line: @navavej
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย มอบหมายให้ แพทย์หญิงนงนุช ภัทรอนันตนพ รองอธิบดีกรมอนามัย ร่วมงาน เวที "สานพลังไทย รับมือสังคมสูงวัยไปด้วยกัน" มิติสังคมและสุขภาพ โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี โดยมี นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตประธานกรรมการธิการปฏิรูปประเทศด้านสังคม สปช. เป็นประธาน กรมอนามัยยังคงให้ความสำคัญกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของผู้สูงอายุเท่านั้น แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม
การฆ่าตัวตาย ไม่ใช่แค่โรคซึมเศร้าที่เป็นต้นเหตุเสมอไป
—
เมื่อพูดถึง "การฆ่าตัวตาย" หลายคนมักนึกถึงโรคซึมเศร้าเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริง ปัจจัยที่ผลัก...
เปิดเวทีความรู้พยาบาล! คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล จัดมหกรรม Nursing Education Quality Fair 2568
—
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมพยาบาลแห่งประ...
"Dr.master" ผนึกกำลัง "ร้านยากรุงเทพ" ส่งมอบผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์เพื่อดูแลเส้นผมของคนไทย ใกล้บ้าน 24 ชั่วโมง
—
"Dr.master" แบรนด์ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผมและหนัง...
วว. วิจัยพัฒนาการใช้ประโยชน์สารสกัด "ใบเตย" เสริมสุขภาพระบบกระดูก/ข้อ สำหรับสังคมก่อนและสูงวัย
—
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โด...
สุขภาพสตรี : เรื่องที่ต้องใส่ใจในแต่ละช่วงวัย
—
สุขภาพของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงชีวิต การดูแลสุขภาพที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อ...
เซียงเพียว ร่วมกับ สสส. และ ยังแฮปปี้ ผลักดันโครงการกิจกรรมเพื่อตอบโจทย์ผู้สูงวัย ก้าวสู่ปีที่ 2 สร้างชุมชนที่เป็นมิตรและสุขภาพดีในเมือง
—
เซียงเพียว (Sia...
กระทรวง อว. จับมือ ภาคี เปิดตัว Medical AI Data Platform
—
กระทรวง อว. จับมือ สธ. โดย สวทช. ม.มหิดล กรมการแพทย์ และพันธมิตร เปิดตัว Medical AI Data Platfo...
รู้ทันโรคเบาหวาน สร้างสุขภาพดีสู้ภัยเงียบ
—
สถานการณ์โรคเบาหวานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) กำลังทวีความรุนแรงขึ้น และคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะมีภาระค่า...
สธ. ลงพื้นที่เฝ้าระวังสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม จากสถานการณ์สารหนูปนเปื้อนในแม่น้ำกก จังหวัดเชียงใหม่
—
วานนี้ (20 เมษายน 2568) ดร.นายแพทย์พงศธร พอกเพิ่ม...